รู้หรือไม่? ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ใช้จ่ายเงินหาเสียง ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง ได้ไม่เกิน 49 ล้านบาท
วันที่ 25 มี.ค. 65 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อประกาศให้มีการเลือกตั้งการคำนวณค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง
ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ใช้จ่ายได้ไม่เกิน จำนวน 49 ล้านบาท
หลายคนพออ่านถึงตรงนี้อาจสงสัย ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.กกต.กำหนดให้สามารถใช้งบประมาณใช้จ่ายเลือกตั้ง ไม่เกิน จำนวน 49 ล้านบาท แล้วเงินเดือนผู้ว่าฯ กทม.อย่างที่หลายคนเคยได้ยินกัน ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี เงินเดือนผู้ว่าฯ ก็ยังไม่เท่า งบฯ หาเสียงเลย คำถามที่ตามมา คือ แล้วการได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.มันคุ้มค่าจริงหรือไม่
...
คราวนี้ ลองมาโฟกัสถึงอำนาจหน้าที่ของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ว่าตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ในมาตรา 49 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. กำหนดนโยบาย บริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
2. สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
3. แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการ เพื่อปฏิบัติราชการใดๆ
4. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
5. วางระเบียบ เพื่อให้งานของกรุงเทพมหานคร เป็นไปโดยเรียบร้อย
6. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
7. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (เช่น การเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 50 การเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 98 เป็นต้น) และตามที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้ (เช่น อำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี ตามมาตรา 50 เป็นต้น)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
1. เขตสัมพันธวงศ์
2. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
3. เขตบางรัก
4. เขตปทุมวัน
5. เขตพระนคร
ใช้จ่ายได้ไม่เกิน จำนวนเขตเลือกตั้งละ 820,000 บาท
6. เขตราชเทวี
7. เขตพญาไท
8. เขตคลองสาน
9. เขตบางกอกใหญ่
10. เขตห้วยขวาง
11. เขตวัฒนา
12. เขตราษฎร์บูรณะ
13. เขตทุ่งครุ
14. เขตคลองเตย
15. เขตยานนาวา
16. เขตสาธร
ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนเขตเลือกตั้งละ 900,000 บาท
17. เขตบางพลัด
18. เขตสะพานสูง
19. เขตทวีวัฒนา
20. เขตบางบอน
21. เขตคันนายาว
22. เขตวังทองหลาง
23. เขตบางคอแหลม
24. เขตบางกอกน้อย
25. เขตมีนบุรี
26. เขตพระโขนง
27. เขตหลักสี่
28. เขตดินแดง
29. เขตบางนา
30. เขตลาดพร้าว
31. เขตตลิ่งชัน
32. เขตดุสิต
33. เขตธนบุรี
34. เขตสวนหลวง
ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนเขตเลือกตั้งละ 1,000,000 บาท
35. เขตภาษีเจริญ
36. เขตบางซื่อ
37. เขตบึงกุ่ม
38. เขตบางกะปิ
39. เขตหนองแขม
40. เขตหนองจอก
41. เขตจตุจักร
42. เขตจอมทอง
ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนเขตเลือกตั้งละ 1,050,000 บาท
43. เขตบางขุนเทียน
44. เขตคลองสามวา
45. เขตลาดกระบัง
46. เขตดอนเมือง
47. เขตประเวศ
48. เขตสายไหม
49. เขตบางเขน
50. เขตบางแค
ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนเขตเลือกตั้งละ 1,150,000 บาท
ขณะที่งบประมาณรายจ่ายประจำปี ประกาศไว้ในเว็บไซต์ "ราชกิจจานุเบกษา" ตั้งแต่ปี 2555-2565 เห็นได้ชัดว่า ผู้ที่ได้เป็น ผู้ว่าฯ กทม. จะต้องมีหน้าที่บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนี้ ที่มีงบประมาณปีละเกือบ 1 แสนล้านบาท และพบในปี 2563 เป็นปีที่ กทม.มีงบประมาณมากที่สุด อยู่ที่ 83,398 ล้านบาท แบ่งตัวเลขงบประมาณ กทม.ในแต่ละปีได้ดังนี้
ปี 2555 งบประมาณ 55,507 ล้านบาท
ปี 2556 งบประมาณ 60,527 ล้านบาท
ปี 2557 งบประมาณ 65,517 ล้านบาท
ปี 2558 งบประมาณ 65,442 ล้านบาท
ปี 2559 งบประมาณ 70,424 ล้านบาท
ปี 2560 งบประมาณ 75,635 ล้านบาท
ปี 2561 งบประมาณ 79,047 ล้านบาท
ปี 2562 งบประมาณ 80,445 ล้านบาท
ปี 2563 งบประมาณ 83,398 ล้านบาท
ปี 2564 งบประมาณ 76,451 ล้านบาท
ปี 2565 งบประมาณ 79,855 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม วันนี้ ( 25 มี.ค.2565 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมออกประกาศ การเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และนายกเมืองพัทยา อย่างเป็นทางการ