จากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.7 ที่ประเทศพม่าเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากการเคลื่อนตัวของ “รอยเลื่อนสะกาย” ที่ทอดยาว 1,200 กม.จากเหนือจรดใต้พม่า การตื่นของยักษ์หลับนี้สร้างความเสียหายครั้งใหญ่ ส่งแรงสะเทือนมาถึงหลายพื้นที่ในประเทศไทย

ไทยรัฐออนไลน์ ขอพาทุกคนไปรู้จักว่า “รอยเลื่อน” มีกี่แบบ และเราวัดขนาดของแผ่นดินไหวกันอย่างไร?

ประเภทของ "รอยเลื่อน"

รอยเลื่อน คือ รอยแตกหรือรอยแยกในชั้นหินเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนที่สัมพัทธ์เกิดขึ้น โดยแบ่งประเภทรอยเลื่อนตามทิศทางการเคลื่อนไหว ได้ดังนี้

1. รอยเลื่อนตามแนวมุมเท (Dip-slip fault) คือเคลื่อนที่ในแนวขึ้น-ลงซึ่งแบ่งเป็น

  • รอยเลื่อนปกติ (Normal fault) เกิดจากการที่เปลือกโลกถูกดึงออกจากกัน ทำให้พนังด้านบนเลื่อนลงและผนังด้านล่างเลื่อนขึ้น 
  • รอยเลื่อนย้อน (Reverse fault) เกิดจากที่เปลือกโลกถูกการอัดเข้าหากัน พนังด้านบนเลื่อนขึ้นและผนังด้านล่างเลื่อนลงและมีความหนามากขึ้น ในกรณีของรอยเลื่อนย้อนที่ระนาบการเลื่อนตัวเอียงเทเป็นมุมน้อยกว่า 45 องศา เรียกว่า รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault) 
“รอยเลื่อน” มีกี่แบบ ทำไม “รอยเลื่อนสะกาย” จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง?

...

2. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (Strike-slip fault) คือเคลื่อนที่ในแนวราบ แบ่งเป็น

  • รอยเลื่อนตามแนวระดับด้านขวา (Right-lateral strike-slip fault) คือ เมื่อมองไปยังรอยเลื่อน พื้นที่ฝั่งขวาของรอยเลื่อน เลื่อนเข้าหาผู้สังเกต ซึ่ง “รอยเลื่อนสะกาย” อยู่ในประเภทนี้
  • รอยเลื่อนตามแนวระดับด้านซ้าย (Left-lateral strike-slip fault) คือ เมื่อมองจากไปยังรอยเลื่อน พื้นที่ฝั่งซ้ายของรอยเลื่อน เลื่อนเข้าหาผู้สังเกต 
“รอยเลื่อน” มีกี่แบบ ทำไม “รอยเลื่อนสะกาย” จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง?

3.รอยเลื่อนตามแนวเฉียง (Oblique-slip fault) คือมีการเคลื่อนผสมกันทั้งขึ้นลงและแนวราบ 

“รอยเลื่อน” มีกี่แบบ ทำไม “รอยเลื่อนสะกาย” จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง?

การวัดขนาด "แผ่นดินไหว" 

การเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน เป็นสาเหตุหลักของการเกิด แผ่นดินไหว เพราะจะปล่อยพลังงานสะสมออกมาในรูปของคลื่นไหวสะเทือน การวัดแผ่นดินไหวจะแบ่งออกเป็น การวัดขนาด (magnitude) ซึ่งบ่งบอกถึงพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา และการวัดความรุนแรง (intensity) ซึ่งบอกผลกระทบของแผ่นดินไหว

ส่วนคำว่า “ริกเตอร์” ที่เราคุ้นเคยกัน เป็นหนึ่งในมาตรวัดขนาดของแผ่นดินไหว แต่มีข้อจำกัดเรื่องความแม่นยำ ผู้เชี่ยวชาญจึงนิยมใช้ “มาตราโมเมนต์” (Moment Magnitude scale; Mw) มากกว่า โดยคำนวณจากความแข็งเกร็งของหิน คูณด้วยพื้นที่รอยเลื่อน และคูณด้วยระยะการเลื่อน โดยการเพิ่มขึ้น 1 ระดับในมาตราโมเมนต์ จะเท่ากับการปล่อยพลังงานที่มากขึ้น 32 เท่า 

“รอยเลื่อน” มีกี่แบบ ทำไม “รอยเลื่อนสะกาย” จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง?

ขนาดของแผ่นดินไหว ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ถ้าหินมีความแข็งแกร่งสูงก็สะสมพลังงานได้มากกว่า หรือพื้นที่รอยเลื่อนที่ใหญ่และมีความยาวก็จะปลดปล่อยพลังได้มาก และมีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่าเช่นกัน

...

รวมถึงระยะการเลื่อน เลื่อนมากเท่าไหร่ก็ปล่อยพลังงานมากเท่านั้น และถ้ามีอัตราการเลื่อนต่อปีสูงก็จะสะสมพลังงานไว้สูงด้วย

สำหรับ “รอยเลื่อนสะกาย” จะพบว่า มีความยาว 1,200 กม. และมีอัตราการเลื่อนเฉลี่ย 2 ซม.ต่อปีทำให้สะสมพลังงานอย่างต่อเนื่องและปลดปล่อยออกมาในรูปแบบแผ่นดินไหวเป็นระยะ และมีศักยภาพในการก่อแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ อย่างที่เคยเกิดมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2455 ที่มีขนาดถึง 8.0 ด้วยปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ทำให้แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงมากนั่นเอง

ขอบคุณ :  nsmmitrearthaljazeeramitrearthtmd