เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มอย่างอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ จิตใจ และสังคม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็น สุรา เบียร์ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่กลายมาเป็นเครื่องดื่มเข้าสังคมยอดนิยมในปัจจุบัน หนึ่งในสัญลักษณ์แห่งการสังสรรค์ที่นำพามาซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และตัวชูโรงแห่งเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ
อย่างไรก็ตามการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้อย่างไม่ระวัง อาจนำมาซึ่งผลเสียต่อตัวสุขภาพ สติการตัดสินใจ รวมถึงอันตรายต่อคนรอบข้างได้ ดังนั้นการเรียนรู้วิธีดื่มแอลกอฮอล์อย่างปลอดภัย ถูกต้อง ควรมีการตั้งเป้าอย่างไร ลิมิตแค่ไหนถึงจะดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และไม่เป็นภัยต่อสังคม ทำไมการดื่มแอลกอฮอล์ถึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ
แน่นอนว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในของมึนเมาที่เปรียบเสมือนดาบสองคม ถ้าหากดื่มในปริมาณที่พอดีสามารถสร้างความสนุกอย่างมีสติ ส่งผลต่อสุขภาพในทิศทางบวก ไม่สร้างผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
ถ้าหากดื่มในปริมาณที่มาก มีความถี่ที่ต่อเนื่อง อาจเป็นพิษทั้งต่อร่างกาย สังคม ในด้านของสติสัมปชัญญะที่ขาดหายไป ไม่ได้มีการกลั่นกรอง ซึ่งส่งผลกระทบด้านอารมณ์และความรู้สึก รวมถึงอาจเกิดการกระทำที่ส่งผลอันตรายทั้งต่อตัวเอง และสังคมได้ นี่คือเหตุผลที่ “การดื่มแอลกอฮอล์” จึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ มีการถูกจำกัดปริมาณอย่างเหมาะสม และคำเตือนอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น
ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปอันตรายอย่างไร
- ผลกระทบต่อสุขภาพ การดื่มมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคตับ โรคหัวใจ มะเร็ง และปัญหาสุขภาพจิต
- ผลกระทบต่อสังคม อาจก่อให้เกิดความรุนแรง อุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท และปัญหาครอบครัว
- ผลกระทบต่อการทำงาน การดื่มมากเกินไปส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และอาจทำให้สูญเสียงานได้
...
แน่นอนการดื่มแอลกอฮอล์นี้สามารถส่งผลเสียไปเป็นวงกว้าง แล้ว “การดื่มอย่างสร้างสรรค์” ที่ไม่เป็นพิษต่อสุขภาพ และสังคม ควรทำอย่างไร ซึ่งก็มีวิธีการอยู่ไม่น้อย เพียงแค่ผู้ดื่มอาจจะต้องมีจิตใจที่แน่วแน่ ควบคุมตนเองเพื่อให้การสังสรรค์นี้ไม่กลายเป็นพิษภัยต่อตนเอง และสังคม ได้โดยวิธีการดังนี้
รู้จักปริมาณที่เหมาะสม: โดยแต่ละคนมีขีดจำกัดในการดื่มที่แตกต่างกัน ควรสังเกตสัญญาณเตือนของร่างกาย เช่น เวียนหัว มึนงง หากรู้สึกไม่สบาย มีอาการที่คล้ายคลึง “ควรหยุดพัก หรือหยุดดื่มทันที”
ดื่มอย่างช้าๆ: การดื่มช้าๆ จะสามารถช่วยยืดระยะเวลาให้ร่างกายสามารถย่อยแอลกอฮอล์ และลดความเสี่ยงต่อการเมาเร็ว และขาดสติเฉียบพลันได้
ดื่มน้ำเยอะๆ: การดื่มน้ำเปล่าสลับกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดอาการเมาค้าง การเมาเร็ว และป้องกันภาวะการขาดน้ำจากร่างกายได้ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สามารถยืดเวลาการสังสรรค์ของตนเองออกไป แต่หากมีอาการมึนเมาให้ควรหยุดดื่ม และดื่มน้ำสะอาดเยอะๆ แทน จะสามารถช่วยได้ดี
รับประทานอาหาร: การกินอาหารก่อนและระหว่างดื่มจะช่วยชะลอการดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง แต่อย่างไรก็ดีบางครั้งการกินอาหาร แล้วต่อด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยนั้นสามารถทำให้เกิดอาการจุก เสียด ท้องอืดได้ ดังนั้นควรจัดสรรเวลาที่ชัดเจน และมีการเว้นช่วงอย่างเหมาะสม
ดื่มแล้วอย่าขับรถ: หากเริ่มการดื่มแอลกอฮอล์แล้วนั้นควรหลีกเลี่ยงการขับขี่รถยนต์ เพราะหากดื่มในปริมาณหนึ่งแล้ว การตัดสินใจ สติสัมปชัญญะ จะลดทอนลงไปตามจำนวนปริมาณแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุทั้งตนเอง และผู้ใช้ท้องถนนร่วมกันได้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สิน สุขภาพ ดังนั้นหากมีการสังสรรค์ ควรเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะแทน
เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์: แน่นอนว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อร่างกายอย่างมากทั้งสุขภาพกายและใจ ดังนั้นการทานอาหารที่ดี มีคุณภาพ และประโยชน์สามารถช่วยซ่อมส่วนที่สึกหรอได้อยู่บ้าง รวมถึงอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ช้าลง
ควรมีขีดจำกัดและรู้จักการปฏิเสธ: แน่นอนว่าหากไม่ต้องการดื่มเยอะ มีธุระหรือภารกิจที่ต้องทำต่อ เราควรประเมินตนเองและคาดการณ์ร่างกายของตนเองได้ โดยผู้คนส่วนใหญ่มักจะมีอาการติดลม แน่นอนว่าต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจและขีดจำกัดของตัวเอง หากมีการชักชวนก็ไม่จำเป็นต้องไปตามสิ่งแวดล้อมรอบข้างเสมอไป ควรนึกถึงสุขภาพ ความปลอดภัย และความเหมาะสมของตัวเองเป็นหลัก ดังนั้นการปฏิเสธจึงเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้ และเป็นทางออกที่ดี
สังเกตและช่วยเหลือ: หากพบว่าตนเอง เพื่อนหรือคนรู้จักดื่มมากเกินไป ควรช่วยเหลือและพาไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย หรือหากเกิดขึ้นกับตนเองควรมีการเตรียมการ เช่น บอกกล่าวที่อยู่ของตนเอง หรือจะเป็นการช่วยกันดูแลกันและกันเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองและคนรอบข้างที่คุณรัก
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ: หากมีปัญหาในการควบคุมการดื่ม ไม่สามารถหยุดดื่มได้ หรืออาการอยากดื่มตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อแก้ปัญหาในลำดับถัดไป
ฉะนั้นแล้วการดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีความรับผิดชอบคือการดูแลทั้งตัวคุณและคนรอบข้างให้ปลอดภัยทั้งกาย จิตใจ และคนรอบข้างในสังคม ดังนั้นการดื่มอย่างสร้างสรรค์นั้นจึงเป็นการประเมินตนเองและภาวะสังคมรอบข้าง ให้มีสติและความสนุกแต่พอดี และไม่ส่งผลเสียต่อตนเองและคนที่คุณรัก
...
หากพูดถึงข้อดีของการดื่มแอลกอฮอล์ อาจเป็นมุมมองที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากผลกระทบด้านลบของแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพและสังคมนั้นมีมากกว่าผลดีที่อาจจะได้รับ
อย่างไรก็ดีเราสามารถควบคุมข้อดีได้โดยสติและการประเมินตนเอง แม้จะมีการศึกษาบางชิ้นที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์บางประการ เช่น การลดความเสี่ยงของโรคหัวใจในปริมาณที่น้อย และในกลุ่มคนบางกลุ่ม แต่ผลดีเหล่านั้นต้องชั่งน้ำหนักกับผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้มากมาย
แน่นอนว่าแอลกอฮอล์ไม่ได้มีแค่ด้านลบเดียว สุรายังเป็นเหตุให้เกิดสิ่งต่างๆ ที่ดีและไม่ดีได้ ดังนั้นอยากจะเชิญชวนทุกคนมาร่วมฟังเสวนาการร่ำเมรัย ค้นหาคำตอบของตนเองในการสังสรรค์อย่างสร้างสรรค์ ได้ที่งาน ‘เม้าเหล้า เม้าเบียร์ เม้ามันส์’ ที่งาน “เมรัยไทยแลนด์” ซึ่งเป็นงานฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
โดยงาน “เมรัยไทยแลนด์” จะรวมเรื่องเล่า เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งสุราพื้นถิ่นและชุมชนที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบัน ด้วยการชูอัตลักษณ์ของสุราไทย ตั้งแต่กรรมวิธีการหมักและการกลั่นแอลกอฮอล์พื้นบ้าน รวมถึง “การดื่มอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย” โดยงานจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 00.00 น. ที่ Em Glass, Em Yard, ชั้น G Emsphere (เอ็มสเฟียร์)