เรียนรู้จากเหตุอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อฝนที่ตกวันเดียวมีปริมาณมากกว่าฝนที่เคยตกในพื้นที่เป็นปกติต่อปีเกิดอะไรขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 15-16 เมษายน 2024 : ฝนแรกเริ่มตกตั้งแต่ช่วงสายของวันที่ 15 เมษายน โดยวัดปริมาณได้ 20 มิลลิเมตร (0.7 นิ้ว) ที่ สนามบินนานาชาติดูไบจากนั้น ค่อยทวีความรุนแรงขึ้นในเวลา 09.00 น. ของวันที่ 16 เมษายน และตกต่อเนื่องตลอดทั้งวัน โดยนอกจากมีพายุฝนรุนแรงแล้ว ยังมีลูกเห็บตกด้วย โดยสามารถวัดปริมาณน้ำฝนรวมได้มากกว่า 142 มิลลิเมตร (5.59 นิ้ว) ภายในเวลา 24 ชั่วโมง สำหรับจุดที่มีปริมาณน้ำฝนสูงสุด คือ เมืองอัล อาอิน (Al Ain) รัฐอาบูดาบี โดยสูงถึง 254.8 มม. (10 นิ้ว) ในห้วงระยะเวลา 24 ชั่วโมง ของวันที่ 16 เมษายน โดยสิ้นสุดเวลา 21.00 น. ของวันที่ 16 เม.ย. (ตามเวลาท้องถิ่น) วัดปริมาณน้ำฝนรวมทั่วประเทศ ได้มากกว่า 142 มิลลิเมตร (5.59 นิ้ว) ซึ่งถือเป็นฝนที่ตกหนักที่สุดของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติครั้งแรกในปี 1949อ้างอิง : กรมอุตุนิยมวิทยาประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (National Center of Meteorology)ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างปี 2003-2023 : ม.ค. 10.5 มิลลิเมตร ก.พ. 3.4 มิลลิเมตร มี.ค. 10 มิลลิเมตรเม.ย. 5.6 มิลลิเมตรพ.ค. - มิ.ย. - ก.ค. 0.2 มิลลิเมตร ส.ค. -ก.ย. -ต.ค. 0.6 มิลลิเมตร พ.ย. 2.7 มิลลิเมตร ธ.ค. 10.7 มิลลิเมตร ทั้งนี้ ปริมาณฝนตกรวมเฉลี่ยตลอดทั้งปี : 43.7 มิลลิเมตร (1.7 นิ้ว) และปกติฝนจะตกในช่วงระหว่างเดือน ธ.ค.-มี.ค. หรือช้าที่สุดคือเดือน เม.ย. อ้างอิง กรมอุตุนิยมวิทยาประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (National Center of Meteorology) ปัจจัยที่ทำให้เกิด Historic Weather Event 1. Climate Change ผู้เชี่ยวชาญจากกรมอุตุนิยมวิทยาประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เชื่อว่า ปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในช่วงระหว่างวันที่ 15-16 เมษายน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นทั้งบนและในทะเล จนเป็นผลให้มวลอากาศร้อนในชั้นบรรยากาศล่างปะทะกับมวลอากาศเย็นในชั้นบรรยากาศสูง จนกระทั่งทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนัก ซึ่งถือเป็น “ปรากฏการณ์ที่ผิดปกติ” สำหรับเดือนเมษายนของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มักจะไม่เกิดฝนตกแล้ว 2. น้ำท่วมเมืองได้อย่างไร ทั้งๆ ที่พื้นที่เต็มไปด้วยทะเลทรายนักวิเคราะห์จากสำนักข่าว CNBC ให้ความเห็นว่า เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Event) อันเป็นผลมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมและการออกแบบผังเมืองใหม่ในปัจจุบัน ยังคงไม่สามารถป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติในลักษณะนี้ได้ นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า การขยายพื้นที่เขตเมืองด้วยการเทคอนกรีตเพื่อเพิ่มพื้นที่การก่อสร้างที่พักอาศัยและตึกสูงต่างๆ รวมถึงการเพิ่มพื้นที่การฝังกลบขยะจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการขวางกั้นการระบายน้ำและการดูดซับน้ำลงสู่พื้นดินตามธรรมชาติด้วย ทั้งๆ ที่ดินแดนดังกล่าวเต็มไปด้วยทะเลทรายซึ่งสามารถดูดซับน้ำลงพื้นดินได้อย่างรวดเร็วก็ตาม ข้อควรรู้เกี่ยวกับประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE :ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกอบด้วย 7 รัฐ : อาบูดาบี, ดูไบ, ชาร์จาห์, อัจมาน, ราสอัลไคมาห์, ฟูไจราห์, อุมม์ อัล ไกเวน เมืองหลวง : กรุงอาบูดาบี มีพื้นที่รวม 90,559 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร : 9.4 ล้านคนอ้างอิง : กระทรวงการต่างประเทศ นครรัฐดูไบ : จำนวนประชากรปี 2022 รวม 3,549,900 คน : แยกเป็นคนพื้นเมือง 284,650 คน ชาวต่างชาติ 3,265,250 คน นครดูไบ : มีพื้นที่ 4,114 ตารางกิโลเมตร อ้างอิง สำนักงานสถิติกลางดูไบ (Dubai Statistics Center) หรือ DSCสนามบินนานาชาติดูไบ (Dubai International Airport) พื้นที่ : 225,020 ตารางเมตร จำนวนผู้ใช้บริการ ปี 2023 : 87 ล้านคน (สนามบินที่มีผู้มาใช้บริการมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก) มีเที่ยวบินสำหรับให้บริการไปยังจุดหมายปลายทาง 262 แห่ง ใน 104 ประเทศทั่วโลก และมีสายการบินมากกว่า 100 สายการบินให้บริการความสำคัญของสนามบินนานาชาติดูไบ : ศูนย์กลางการบินที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง โดยช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 มีเที่ยวบินให้บริการมากกว่า 7,700 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จาก 140 สายการบิน ที่ให้บริการไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่า 270 แห่งทั่วโลก ทั้งนี้ สนามบินนานาชาติดูไบ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของรัฐดูไบ เนื่องจากทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 90,000 คน อีกทั้งยังทำให้เกิดการจ้างงานทางอ้อมอีกมากกว่า 400,000 ตำแหน่ง (21% ของการจ้างงานในรัฐดูไบ) คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 26,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 27% ของ GDP ของรัฐดูไบ อ้างอิง : สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (The Airports Council International) หรือ ACI และ เว็บไซต์ Dubai.comทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน กราฟิก : Varanya.p