กลายเป็นกระแสข่าวโด่งดังในประเทศศรีลังกา ถึงความไม่เหมาะสมในการเลี้ยงดูพลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างที่ไทยมอบให้ศรีลังกา เมื่อปี 2544 โดย “RARE Sri Lanka” องค์กรดำเนินการเพื่อพิทักษ์สิทธิสัตว์ ได้เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลไทยเรียกคืนช้างเชือกดังกล่าว เพราะมีสภาพการเลี้ยงไม่เหมาะสม ทำให้มีอาการบาดเจ็บจนขาหน้าเดินได้ไม่ถนัด และมีฝีบริเวณหลังขนาดใหญ่ 2 ข้าง แต่ถูกให้เดินแห่พระบรมสารีริกธาตุเฉลี่ยปีละ 30 ครั้ง จึงเรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการส่งตัวกลับมารักษา

“ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์” ตรวจสอบไปยัง เพจ “RARE Sri Lanka” องค์กรดำเนินการเพื่อพิทักษ์สิทธิสัตว์ แห่งประเทศศรีลังกา ระบุข้อมูลว่า พลายศักดิ์สุรินทร์ เป็นช้างของไทยที่มอบให้ศรีลังกา เมื่อปี 2544 ด้วยความที่มีงายาว 50 ซม. ทั้งสองข้าง ถือเป็นช้างที่มีงายาวที่สุดในศรีลังกา คาดว่ามีอายุประมาณ 30 ปี แต่สภาพร่างกายทรุดโทรมกว่าวัย โดยวัตถุประสงค์การขอช้างเชือกนี้ของศรีลังกามีเอกสารระบุว่า ขอนำไปแห่พระบรมสารีริกธาตุ แต่เมื่อไทยมอบให้กลับส่งพลายศักดิ์สุรินทร์ไปอยู่วัดแห่งหนึ่งไม่ไกลจากเมืองหลวง

ถูกล่ามโซ่ไว้ทั้งขาหน้าและขาหลัง
ถูกล่ามโซ่ไว้ทั้งขาหน้าและขาหลัง

...

ประเด็นที่มีการวิจารณ์คือ ด้วยความที่รัฐบาลไทยส่งมอบพลายศักดิ์สุรินทร์ให้ศรีลังกา แต่กลับนำช้างเชือกดังกล่าวไปให้กับวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการวิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในสถานที่เลี้ยงดู และการล่ามโซ่ทั้งขาหน้าและขาหลัง ทั้งที่ช้างไม่มีอุปนิสัยดุร้าย

พลายศักดิ์สุรินทร์ ขณะนี้มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยขาหน้าแข็งงอไม่ได้ ทำให้เดินได้ไม่ถนัด มีอาการมากว่า 10 ปี ซึ่งไม่มีการรักษาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ทางวัดที่ดูแลได้ล่ามโซ่ทั้งขาหน้าและขาหลังอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากโซ่ที่ล่ามมีระยะสั้น ทำให้ช้างขยับตัวลำบาก จึงไม่เหมาะสมกับสวัสดิภาพของช้าง ประกอบกับช่วงเวลานี้ศรีลังกาประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้ช้างได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม

พลายศักดิ์สุรินทร์ ถือเป็นช้างที่มีงายาวที่สุดของศรีลังกาขณะนี้ เพราะพันธุ์ช้างในประเทศมีงาสั้น สิ่งนี้อาจเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผู้ดูแลไม่อยากส่งมอบช้างเชือกนี้ให้กับไทย โดยหลังจากมีกระแสข่าวในประเทศศรีลังกา พลายศักดิ์สุรินทร์ ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังสวนสัตว์ในเมืองโคลัมโบ แต่ยังมีข้อพิพาทกันระหว่างวัดกับสวนสัตว์

ฝีขนาดใหญ่
ฝีขนาดใหญ่

มีรายงานว่า สถานทูตไทยในเมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ได้เข้าไปช่วยเหลือพลายศักดิ์สุรินทร์ โดยออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการย้ายมาไว้ที่สวนสัตว์ และต้องจ่ายเงินเลี้ยงดูให้กับสวนสัตว์เดือนละ 5 หมื่นบาท จึงควรนำช้างเชือกดังกล่าวกลับมารักษาตัวที่ไทยให้เร็วที่สุด

สิ่งที่น่าเป็นห่วงในการนำ พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับมารักษาที่ไทยขณะนี้ยังขาดความชัดเจนของหน่วยงานรัฐในการดำเนินการต่อจากนี้ แม้มีการเคลื่อนย้ายมาไว้ที่สวนสัตว์ แต่การเลี้ยงดูยังประสบปัญหาด้านสวัสดิภาพสัตว์ เนื่องจากช้างได้เดินออกกำลังกายน้อย เพราะถูกล่ามโซ่ตลอดเวลา

หางที่ขาดการดูแล
หางที่ขาดการดูแล

ประเด็นที่มีผู้ร้องเรียนผ่าน “RARE Sri Lanka” เพราะมีความกังวลในการนำ พลายศักดิ์สุรินทร์ ไปหาประโยชน์ของทางวัด เพราะต้องออกงานเดินแห่พระธาตุปีละ 30 ครั้ง ตกเฉลี่ยต้องเดินเดือนละ 3-4 ครั้ง ทั้งที่ขาหน้าเสีย โดยการแห่แต่ละครั้งต้องนำช้างใส่รถบรรทุกไปตามวัดต่างๆ ซึ่งการเดินแต่ละครั้งต้องใช้เวลานาน

...

รอยแผลบริเวณลำตัว
รอยแผลบริเวณลำตัว

ขณะนี้มีการเปิดแคมเปญเพื่อลงชื่อผ่านเว็บไซต์ www.change.org ชื่อแคมเปญว่า Ask the President of Sri Lanka to sign off the retirement of abused Muthu Raja ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อแล้ว 1,839 คน เพื่อผลักดันให้หน่วยงานรัฐไทยนำ พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับมารักษาตัวที่ประเทศแม่.

ภาพขณะนำไปแห่ในขบวน
ภาพขณะนำไปแห่ในขบวน

...

ขอบคุณภาพจากเพจ RARE Sri Lanka