การท่องเที่ยวชุมชนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้ เพราะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้คนในชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น พร้อมทั้งยังได้สัมผัสวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ ด้วย

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA สนับสนุนการท่องเที่ยวในเมืองรองที่มีมุมที่น่าสนใจ ทั้งเรื่องราวชุมชนสุดอันซีน วัฒนธรรม และนวัตกรรมฉบับคนท้องถิ่น ความแปลกใหม่ของอาหาร รวมทั้งการทำคอนเทนต์ที่ไม่ซ้ำใคร พร้อมชวนปักหมุดจุดท่องเที่ยวตามเส้นทางที่เคยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก NIA เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่กำลังวางแพลนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปลายปีนี้

ท่องเที่ยวชุมชน ชมวิถีชีวิตประมง ที่คลองปากประ

จังหวัดพัทลุง มีอัตลักษณ์และวิถีชีวิตที่สะท้อนถึงความเป็นลุ่มน้ำ ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลน้อย” แหล่งน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ลักษณะภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าพรุขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ และ “คลองปากประ” แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดจากการไหลมารวมกันของลำน้ำหลายสาย มีฝูงปลาจำนวนมากอาศัยอยู่ ชาวบ้านที่นี่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเป็นหลัก โดยมีวิถีประมงพื้นบ้านที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน นั่นคือการใช้ “ยอยักษ์” ดักจับปลาลูกเบร่ ปลาพื้นถิ่นของทะเลน้อย ที่แม้จะมีขนาดเล็กที่สุดของห่วงโซ่อาหาร แต่กลับมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง โดยชาวบ้านนิยมนำมาแปรรูปอบแห้งด้วยระบบความร้อนแสงอาทิตย์ ร่วมกับระบบลมร้อนภายในตู้อบแห้งพาราโบลา เพื่อลดการปนเปื้อน สามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ราคาสูง สร้างรายได้กลับเข้าชุมชนอย่างยั่งยืน

ท่องเที่ยวชุมชน ล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมง สัมผัสระบบนิเวศทางธรรมชาติที่งดงาม
ท่องเที่ยวชุมชน ล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมง สัมผัสระบบนิเวศทางธรรมชาติที่งดงาม

...

เมื่อมาเยือนชุมชนปากประ จังหวัดพัทลุง กิจกรรมที่เป็นมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด คือการล่องเรือจากคลองปากประสู่ทะเลน้อย เพื่อชมแสงแรกของวัน ยามพระอาทิตย์ขึ้นบริเวณกลางลำน้ำ และเมื่อล่องเรือไปตามเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ “ตามหาปลาลูกเบร่” ก็จะได้ชมวิถีชีวิตที่โดดเด่นไปด้วยอัตลักษณ์และภูมิปัญญา ภาพของชาวประมงพื้นบ้านที่ใช้ยอยักษ์จับปลา รวมถึงระบบนิเวศทางธรรมชาติที่งดงาม ทั้งทุ่งดอกบัว นกน้ำหลากหลายพันธุ์ และควายน้ำ หากเป็นช่วงน้ำลงจะได้เห็นภาพฝูงควายน้ำ ซึ่งเป็นควายที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้สำหรับทำการเกษตร พากันมากินหญ้าและแช่น้ำในทะเลน้อย ให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้ยลโฉมความน่ารัก

ชุมชนปากประมีนวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีจุดเด่นจากโครงการปากประโลว์คาร์บอน กิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ชุมชนปากประมีนวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีจุดเด่นจากโครงการปากประโลว์คาร์บอน กิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

สำหรับชุมชนปากประมีนวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีจุดเด่นจากโครงการปากประโลว์คาร์บอน กิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวลองทัวร์ปากประสำหรับชุมชนคลองปากประ จากโครงการ Long Tour Pak Pra โดยส่งเสริมให้นําแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในธุรกิจการท่องเที่ยววิถีชุมชน ตลอดจนเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนให้สามารถพัฒนาการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ท่องเที่ยวชุมชน สไตล์โนแมด ที่แม่ฮ่องสอน

รูปแบบการทำงานของคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศหรือสถานที่มากขึ้น เพื่อลดภาวะหมดไฟในการทำงาน ดังนั้น การพาตัวเองพร้อมโน้ตบุ๊ก 1 เครื่อง ไปทำงานและพักผ่อนยังต่างจังหวัดที่ห่างไกลผู้คน และได้สัมผัสใกล้ชิดธรรมชาติ จึงกลายเป็นเทรนด์ที่สนับสนุนให้ “เครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน” มีแนวคิดที่จะใช้นวัตกรรมกระบวนการมาปรับรูปแบบการท่องเที่ยว ทั้งการเดินทาง การบริการของชุมชน และพื้นที่อำนวยความสะดวกสำหรับการทำงาน เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวชาวไทยในด้านการเปลี่ยนที่ทำงานจาก Work From Home เป็น Work From Anywhere รวมถึงดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทั้งเยอรมนี อังกฤษ ออสเตรเลีย ที่ต้องการมาพักผ่อนและเรียนรู้วิถีชีวิตไปพร้อมกับคนพื้นเมือง ควบคู่กับความต้องการพื้นที่ทำงานส่วนตัวในหมู่บ้าน

ท่องเที่ยวชุมชนแบบโนแมดที่แม่ฮ่องสอน มีการพัฒนากลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในพื้นที่มาคอยอำนวยความสะดวกและบริการนักท่องเที่ยว ตั้งแต่การต้อนรับ การดริปกาแฟ การทอผ้า ซึ่งผู้ที่มาเยือนไม่เพียงแต่สามารถนั่งทำงานได้อย่างมีความสุข
ท่องเที่ยวชุมชนแบบโนแมดที่แม่ฮ่องสอน มีการพัฒนากลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในพื้นที่มาคอยอำนวยความสะดวกและบริการนักท่องเที่ยว ตั้งแต่การต้อนรับ การดริปกาแฟ การทอผ้า ซึ่งผู้ที่มาเยือนไม่เพียงแต่สามารถนั่งทำงานได้อย่างมีความสุข

...

ทั้งนี้ นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบ Workation ที่ชุมชนและพื้นที่มีการปรับรูปแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดินทางมาถึง มีการจัดการดูแลตั้งแต่เริ่มเข้าพื้นที่ การพักผ่อน การทำงานนอกสถานที่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าและเกิดรายได้ต่อพื้นที่ มีการพัฒนากลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในพื้นที่ มาคอยอำนวยความสะดวกและบริการนักท่องเที่ยว ตั้งแต่การต้อนรับ การดริปกาแฟ การทอผ้า ซึ่งผู้ที่มาเยือนไม่เพียงแต่สามารถนั่งทำงานได้อย่างมีความสุข ในช่วงพักหรือเลิกงานก็สามารถลงไปสัมผัสวัฒนธรรมพื้นถิ่นและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเดินป่า พูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่ หรือเล่นดนตรี แต่หากผู้ที่มาเที่ยวต้องการปลีกวิเวก เพื่อทำงานและรับชมธรรมชาติเท่านั้น นักท่องเที่ยวก็สามารถดีไซน์รูปแบบการท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้

นักท่องเที่ยว สามารถเที่ยวชุมชนพร้อมสัมผัสวัฒนธรรมพื้นถิ่นและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่หรือชมธรรมชาติของจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้
นักท่องเที่ยว สามารถเที่ยวชุมชนพร้อมสัมผัสวัฒนธรรมพื้นถิ่นและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่หรือชมธรรมชาติของจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้

...

ท่องเที่ยวชุมชน บนดอยหลวงเชียงดาว กับเส้นทางอนุรักษ์มรดกโลก

ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นยอดเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีความสูงเกินกว่า 1,900 เมตร มีลักษณะเป็นป่ากึ่งอบอุ่นเหมือนต่างประเทศ ที่อุดมไปด้วยพรรณไม้กว่า 2,000 ชนิด พืชเฉพาะถิ่นที่พบได้ที่เดียวในโลกมากกว่า 100 ชนิด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์มากถึง 672 ชนิด ทำให้ปัจจุบันดอยหลวงเชียงดาวได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล หรือพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งด้านป่าไม้ พันธุ์พืช และสัตว์ป่า ตลอดจนวัฒนธรรมในพื้นที่ ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าและพื้นที่ธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ระบบการจัดการเพื่อแบ่งเขตในการอนุรักษ์ และการทำมาหากินในพื้นที่อย่างชัดเจน นับเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลลำดับที่ 5 ของเมืองไทย ทำให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ต้องการเดินทางมาศึกษาธรรมชาติในพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งหากขาดความรู้อาจทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าและวิถีชีวิตดั้งเดิมถูกทำลาย

NIA สร้างนวัตกรรมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยววิถีใหม่ด้วยการจัดทำแอปพลิเคชัน มหัศจรรย์ดอยหลวงเชียงดาว ที่สามารถใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
NIA สร้างนวัตกรรมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยววิถีใหม่ด้วยการจัดทำแอปพลิเคชัน มหัศจรรย์ดอยหลวงเชียงดาว ที่สามารถใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์

...

ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสบการณ์สัมผัสความงามของธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ภาคีเรารักดอยหลวงเชียงดาว และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงร่วมกับ NIA สร้างนวัตกรรมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยววิถีใหม่ด้วยการจัดทำแอปพลิเคชัน “มหัศจรรย์ดอยหลวงเชียงดาว” ที่สามารถใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์ สำหรับหาข้อมูลเตรียมตัวก่อนขึ้นไปศึกษาธรรมชาติบนดอยหลวงเชียงดาว และแบบออฟไลน์ เพราะเมื่อเข้าสู่พื้นที่จะไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้

ในแอปฯ จะแสดงข้อมูลตลอดเส้นทาง เช่น ข้อมูลพืชพรรณเฉพาะถิ่น คำแนะนำสถานที่จุดชมวิว ฟอสซิลหอย 230 ล้านปี รวมถึงเรื่องราวความเชื่อ ความศรัทธาในพื้นที่
ในแอปฯ จะแสดงข้อมูลตลอดเส้นทาง เช่น ข้อมูลพืชพรรณเฉพาะถิ่น คำแนะนำสถานที่จุดชมวิว ฟอสซิลหอย 230 ล้านปี รวมถึงเรื่องราวความเชื่อ ความศรัทธาในพื้นที่

ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดข้อมูลลงในสมาร์ทโฟนไว้ล่วงหน้า เมื่อเดินทางถึงจุดที่กำหนด ก็สแกน QR Code เพื่อให้แอปพลิเคชันแสดงข้อมูลตลอดเส้นทาง เช่น ข้อมูลพืชพรรณเฉพาะถิ่น คำแนะนำสถานที่จุดชมวิว ฟอสซิลหอย 230 ล้านปี รวมถึงเรื่องราวความเชื่อ ความศรัทธาในพื้นที่ ประวัติเจ้าหลวงคำแดง เทพอารักษ์ประจำดอยหลวงฯ และช่องทางการบริจาคเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลทรัพยากร อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่สนใจการอนุรักษ์ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครพิทักษ์ดอยหลวงเชียงดาว เช่น อาสาสมัครทำแนวกันไฟ การปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่ป่า ซึ่งจะเห็นได้ว่าดอยหลวงเชียงดาวนับเป็นพื้นที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทั้งด้านระบบนิเวศพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า รวมถึงวัฒนธรรมชุมชน ดังนั้น การนำนวัตกรรมเพื่อสังคมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ นอกจากจะช่วยอนุรักษ์พื้นที่พิเศษแล้ว ยังสามารถช่วยต่อยอดและรักษาความมหัศจรรย์ของดอยหลวงเชียงดาวให้คงอยู่สืบต่อไป

ท่องเที่ยวชุมชน ฟังดนตรี “ม้งไซเบอร์” จากเด็กดอยบ้านน้ำจวง

ประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โรงเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนชายขอบ และโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ขาดแคลนครูและเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ซึ่งโรงเรียนบ้านน้ำจวง ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนแห่งเดียวของหมู่บ้าน มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมปลาย รวม 500 คน ปัญหาใหญ่ของโรงเรียนแห่งนี้คือ เด็กขาดทักษะอาชีพที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน เมื่อถึงวัยทำงานจึงต้องไปเป็นแรงงานต่างถิ่น

ม้งไซเบอร์ ออกแบบ 3 หลักสูตร เพื่อพัฒนาอาชีพแก่เยาวชนของชุมชนบ้านน้ำจวง เพื่อเติมเต็มทักษะอาชีพที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน
ม้งไซเบอร์ ออกแบบ 3 หลักสูตร เพื่อพัฒนาอาชีพแก่เยาวชนของชุมชนบ้านน้ำจวง เพื่อเติมเต็มทักษะอาชีพที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน

ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้เยาวชนในหมู่บ้านเข้าถึงทักษะอาชีพที่ต้องการเรียนรู้ และสามารถนำไปสร้างอาชีพให้กับตัวเองได้ บริษัท ม้ง ไซเบอร์ โซเชียล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด จึงร่วมกับชุมชนบ้านน้ำจวง ออกแบบ 3 หลักสูตรสำหรับพัฒนาอาชีพ ได้แก่ หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร หลักสูตรพื้นฐานการผลิตสื่อโฆษณาและสื่อออนไลน์ และหลักสูตรการแสดงดนตรีและละครเวที เพื่อให้กลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านมีโอกาสเข้าถึงอาชีพทางเลือกได้มากขึ้น

โดยเป็นการออกแบบให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ชุมชนที่เป็นหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และงานเทศกาลดนตรี (Hmong Cyber Music Festival) เพื่อให้เยาวชนที่จบหลักสูตรได้มีพื้นที่การแสดงออก และต้องการให้ผู้ปกครองเห็นว่าการเรียนการสอน สามารถนำมาต่อยอดทำงาน สร้างรายได้เสริมในพื้นที่ชุมชนของตนเองได้ โดยไม่ต้องละถิ่นเข้าไปทำงานในเมือง

ความสนุกจากการท่องเที่ยวในวันนี้ อาจไม่ใช่เพียงแค่ไปแล้วรู้สึกได้ถึงความสวยงาม อากาศดี อาหารอร่อย แต่การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ การได้สัมผัสวัฒนธรรมที่ผสานไปกับนวัตกรรมอย่างลงตัว รวมถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชน ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ และควรร่วมผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้เกิดความนิยมกับนักท่องเที่ยว สร้างการเป็นที่รู้จักในระดับโลก

ภาพ : NIA