ตอนที่ 1
จางวางพ่วงลุกขึ้นดูที่มาของเสียง เห็นหลวงบำรุงนั่งที่แคร่ใต้ต้นไม้ด้านล่างมีกำนันอยู่ข้างๆ กำนันเห็นจางวาง มองอยู่จึงยิ้มทักทาย ถูกจางวางชักสีหน้าใส่ไม่ยิ้มด้วย
ooooooo
แม้จางวางจะชักสีหน้าใส่ไม่ต้อนรับ แต่กำนันก็พาหลวงบำรุงขึ้นไปนั่งบนเรือน จางวางถามว่ากำนันมีธุระอะไรถึงรอพบที่วัดไม่ได้
กำนันบอกว่าธุระของคุณหลวงต่างหาก คุณหลวงอยากเทียบเชิญจางวางไปออกวงประชันด้วย
“เปล่าประโยชน์ที่จะคุยเรื่องนี้” จางวางตอบทันที จนหลวงบำรุงนิ่งไปก่อนจะถามว่า
“จางวางจะหนีการประชันไปถึงเมื่อไหร่”
จางวางของขึ้นทันที บอกให้คุณหลวงคืนคำ
เสียตอนนี้ ไม่เช่นนั้นอย่าหาว่าไม่เกรงใจ กำนันเอาน้ำเย็นเข้าลูบว่าคุณหลวงท่านไม่ได้จะยั่วโทสะหรอก
“พูดไม่เข้าหูเยี่ยงนี้ จะให้คิดไปทางอื่นอย่างไร คุณหลวงต้องคืนคำตอนนี้ ไม่เช่นนั้นกระผมต้องเชิญลงจากเรือน”
“ฉันพูดเรื่องประชันก็เพราะเสียดายฝีมือของ
ลูกสาวท่านจางวาง เสียดายว่าคนฟังคงไม่มีโอกาสฟัง
เสียงปี่อันวิเศษกล่อมใจคนฟังเพราะความขลาดของจางวางแต่เพียงคนเดียว”
พูดจบหลวงบำรุงลุกลงเรือนไปโดยไม่ทันที่จางวางจะออกปากไล่ กำนันรีบตามไป
เพียรแม่ของพิกุลถือสำรับของหวานมาได้ยิน
ทั้งสามคุยกันถึงกับเหวอเมื่อได้ยินหลวงบำรุงกล้าพูดกับจางวางเช่นนั้น
ฝ่ายพิกุล เช้านี้ถึงกับกินข้าวไม่ลง เอื้อยถามว่าเป็นอะไรหรือเปล่า เพียรเดาใจลูกสาวออกถามว่าเพราะเสียงปี่คุณหลวงใช่ไหม
“ฉันไม่เคยได้ยินทางปี่แบบนี้ก่อนเลยจ้ะแม่
ไม่เหมือนของครูคนไหนทั้งนั้น ทางปี่ของคุณหลวงทำให้ฉันไม่อยากหยิบปี่อีกเลย”
ลุงเสงี่ยมที่ทำหน้าที่เล่นฆ้องหงส์ของวงบอกพิกุลว่าอย่าให้เขาข่มง่ายๆอย่างนี้ พิกุลบอกว่าตนไม่มีวันทำได้อย่างคุณหลวงแน่ๆ เพียรบอกให้ใจเย็นๆ คุณหลวงท่านก็ชมลูกอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน คุณหลวงท่านถึงกับจะเรียกไปประชันด้วยซ้ำ เพียงแต่ว่า...พ่อเอ็ง...
พิกุลนิ่งไปอย่างเดาได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ฝ่ายหลวงบำรุงกับกำนันมาขึ้นเรือที่ตลาดริมน้ำ กำนันบอกว่าเป็นอย่างที่ตนว่าไหมล่ะ จางวางไม่ปล่อยให้พิกุลไปประชันที่ไหนง่ายๆหรอก คุณหลวงว่าเสียดายฝีมือของพิกุลจริงๆ ทำอย่างไรจึงจะให้จางวางใจอ่อนได้ กำนันบอกว่าทางไหนก็ได้นอกจากใช้เงินเข้ากล่อม ติงว่าคุณหลวงไปท้าทายจางวางเช่นนั้นไม่คิดว่าจะทำให้จางวางยิ่งโกรธหรือ
“ฉันไม่ได้หมายจะทำให้จางวางโกรธ เพียงแต่พูดในสิ่งที่ท่านจางวางควรต้องรู้ หากท่านลดทิฐิลง แล้วคำนึงถึงความหวังดีของฉัน ท่านก็จะเข้าใจ ถึงอย่างไรฉันก็จะหาทางให้แม่พิกุลกลับไปแสดงฝีมือที่บางกอกให้ได้ ไม่เช่นนั้นคงคาใจไปอีกนาน”