ทบทวนปัญหา ข้อพิพาทไทย-กัมพูชา ปมพื้นที่พิพาททางบก และทางทะเล กับแนวทางการแก้ปัญหา ตั้งแต่ต้นจนถึงอนาคต...จากเอกสารวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์สถาบันป้องกันประเทศ กองทัพไทย โดย พ.อ.ศักดิ์สิทธิ์ แสงชนินทร์ และ จ.ส.อ.หญิง ฐิติรัตน์ ศรพรหม ได้เคยสรุปแนวทางการแก้ปัญหาพื้นที่พิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาไว้ ตั้งแต่ปี 2551 โดยสรุปว่า ไทย กับ กัมพูชา มีพรมแดนติดต่อกันยาวประมาณ 794 กม. ตลอดแนวเขตแดนของทั้งสองประเทศ มีอาณาบริเวณทาบเกี่ยวกันเป็นพื้นที่พิพาททางบกและทางทะเล ดังนี้ พื้นที่ทางบก : ประสาทพระวิหาร อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ, ช่องตาพระยา/บึงตะกวน พื้นที่ตาง็อก อ.คลองหาด จ.สระแก้ว และ พื้นที่เขาตะบานกะบาน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี พื้นที่ทางทะเล : เกาะกูดตอนล่าง และพื้นที่บริเวณอ่าวไทยสาเหตุการโต้แย้งและอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน - การอ้างอิงแผนที่คนละฉบับ - การปักปันเขตแดน ไทยยึดถือต้นไม้เป็นจุดอ้างอิง แต่ในปัจจุบันไม่สามารถตรวจพบตําแหน่งของต้นไม้ดังกล่าว ทําให้แนวเขตแดนคลาดเคลื่อน ไม่ได้รับการยอมรับ- หลักเขตแดนเดิมชํารุดสูญหาย ถูกเคลื่อนย้าย ไม่สามารถหาจุดปักปันเดิมได้- การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิศาสตร์ ทั้งจากธรรมชาติและการกระทําของมนุษย์- สนธิสัญญาที่มีความไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะรายละเอียดในสนธิสัญญาว่าอย่างหนึ่ง แต่แผนที่ประกอบสนธิสัญญาเป็นอีกอย่าง เช่น กรณีเขาพระวิหารกลไกการแก้ปัญหา พื้นที่ทางบก : - สนธิสัญญา ฟรังโก-สยาม ค.ศ. 1907 - บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา เมื่อ 14 มิ.ย.43 พื้นที่ทางทะเล : - ไทยและกัมพูชามีการเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเล รวม 2 ครั้ง โดยแสดงท่าทีทางกฎหมายและแนวคิดในการกําหนดเส้นเขตแดนทางทะเล ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน- การพัฒนาร่วมในพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อน โดยมีการดําเนินงานด้านเทคนิค และร่วมกันพิจารณาแต่งตั้ง “คณะกรรมการเทคนิคไทย-กัมพูชา” ซึ่งจัดให้มีการประชุมครั้งแรก เมื่อ 6-7 ธ.ค.54 เพื่อกําหนดเขตทางทะเลตั้งแต่หลักเขต ที่ 73 บริเวณบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา- การเดินทางเยือนกัมพูชาของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 10 ส.ค.49 เพื่อเจรจาแสวงประโยชน์ร่วมกันในการสํารวจและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ํามันในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งไทยเคยเสนอแบ่งพื้นที่ฯ เป็น 3 เขต โดยพื้นที่ตรงกลางใช้สัดส่วน 50 : 50 กัมพูชายอมรับข้อเสนอ ส่วนเขตด้านซ้ายและด้านขวานั้นกัมพูชาเสนอ 90 : 10 ขณะที่ไทย เสนอ 60 : 40 จึงยังไม่สามารถหาข้อยุติได้จนถึงปัจจุบันวิเคราะห์ จุดวิกฤติกับปัญหาพื้นที่พิพาท - ด้านการเมือง : เป็นปัญหาที่อ่อนไหว ตลอดจนง่ายต่อการบิดเบือนนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด และอาจนำไปสู่วิกฤติทางการเมืองของทั้งสองประเทศโดยง่าย - ด้านเศรษฐกิจ : พื้นที่พิพาทมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีมูลค่ามหาศาล ทำให้ชาติมหาอำนาจพยายามเข้ามามีบทบาทร่วมอย่างมี “นัยสำคัญ” - ด้านสังคม : เป็นเรื่องละเอียดอ่อนกระทบในแง่สังคมจิตวิทยา การต่อต้านจากชาวกัมพูชาที่มีความเป็นชาตินิยม และเคยอาศัยบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมาก่อน และอาจนำไปสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน หากขาดความชัดเจนในข้อตกลงในมิติต่างๆ วิเคราะห์แนวทางที่ประสบความสำเร็จ - พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย เนื้อที่ 7,250 ตร.กม. ไทย-มาเลเซีย ตกลงแสวงประโยชน์ร่วมกัน 50:50 โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจพื้นที่ ก่อตั้งองค์กรร่วมกันเพื่อบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA) เมื่อ 21 ก.พ.22 - กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ระหว่างไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ จีน(ยูนนาน) เมื่อปี 2535 สนับสนุนการจ้างงาน ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ - พื้นที่ทับซ้อน ไทย-เวียดนาม เนื้อที่ 6,075 ตร.กม. ทั้งสองฝ่ายลงนามในความตกลงว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเลระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 9 ส.ค.40 ซึ่งไทยได้เนื้อที่ 67.75% เวียดนามได้เนื้อที่ 32.25% โดยใช้หลักการแก้ปัญหาความเป็นธรรมและเสมอภาค - ความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มน้ำอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ระหว่างไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เมื่อปี 46 โดยเน้นความร่วมมือที่ปฏิบัติได้เกิดผล เป็นรูปธรรม ยึดหลักฉันทามติและแบ่งผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม ข้อเสนอแนะ- ใช้หลักการแก้ปัญหาที่เป็นธรรมและเสมอภาคในการเจรจาร่วม ประกอบสภาพการณ์ทางภูมิศาสตร์และใช้ทฤษฎีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของสองประเทศ - ใช้มาตรการทางการทูตในการเจรจาแบ่งเขตพิพาทบนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมุ่งทําความตกลงแบ่งเขตทะเลเพื่อทําสัญญาแบ่งเขตพิพาท ซึ่งจะทําให้ไทยได้รับประโยชน์มากกว่าการทําพื้นที่พัฒนาร่วม หากการเจรจาดังกล่าวไม่สามารถบรรลุผลได้ ควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรร่วมบริหาร โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ข้อเท็จจริงและเร่งส่งเสริมโครงการพัฒนาความร่วมมือในพื้นที่พิพาททางทะเล เพื่อนําน้ํามันและก๊าซธรรมชาติมาใช้ร่วมกัน- ออกกฎหมายเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจจําเพาะ โดยใช้เทคนิคการแบ่งเขตเศรษฐกิจจําเพาะฯ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 74 แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1942 คือ 1) ทําความตกลง 2) ใช้หลักระยะห่างเท่ากัน 3) พฤติการณ์พิเศษ (การตกลงในรายละเอียดระหว่างรัฐที่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว ว่าจะหาหลักเกณฑ์ใดมาเป็นตัวกําหนด ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ)- ระหว่างการเจรจาทั้งสองประเทศ รัฐควรเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้ทราบถึงข้อเท็จจริง และความคืบหน้าของการดำเนินการในทุกขั้นตอน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำไปประเด็นทางการเมือง หรือสร้างผลประโยชน์ส่วนบุคคล ตลอดจนการปลุกกระแสชาตินิยมอย่างไม่ถูกต้อง จนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา ทั้งด้านการศึกษา การเมือง วัฒนธรรม การอบรมวิชาชีพ และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม - รัฐบาลควรมอบหมายให้สำนักงาสภามั่นคงแห่งชาติ เป็นแกนหลักในการดำเนินการประสานกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร กรมกิจการชายแดนทหาร กรมทรัพยากรธรณี และกรมประมง เพื่อดำเนินการอย่างมีเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง.....