อีกหนึ่งประเด็นที่ “น่าสนใจ” นอกจากผล “แพ้-ชนะ” ในอีกหนึ่งศึกบิ๊กแมตช์ "ฟุตบอลโลก 2022" รอบ 8 ทีมสุดท้ายระหว่าง “ทีมชาติบราซิล” และ “ทีมชาติโครเอเชีย” ก็คือ การเผชิญหน้ากันระหว่าง 2 ศิลปินลูกหนัง “เนย์มาร์” และ “ลูกา โมดริช” จอมทัพของทีมตราหมากรุก
และนั่นจึงนำมาสู่คำถามที่ว่า...ระหว่าง เบอร์ 10 ของ “ขุนพลเซเลเซา” กับจอมเทคนิควัยเก๋า เบอร์ 10 ของโครเอเชีย “คุณ” คิดว่า “ใครคือ Playmaker” ที่สร้างสรรค์เกมรุกให้กับทีมได้อันตรายมากกว่ากัน?
วันนี้ “เรา” ค่อยๆ ไปพิจารณาจากสถิติการเล่นของทั้งคู่หลังสิ้นสุดรอบ 16 ทีมสุดท้ายเพื่อลองพยายามค้นหา “คำตอบ” ที่ว่านี้ด้วยกัน...
สถิติการลงสนาม :
...
เนย์มาร์ : อายุ 30 ปี ลงเล่น 2 นัด (ตัวจริง 2 นัด) รวมเวลา 159 นาที
ลูกา โมดริช : อายุ 37 ปี ลงเล่น 4 นัด (ตัวจริง 4 นัด) รวมเวลา 363 นาที
อิทธิพลเมื่อปรากฏตัวในสนาม :
เนย์มาร์ : จำนวนประตูที่ทีมยิงได้เมื่ออยู่ในสนาม 6 ประตูจากทั้งหมด 7 ประตู (85.71%)
จำนวนประตูที่ทีมเสียเมื่ออยู่ในสนาม 1 ประตู จากทั้งหมด 2 ประตู (50%)
ลูกา โมดริช : จำนวนประตูที่ทีมยิงได้เมื่ออยู่ในสนาม 4 ประตูจากทั้งหมด 5 ประตู (80%)
จำนวนประตูที่ทีมเสียเมื่ออยู่ในสนาม 2 ประตู จากทั้งหมด 2 ประตู (100%)
สถิติการสัมผัสบอล :
เนย์มาร์ : สัมผัสบอล 119 ครั้ง
โดยแบ่งเป็นการสัมผัสบอลในพื้นที่แดนหลัง 6 ครั้ง (5.04%) ในพื้นที่แดนกลาง 65 ครั้ง (54.62%), แดนหน้า 49 ครั้ง (41.18%), พื้นที่กรอบเขตโทษฝ่ายตรงข้าม 10 ครั้ง (8.40%)
ลูกา โมดริช : สัมผัสบอล 320 ครั้ง
โดยแบ่งเป็นการสัมผัสบอลในพื้นที่กรอบเขตโทษฝ่ายตัวเอง 1 ครั้ง (0.31%), พื้นที่แดนหลัง 41 ครั้ง (12.81%), แดนกลาง 191 ครั้ง (59.69%), แดนหน้า 94 ครั้ง (29.38%), พื้นที่กรอบเขตโทษฝ่ายตรงข้าม 9 ครั้ง (2.81%)
จากสถิติที่เพิ่งผ่านสายตา “คุณ” ไป “เรา” พอมองเห็นภาพอะไรบ้าง?
วิเคราะห์การมีส่วนร่วมกับเกม :
ฟุตบอลโลกครั้งนี้ “เนย์มาร์” บนวัยขึ้นเลขสาม แสดงความเป็นผู้ใหญ่ออกมามากขึ้น พร้อมทั้งได้รับบทบาทเป็นเพลย์เมกเกอร์อย่างเต็มตัว โดยมี “ริชาร์ลิสัน” ยืนค้ำอยู่ด้านหน้า ขนาบข้างซ้าย-ขวา ด้วย "วินิซิอุส จูเนียร์" และ "ราฟินญา" ด้วยเหตุนี้ “เรา” จึงได้เห็นบทบาทของ "เนย์มาร์" ในแดนกลางที่ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น แทนที่จะไปอยู่ทางริมเส้นด้านซ้ายเช่นเดิม
...
ส่วนทางด้าน “จอมทัพของโครเอเชีย” แม้วัยจะเลยล่วงถึง 37 ปีแล้ว แต่สิ่งที่แสดงออกมาคือ ความฟิตที่มีอยู่อย่างล้นเหลือและสามารถวิ่งพล่านไปได้ทั่วทั้งสนามเช่นเดิม และมีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและกระจายบอลออกไปให้กับเพื่อนร่วมทีม โดยมี “มาเตโอ โควาชิช” และ “มาร์เซโล โปรโซวิช” คอยขนาบข้างเพื่อทำหน้าที่รักษาสมดุลในแดนกลาง เวลา จอมทัพหมายเลข 10 ผู้นี้ ขยับตัวขึ้นสูงเพื่อทำเกมรุก
...
ความแม่นยำในการจ่ายบอล :
เนย์มาร์ :
ผ่านบอลทั้งหมด 90 ครั้ง สำเร็จ 72 ครั้ง (80%)
รวมระยะการส่งบอลทั้งหมด 967 หลา ระยะทางที่ส่งบอลสำเร็จ 336 หลา (34.75%)
ระยะการส่งบอล :
ส่งบอลสั้น (5-15 หลา) 50 ครั้ง สำเร็จ 42 (84%)
ส่งบอลระยะกลาง (15-30 หลา) 24 ครั้ง สำเร็จ 21 (87.5%)
ส่งบอลระยะไกลเกิน 30 หลา 7 ครั้ง สำเร็จ 3 (42.9%)
ประสิทธิภาพโอกาสการทำ Assist ต่อครั้ง (xAG) อยู่ที่ 0.7
ลูกา โมดริช :
ผ่านบอลทั้งหมด 230 ครั้ง สำเร็จ 281 ครั้ง (81.9%)
รวมระยะการส่งบอลทั้งหมด 3,819 หลา ระยะทางที่ส่งบอลสำเร็จ 1,444 หลา (37.81%)
ระยะการส่งบอล :
ส่งบอลสั้น (5-15 หลา) 123 ครั้ง สำเร็จ 113 (91.9%)
ส่งบอลระยะกลาง (15-30 หลา) 90 ครั้ง สำเร็จ 78 (86.7%)
ส่งบอลระยะไกลเกิน 30 หลา 48 ครั้ง สำเร็จ 28 (58.3%)
...
ประสิทธิภาพของโอกาสการ Assist ต่อครั้ง (xAG) อยู่ที่ 0.5
จากสถิติที่เพิ่งผ่านสายตา “คุณ” ไป “เรา” พอมองเห็นภาพอะไรบ้าง?
วิเคราะห์ความแม่นยำในการจ่ายบอล :
จากสถิติจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “โมดริช” คือ คนควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างในการขับเคลื่อนเกมของ “โครเอเชีย” การลำเลียงบอลแต่ละครั้งแทบจะต้องใช้วิสัยทัศน์ของเพลย์เมกเกอร์ผู้นี้เป็นผู้กำหนดเกม แถมการจ่ายบอลแต่ละครั้งยังเต็มไปด้วยความแม่นยำที่น่าทึ่งด้วย
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจากสถิตินี้ “เนย์มาร์” อาจดู "ด้อยกว่าเล็กน้อย" แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ลืมคือ “เนย์มาร์” ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าตั้งแต่ในนัดแรกที่บราซิลประเดิมฟุตบอลโลกครั้งนี้ และต้องพักไปถึง 2 นัดในรอบแรก และเพิ่งกลับมาลงเล่นได้ในนัดที่ถล่มทีมชาติเกาหลีใต้ ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่ผ่านมานี้เอง
การสร้างสรรค์โอกาสในการยิงประตู :
เนย์มาร์ : ทำได้ 10 ครั้ง จากทั้งหมด 133 ครั้งที่ บราซิล ทำได้ (7.52%) โดยแยกเป็น
1. จ่ายบอลสำเร็จขณะเคลื่อนที่จนนำไปสู่การยิงประตู 4 ครั้ง จากทั้งหมด 98 ครั้งที่ บราซิล ทำได้ (4.08%)
2. จ่ายบอลลูกนิ่งสำเร็จจนนำไปสู่การยิงประตู 1 ครั้ง จากทั้งหมด ครั้งที่ 8 บราซิล ทำได้ (12.50%)
3. เลี้ยงบอลจนนำไปสู่การยิงประตู 0 ครั้ง จากทั้งหมด 5 ครั้งที่ บราซิล ทำได้ (0%)
4. ยิงประตูจนนำไปสู่การยิงซ้ำ 2 ครั้ง จากทั้งหมด 13 ครั้งที่ บราซิล ทำได้ (15.38%)
5. ถูกทำฟาลว์จนนำไปสู่การยิงประตู 3 ครั้ง จากทั้งหมด 6 ครั้งที่ บราซิล ทำได้ (50%)
การเลี้ยงบอล : พยายามเลี้ยงบอล 11 ครั้ง สำเร็จ 2 (18.2%)
ลูกา โมดริช : ทำได้ 9 ครั้ง จากทั้งหมด 72 ครั้งที่ โครเอเชีย ทำได้ (12.50%) โดยแยกเป็น
1. จ่ายบอลสำเร็จขณะเคลื่อนที่จนนำไปสู่การยิงประตู 8 ครั้ง จากทั้งหมด 58 ครั้งที่โครเอเชีย ทำได้ (13.79%)
2. จ่ายบอลลูกนิ่งสำเร็จจนนำไปสู่การยิงประตู 1 ครั้ง จากทั้งหมด 2 ครั้งที่ โครเอเชีย ทำได้ (50%)
3. เลี้ยงบอลจนนำไปสู่การยิงประตู 0 ครั้ง จากทั้งหมด 3 ครั้งที่ โครเอเชีย ทำได้ (0%)
4. ยิงประตูจนนำไปสู่การยิงซ้ำ 0 ครั้ง จากทั้งหมด 6 ครั้งที่ โครเอเชีย ทำได้ (0%)
5. ถูกทำฟาลว์จนนำไปสู่การยิงประตู 0 ครั้ง จากทั้งหมด 2 ครั้งที่ โครเอเชีย ทำได้
(0%)
การเลี้ยงบอล : พยายามเลี้ยงบอล 7 ครั้ง สำเร็จ 1 (14.3%)
จากสถิติที่เพิ่งผ่านสายตา “คุณ” ไป “เรา” พอมองเห็นภาพอะไรบ้าง?
วิเคราะห์การสร้างสรรค์โอกาสในการยิงประตู :
อาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าตั้งแต่นัดแรก อาจคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ “เนย์มาร์” ไม่ฝืนใช้ความเร็วและทักษณะอันมากล้นของตัวเองเช่นที่มักชอบทำมาตลอด ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ แต่ในนัดที่พบกับ “โครเอเชีย” หากอาการเจ็บดีขึ้น และ “บราซิล” ต้องพบกับ “อุปสรรค” ที่เป็นกำแพงรถบัสอันหนาแน่นบางที “เรา” อาจได้เห็น “งานแสดงศิลปะบนพื้นหญ้า” กลับมาอีกครั้ง
ส่วน “โมดริช” จะเห็นได้ว่าการใช้ “จุดเด่น” เรื่องจ่ายบอลทะลุทะลวงรวมถึงลูกนิ่งอันแสนแม่นยำเป็นหัวใจหลักในการเข้าโจมตีแผงแนวรับของฝ่ายตรงข้ามเช่นเดิม ซึ่งวิธีการนี้ นอกจากช่วยประหยัดพลังงานได้ดีแล้วยังลดความเสี่ยงเรื่องอาการบาดเจ็บบนวัยที่ล่วงเลย ในการแข่งขันทัวร์นาเมนต์สำคัญครั้งสุดท้ายในชีวิตนักฟุตบอลด้วย
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
กราฟิก Anon Chantanant
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง