คอนกรีต-เหล็กเส้น จุดเปราะบางตึกสูง “วิศวกรรมสถาน” ชี้ที่ผ่านมา แม้เหล็กจากจีนเข้ามาตีตลาดไทย แต่ก่อนสร้างตึก ต้องนำเหล็กตัวอย่างไปทดสอบคุณภาพทุกครั้ง แต่ปัญหากลับอยู่ที่คน หวังลดต้นทุนนำของไม่มีคุณภาพมาปน ส่งผลกระทบระยะยาว

โลกโซเชียลแชร์ข้อมูลเรื่องวิกฤติก่อสร้างจีนที่อาจลามมาถึงไทย โดยเฉพาะการใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น คอนกรีตและเหล็กเส้น จนที่จีนมีการเรียกว่า "ตึกเต้าหู้" หรือ "ตึกกากเต้าหู้" ซึ่งเป็นการเปรียบอาคารคุณภาพต่ำเสมือนกากเต้าหู้ที่แตกสลายง่าย และอาจส่งผลลามมาที่ไทย เนื่องจากที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเหล็กเส้นในการก่อสร้างของไทยถูกทุนจีนตีตลาด จนหลายบริษัทของไทยต้องปิดตัว

คอนกรีต-เหล็กเส้น ลดต้นทุนของคุณภาพต่ำ จุดเปราะตึกสูง วิกฤติก่อสร้าง

รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มองว่า กรณีของการถล่มของตึก 30 ชั้นในพื้นที่จตุจักร กรุงเทพฯ ยังต้องมีการหาสาเหตุของการถล่มอย่างละเอียดอีกครั้ง แต่โดยทั่วไป วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุทำให้ตึกสูงเสียหายอย่างรุนแรงได้ วัสดุที่สำคัญในการก่อสร้างคือ โครงสร้างคอนกรีตกับเหล็กเส้นในตัวโครงสร้างอาคาร

...

กรณีที่เกิดเหตุ อาจสุ่มตัวอย่างคอนกรีตและเหล็กเส้นไปดูชิ้นหนึ่ง ส่วนไหนก็ได้ ลองมาทดสอบดูว่าเหล็กที่ใช้อยู่ได้มาตรฐานในการก่อสร้างหรือไม่ เบื้องต้นยังไม่สามารถกล่าวหาผู้ประกอบการได้ แต่ต้องมีการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุชัดเจนอีกครั้ง

คอนกรีต-เหล็กเส้น ลดต้นทุนของคุณภาพต่ำ จุดเปราะตึกสูง วิกฤติก่อสร้าง

แม้สังคมมีการตั้งคำถามถึงวัสดุในการก่อสร้างจากจีนที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น เหล็กเส้นที่เข้ามาตีตลาดในอุตสาหกรรมไทย “รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์” มองว่า เหล็กที่มีคุณภาพตามมาตรฐานก็ยังมีอยู่ ปกติทุกครั้งที่เราจะใช้วัสดุในการก่อสร้างตึกสูง ต้องมีการทดสอบ โดยเฉพาะงานใหญ่ๆ

คอนกรีต-เหล็กเส้น ลดต้นทุนของคุณภาพต่ำ จุดเปราะตึกสูง วิกฤติก่อสร้าง

สมมุติว่า ไม่ว่าเราเอาเหล็กมาจากที่ไหนในโลกก็ตาม ก่อนนำมาใช้สร้างตึก ต้องมีวิศวกรที่ควบคุมงาน นำตัวอย่างเหล็กนั้นไปทดสอบก่อน ถ้าทดสอบแล้วมันผ่านก็จะอนุมัติให้สร้างได้ แต่ที่ผ่านมามีการแอบลักลอบนำวัสดุที่ไม่มีคุณภาพมาปนกันในระหว่างก่อสร้าง ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น เพราะตามหลักวิชาชีพการก่อสร้าง มีมาตรฐานในการป้องกันวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพกำหนดอยู่ชัดเจน แต่ปัญหาที่มักเกิดขึ้นจากตัวบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมงาน เพราะมาตรฐานการก่อสร้างไทย ทั้งเรื่องการออกแบบ ก็เป็นไปตามมาตรฐานโลก

คอนกรีต-เหล็กเส้น ลดต้นทุนของคุณภาพต่ำ จุดเปราะตึกสูง วิกฤติก่อสร้าง

แม้มีการอ้างว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดการถล่มมาจากการที่ยังไม่ใส่ผนังที่เป็นตัวรองรับแรงการสั่นไหว แต่ทุกอย่างต้องผ่านการตรวจสอบ เพราะอย่าลืมว่า ตึกอื่นๆ ในกรุงเทพฯ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ไม่ได้พังถล่มเหมือนกับตึก 30 เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปต้นเหตุของการถล่มได้

แต่สิ่งที่อยากเตือนผู้ประกอบวิชาชีพคือ การใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะคอนกรีตกับเหล็กเส้น ที่เป็นสิ่งสำคัญในการก่อสร้าง และอาจเป็นต้นตอสำคัญทำให้เกิดเหตุที่เราไม่คาดคิดได้

...