• Facebookก่อตั้งโดย มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก และผองเพื่อน ตั้งแต่ปี 2004 โดยมียอดผู้สมัครใช้บริการทะลุ 1,000 ล้าน Users ได้สำเร็จในปี 2012 และในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้งาน Facebook ในทุกๆ วัน• ตุลาคม ปี 2021Facebook รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด ทำรายได้ 29,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อปีที่ผ่านมา 35% ในขณะที่ สัดส่วนผลกำไรอยู่ที่ 9,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 17% หากเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่ จำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 12% เมื่อเปรียบเทียบแบบปีต่อปี ส่วนยอดผู้ใช้งานในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ 3,600 ล้าน Users• Facebook Papers เอกสารภายในของ Facebook ที่ถูก "ฟรานเซส เฮาเกน" อดีตผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท คัดลอกและนำออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชนโดยอ้างว่า เฟซบุ๊กทำกำไรได้อย่างมหาศาลจากอัลกอริทึมที่ถูกปรับแต่งให้ผลักดันการแพร่กระจายข่าวปลอมและข้อมูลเท็จออกไปอย่างกว้างขวาง อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง... เมื่อ Like และ Share กำลังเสี่ยงพา Facebook สู่การถูกควบคุมด้วยกฎหมาย• Mark Zuckerberg"การวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตช่วยทำให้เราดีขึ้น แต่ในมุมมองของผม ผมว่าเรามองเห็นความพยายามจับมือกันคัดเลือกเอกสารที่รั่วไหลออกไป เพื่อป้ายสีบริษัทของเรา" ที่มาวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 17 ปี• หลักฐานFacebook Papers ถูกนักวิเคราะห์มองว่า คือ วิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 17 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเป็นต้นมา เนื่องจากมันได้กลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยืนยันได้ว่าสิ่งที่ Facebook อ้างว่า ได้พยายามแก้ไขข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มีต่อบริษัทมาโดยตลอด "อาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น"• เหตุจลาจลที่รัฐสภาสหรัฐฯเชอริล แซนด์เบิร์ก COO ของ Facebook ยืนยันผ่านสื่อว่า ได้จำกัดเนื้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงจากเพจการเมืองต่างๆ ในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น QAnon, Proud Boys, Stop the Steal มาโดยตลอด และปฏิเสธความรับผิดชอบในเหตุการณ์ความรุนแรงที่อาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ของกลุ่มสนับสนุนอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม• Facebook Papersเอกสารภายในที่ถูกนำออกมาเปิดเผย ระบุว่า Facebook ประเมินความเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวรุนแรงต่างๆ เหล่านั้นต่ำเกินไป หนำซ้ำยังเลือกแก้ไขปัญหาอย่างเชื่องช้า ด้วยการพิจารณาภาพรวมของเพจว่าเข้าข่ายผิดมาตรฐานชุมชนหรือไม่ ก่อนจะตัดสินใจลบเพจทิ้ง รวมถึงไล่ตามไม่ทันเมื่อกลุ่มดังกล่าวย้ายไปเปิดเพจใหม่แทนที่จะจัดการปัญหาด้วยวิธีการที่รวดเร็วและง่ายกว่านั้น เช่น การลบโพสต์หรือคอมเมนต์ Fake news การยั่วยุ หรือการแสดงความเกลียดชังเป็นรายบุคคลทันที จนกระทั่งทำให้ Fake news แพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง• การค้ามนุษย์Facebook ยืนยันได้ว่า ได้ห้ามและป้องกันไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการค้ามนุษย์บนแพลตฟอร์มในทุกกรณี และได้ต่อสู้กับเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน• Facebook Papersเอกสารภายในที่ถูกนำออกมาเปิดเผย ระบุว่า Facebook เริ่มรับรู้ปัญหาดังกล่าวบนแพลตฟอร์มมาตั้งแต่ปี 2018แต่กว่าจะเริ่มดำเนินการ "กำจัด" เนื้อหาที่เชื่อมโยงถึงการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง กลับเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2019 แถมการดำเนินการดังกล่าวยังเกิดจากการถูก Apple ขู่ว่าจะนำแอปพลิเคชัน Facebook และ Instagram ออกจาก App Store ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อธุรกิจของ Facebook อย่างร้ายแรง• Hate speechFacebook ยืนยันว่าได้จัดให้ประเทศเอธิโอเปียอยู่ในลำดับความสำคัญสูงสุดของลิสต์รายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความขัดแย้งสูงซึ่งต้องมีการดูแลเนื้อหาบนแพลตฟอร์มอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการสร้างความเกลียดชังและยั่วยุให้เกิดความรุนแรง และมีพนักงานมากกว่า 15,000 คน สำหรับทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหามากกว่า 70 ภาษา ทั่วโลก และได้ลงทุนไปมากกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อปรับปรุงแพลตฟอร์มให้ปลอดภัยตั้งแต่ปี 2015• Facebook Papersเอกสารภายในที่ถูกนำมาออกมาเปิดเผย ระบุว่า แม้จะมีการแจ้งเตือนว่าพบ "ผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีปัญหา" ซึ่งจงใจสร้างเนื้อหาสร้างความเกลียดชังและปลุกระดมให้เกิดความรุนแรงในประเทศเอธิโอเปีย เมียนมา และประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ซึ่งกำลังมีฐานตัวเลขผู้ใช้งานเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง (1,840 ล้าน Active Users ในแต่ละวัน 72% เป็นผู้ใช้งานนอกสหรัฐฯ และยุโรป)แต่ Facebook กลับล้มเหลวในการเพิ่มจำนวนพนักงานหรือสร้างระบบ AI เพื่อคัดกรองภาษาท้องถิ่นให้เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหา Hate speech ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ จนสุ่มเสี่ยงต่อการพัฒนาความขัดแย้งไปสู่สงครามกลางเมือง• สองมาตรฐาน มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำหลายครั้งหลายหนว่า Facebook มีมาตรฐานชุมชนสำหรับคัดกรองเนื้อหาในเบื้องต้นอย่างไรก็ดี Facebook เป็นเพียง "แพลตฟอร์ม" ไม่ใช่ "ผู้ตัดสินข้อเท็จจริง" ด้วยเหตุนี้ Facebook จึงเปิดให้ทุกคนสามารถแชร์ความคิดเห็นที่หลากหลายได้ ตราบใดที่ไม่ผิดต่อ "มาตรฐานชุมชน"• Facebook Papersเอกสารภายในที่ถูกนำออกมาเปิดเผย ระบุว่า Facebook มี "มาตรฐานชุมชนพิเศษ" อีกชุดที่เรียกว่า XCheck สำหรับเหล่าเซเลบคนดังทั้งหลายในทุกวงการซึ่ง "แตกต่าง" จากมาตรฐานชุมชนที่ใช้กับ Users ธรรมดาๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการที่บริษัทอาจถูก "เอาคืน" โดยเหล่าคนดังทั้งหลาย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น ก็คือ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสมัยที่ยังมีอำนาจ • AlgorithmsFacebook ยืนยันว่า การปรับอัลกอริทึมของบริษัทในปี 2018 ที่อิงการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นไลค์ แชร์ หรือคอมเมนต์ เพื่อขับเคลื่อนฟีดหลักยอดนิยมบนหน้า Facebook นั้นสร้างประสบการณ์ที่ทรงคุณค่า และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างประสบการณ์ทางสังคมในเชิงบวกให้กับผู้ใช้งาน • Facebook Papersเอกสารภายในที่ถูกนำมาออกมาเปิดเผย ระบุว่า หนึ่งในทีมสตาฟฟ์ทีมวิเคราะห์เมื่อปี 2018 ระบุว่า "กลไกการทำงานบนแพลตฟอร์มของเราไม่เป็นกลาง"อีกทั้งยังมีการค้นพบข้อมูลหลังจากนั้นไม่นานด้วยว่า การปรับอัลกอริทึม ได้ส่งผลกระทบทำให้เกิดความเคียดแค้นชิงชังและแตกแยกบนโลกออนไลน์มากขึ้น นั่นเป็นเพราะ ยิ่งมีการกระตุ้นด้วยความเห็นในเชิงลบบนโพสต์ของ Facebook มากขึ้นเท่าใด โพสต์นั้นก็มีแนวโน้มว่าจะถูก "คลิก" ได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้นความเสี่ยงทางธุรกิจในอนาคต• Facebook น่าเบื่อเอกสารภายในของ Facebook ระบุความกังวลในหมู่ผู้บริหารที่ว่า แพลตฟอร์มกำลังถูกเหล่าคนหนุ่มสาว "หมางเมิน" มากขึ้นเรื่อยๆด้วยเหตุผลที่ว่า คอนเทนต์เริ่มน่าเบื่อ นำเสนอมุมมองในแง่ลบ และมักสร้างให้เกิดความเข้าใจผิด รวมถึงยังเป็นแหล่งรวมตัวกันของเหล่าคนอายุ 40-50 ปี อีกด้วย• การเมืองหลัง Facebook Papers ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชน วุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกันและเดโมแครต แสดงออกอย่างชัดเจนว่า พร้อมผนึกกำลังกันเพื่อหาทาง "ควบคุม" Facebook ผ่านการปฏิรูปมาตรา 230 ของพระราชบัญญัติความเหมาะสมในการสื่อสาร (Communications Decency Act) หรือ CDAซึ่งมีบทบัญญัติยกเว้นให้บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือ ISP จากความรับผิดในโพสต์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มของตัวเอง ซึ่งเป็นเกราะป้องกัน Facebook จากการถูกฟ้องร้องมาเนิ่นนาน• Appleนอกจากจะเป็นคู่แข่งสำคัญแล้ว เมษายนที่ผ่านมา Apple ได้มีการอัปเดต iOS 14.5 ซึ่งมีผลทำให้บรรดาแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่สามารถเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน ทั้ง อายุ สถานที่ พฤติกรรมการใช้จ่าย หรือข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เรื่องการหาโฆษณาได้อีกต่อไป หากไม่ได้รับอนุญาตทำให้บรรดานักวิเคราะห์ด้านการลงทุนมองว่าประเด็นนี้ น่าจะสร้างผลกระทบต่อเครื่องจักรทำเงินอย่าง Facebook ในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน• FacebookFacebook เลือกที่จะตอบโต้ Facebook Papers ด้วยการยืนกรานอย่างหนักแน่นว่า หลักฐานที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงนี้ นอกจากน่าจะได้มาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ฟรานเซส เฮาเกน อ้างว่าใช้วิธีถ่ายภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ภายในของบริษัทแล้ว ข้อมูลเหล่านั้นยังเป็นเพียงการหยิบจับข้อมูลบางส่วนมาใช้ เพื่อหวังที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดอีกด้วยแต่คำถามสำคัญ ข้ออ้างเช่นนี้ จะทำให้ Facebook รอดพ้นจากวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 17 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาได้หรือไม่? และนี่คือสิ่งที่น่าจับตาทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน