AAustralia : ออสเตรเลียนายกรัฐมนตรี สก็อต มอร์ริสันUKUnited Kingdom : สหราชอาณาจักรนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสันUSUnited States : สหรัฐอเมริกาประธานาธิบดี โจ ไบเดนEffectFrance : ฝรั่งเศสประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงStop!China : จีนประธานาธิบดี สี จิ้นผิงSubmarine GameAUKUSความร่วมมือกติกาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ เปิดหน้าอย่างชนิดไม่เก้อเขินว่า เป็นการจับมือกันทางการทหารเพื่อสกัดกั้นการแผ่อิทธิพลของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกBeforeก่อนเข้าร่วม AUKUS ออสเตรเลียทำข้อตกลงจัดซื้อกองเรือดำน้ำจู่โจมพลังงานดีเซล ชั้น Barracuda จำนวน 12 ลำ กับบริษัท Naval Group รัฐวิสาหกิจของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี 2559 โดยถือเป็นแผนการจัดหาอาวุธครั้งใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย เพื่อไม่ให้เสียสมดุลทางการทหารกับกองทัพเรือจีนที่เริ่มกล้าแข็งขึ้นเรื่อยๆAfterการเข้าร่วม AUKUS จะทำให้ออสเตรเลียได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการทหาร และเรือดำน้ำนิวเคลียร์จากสหรัฐฯ และจะทำให้ออสเตรเลีย กลายเป็นชาติที่ 7 ในโลกต่อจากสหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, จีน, อินเดีย และฝรั่งเศส ที่มีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง และเบื้องต้นจะมีอย่างน้อย 8 ลำStop!It’s a stab in the back"มันคือการแทงข้างหลัง ต่อความไว้วางใจที่เรามีให้กับมิตร" ฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยง (Jean-Yves Le Drian) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส แสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง หลัง AUKUS ทำให้ออสเตรเลียยกเลิกสัญญาซื้อเรือดำน้ำของฝรั่งเศสAustralia GameCollins Classกองเรือดำน้ำพลังงานดีเซลชั้นคอลลินส์ 6 ลำของออสเตรเลีย จะถึงกำหนดปลดประจำการในปี 2569 ในขณะที่ กำหนดการส่งมอบเรือดำน้ำลำแรกของฝรั่งเศส จะเกิดขึ้นในปี 2577 ช่องว่าง 8 ปีที่เกิดขึ้น ทำให้ แคนเบอร์รา มองว่าเสี่ยงเกินไปสำหรับภัยคุกคามจากกองเรือจีนCostกองเรือดำน้ำ 12 ลำของฝรั่งเศสในขั้นแรกๆ มีมูลค่ารวมประมาณ 31,000 ล้านยูโร ในท้ายที่สุดราคาขยับไปสูงถึง 56,000 ล้านยูโร และเมื่อบวกกับค่าบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งานอาจจะใช้ต้นทุนสูงถึง 90,000 ล้านยูโร หรือ มากกว่านั้น ซึ่งออสเตรเลียมองว่าแพงเกินไป สำหรับเรือดำน้ำพลังงานดีเซลPoliticalปี 2559 อดีตนายกรัฐมนตรี มัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ เคยยืนยันว่า เรือดำน้ำชั้น Barracuda จะถูกสร้างในออสเตรเลียถึง 90% ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจ้างงานถึง 2,800 ตำแหน่ง และได้ถูกชูเป็นแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งด้วย แต่หลังเขาพ้นจากตำแหน่ง Naval Group ได้ลดสัดส่วนที่ว่าลงเหลือ 60% โดยอ้างว่าออสเตรเลีย มีขีดความสามารถไม่เพียงพอMacronผู้นำฝรั่งเศสถูกบรรดาพันธมิตรตะวันตกและสหรัฐฯ มองว่า ยังคงรักษาจุดยืนที่ "คลุมเครือ" กับจีน ทั้งๆ ที่ควรร่วมกันต่อต้านอย่างเปิดเผย หนำซ้ำยังเคยสนับสนุนเยอรมนีเรื่องทำข้อตกลงด้านการลงทุนแบบครอบคลุมระหว่างอียูและจีนที่เพิ่งถูกยกเลิกไป ออสเตรเลียจึงต้องการพันธมิตรที่อยู่ตรงข้ามจีนชัดเจน อย่าง สหรัฐฯ และอังกฤษมากกว่าStop!กองทัพเรือจีนกำลังทั้งขยายตัวและเพิ่มศักยภาพอย่างน่าหวาดหวั่นขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้แสดงออกถึงความแน่วแน่อย่างชัดเจน ถึงการขยายอิทธิพลเข้ามายังภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ด้วยเหตุนี้ ออสเตรเลียจึงต้องเพิ่มศักยภาพทางทะเลให้สูงขึ้นสำหรับการรับมือและเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่ลาดตระเวนได้ทั้งลึก เงียบ และไกลกว่าคือคำตอบFrance GameResponseรัฐบาลฝรั่งเศสดำเนินการตอบโต้ AUKUS อย่างเกรี้ยวกราด ด้วยการเรียกเอกอัครราชทูตของตัวเองประจำสหรัฐฯ และออสเตรเลียกลับประเทศทันที พร้อมกับยืนยันว่า ไม่เคยระแคะระคายมาก่อนเลยด้วยว่าทั้ง 3 ประเทศมหามิตรของตัวเอง กำลังดำเนินการต่อต้านปักกิ่งด้วยวิธีการนี้Electionนักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ต้องแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงออกมาถึงขนาดนี้ เพราะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอีก 7 เดือนข้างหน้า บีบให้ต้องแสดงภาวะผู้นำที่เด็ดเดี่ยวออกมา นั่นเป็นเพราะฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ทั้งเศรษฐกิจและการเมือง อีกทั้งต้องไม่ลืมว่า มาครงเคยให้คำมั่นจะพาฝรั่งเศสกลับไปมีบทบาทสำคัญบนเวทีโลกให้ได้อีกครั้งด้วยNATOการไร้ซึ่งความโปร่งใสและขาดความน่าไว้วางใจที่มีให้กันมาอย่างยาวนาน ทำให้ผู้นำฝรั่งเศสตั้งคำถามที่ท้าทายถึงการทำ "ลับๆ ล่อๆ" ของสหรัฐฯ และอังกฤษในครั้งนี้ว่า จะส่งผลกระทบกระเทือนทำให้พันธมิตรนาโตอ่อนแอลงหรือไม่ และนี่คือ การฉวยโอกาสสร้างขั้วอำนาจใหม่แทนนาโตเพื่อเข้าไปมีบทบาทในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยไม่จำเป็นต้องมีฝรั่งเศสใช่หรือไม่Stop!การถูกบรรดาชาติพันธมิตรตะวันตกและสหรัฐฯ มองว่า "อ่อนโยน" ต่อจีนมากเกินไปของฝรั่งเศส จะทำให้นับจากนี้ต่อไป ท่าทีที่เคยมีต่อ "ปักกิ่ง" จะเปลี่ยนไปหรือไม่ และฝรั่งเศสจะหาทางแก้ปัญหา รักสองสามเส้านี้อย่างไรทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่น่าจับในสงครามเย็นครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่กำลังเพิ่งเริ่มต้น.ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงานภาพปกและกราฟิก : Pradit Phulsarikij