เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ เผยแพร่บทความ 6 เรื่องใหญ่ สะท้อนสภาพสังคมไทย 4 โรคน่าห่วง เจ็บป่วยเพิ่ม 275% โดยนำข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่รวบรวมปัญหา 6 ประเด็นใหญ่ที่สะท้อน “สภาพสังคมไทย”

โดยในบทความก่อนหน้านี้ ทีมข่าวฯ ได้เน้นเรื่อง “ความเจ็บป่วย” จะขอขยายประเด็นในเรื่อง “ตลาดแรงงาน” และ “หนี้สินครัวเรือน” มาให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้สภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในปีที่แล้ว ว่าต้องเจอกับอะไรในภาวะ “โรคระบาด”

แรงงานไทย ปรับตัวดีขึ้น...

สถานการณ์แรงงานไตรมาสสาม ปี 2565 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้มีงานทำสาขานอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนสาขาเกษตรกรรมบางส่วนได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ชั่วโมงการทำงานฟื้นตัวได้ดีเทียบเท่าก่อนการแพร่ระบาด ของ COVID-19 การทำงานล่วงเวลาเพิ่มสูงขึ้นมาก ผู้ว่างงาน ผู้ทำงานต่ำระดับ ผู้ว่างงานแฝง ผู้เสมือนว่างงาน และผู้ว่างงานระยะยาวลดลง

...

ในรายงาน “ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2565” ระบุว่า การจ้างงานปรับตัวได้ดีโดยขยายตัวได้ร้อยละ 2.1 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะในสาขาค้าส่ง/ค้าปลีก และโรงแรมและภัตตาคาร ที่การจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และ 8.3 ตามลำดับ

จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยช่วงไตรมาสสาม ปี 2565 สูงถึง 3.6 ล้านคน เพิ่มข้ึนสูงมากจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนท่ีมีเพียง 4.5 หมื่นคน ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวมีความต้องการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น

ผลสำรวจของสมาคมโรงแรมไทยเดือนกันยายน 2565 พบว่า แม้ภาคการท่องเที่ยวจะมีการจ้างงานเพิ่มข้ึน แต่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานถึงร้อยละ 77

ขณะที่ สาขาการผลิต มีการจ้างเพิ่มข้ึนร้อยละ 1.4 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสสามปี 2565 เท่ากับ 62.55 เพิ่มสูงขึ้น จาก 58.51 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

รวมทั้ง “การส่งออก” ที่ขยายตัว ได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.7 ขณะที่ภาคเกษตรกรรม การจ้างงานลดลงร้อยละ 2.4 ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยต้ังแต่เดือนกรกฎาคม 2565 ครอบคลุมพื้นที่ 59 จังหวัด โดยผลกระทบดังกล่าว เกี่ยวข้องกับแรงงานภาคเกษตร สูงถึง 8.3 ล้านคน โดยในกลุ่มนี้เป็นเกษตรกรที่เป็นคนจนถึง 8.9 แสนคน ส่งผลให้ราคาเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชน

ในส่วน “ชั่วโมงทำงาน” แรงงานทั้งหมดและภาคเอกชนเฉลี่ยอยู่ที่ 42.5 และ 46.7 ชั่วโมง/สัปดาห์ ตามลำดับ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5.5 และ 6.3

โดยมี “ผู้ทำงานต่ำระดับ” ลดลงจาก 8 แสนคน ในไตรมาสสาม ปี 2564 เหลือเพียง 6.8 หมื่นคน ในปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับผู้ว่างงานแฝง (ผู้ที่ทำงานต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์และต้องการทำงานเพิ่ม และกำลังแรงงานรอฤดูกาล) ที่มีจำนวน 6.9 หมื่นคน ลดลงจาก ปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 80.5 รวมถึงการทำงานล่วงเวลาท่ีเพิ่มสูงขึ้นโดยมีจำนวน 6.8 ล้านคน ใกล้เคียงกับช่วงก่อน การแพร่ระบาดฯ ในปี 2562 ที่มีจำนวน 7 ล้านคน และ “ผู้เสมือนว่างงาน” มีจำนวน 1.9 ล้านคน ลดลงมากถึง ร้อยละ 42.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

...

ค่าจ้างแรงงาน

ภาคเอกชนและภาพรวม โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13,751 และ 15,213 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มสูงข้ึนร้อยละ 5.3 และ 3.8 ตามลำดับ และขยายตัว ได้ต่อเนื่อง แต่กระนั้นผลของเงินเฟ้อทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัวลง

โดยค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานภาคเอกชน หดตัว ร้อยละ 1.7 และค่า จ้างแท้จริง ในภาพรวมหดตัวถึงร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่า แม้ค่าจ้างจะสูงขึ้นแต่ไม่ทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายของแรงงานเพิ่มขึ้น ทั้งน้ีเงินเฟ้อที่สูงจะกระทบต่อแรงงานนอกระบบมากกว่าแรงงานในระบบ เนื่องจากแรงงานในระบบจะได้ประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ในเดือนตุลาคม 2565 ขณะท่ี กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและกลุ่มแรงงานท่ีไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม หรือกลุ่มแรงงานนอกระบบท่ีมีจำนวนสูงถึง 20 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 50.5 ของแรงงานทั้งหมด จะเป็นกลุ่มที่รับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มข้ึน ซึ่งเมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของแรงงานกลุ่มดังกล่าว พบว่า กว่าครึ่งมีการศึกษา ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า และอีกร้อยละ 32.6 จบระดับมัธยมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย

...

การว่างงาน...

ขณะที่ จำนวนคนว่างงานในไตรมาสสาม ปี 2565 มีจำนวน 4.9 แสนคน คิดเป็นอัตรา การว่างงานร้อยละ 1.23 ลดลงทั้งจำนวนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนและไม่เคยทำงานมาก่อน สำหรับการว่างงานตามระดับการศึกษาลดลงทุกระดับ เช่นเดียวกับการว่างงานระยะยาว ที่ลดลงเหลือเพียง 1 แสนคน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1.8 แสนคน และลดลงจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวน 1.5 แสนคน ขณะที่ สถานการณ์การว่างงานในระบบปรับตัวลดลง โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในไตรมาสสาม ปี 2565 มีจำนวน 2.3 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตนภาคบังคับอยู่ที่ร้อยละ 1.99 ลดลงจากร้อยละ 2.47 ในช่วงไตรมาสสาม ปี 2564 


ทั้งนี้ ในรายงานดังกล่าว ยังระบุถึงประเด็นด้านแรงงานที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่

1. การมีแนวทางบรรเทาภาระค่าครองชีพของแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ
2. เร่งช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ยากจน
3. สนับสนุนให้ผู้ว่างงานเข้าสู่ระบบ อบรมและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว

...

หนี้สินครัวเรือน

เมื่อดูตัวเลขของแรงงานและการว่างงานไปแล้ว อีกประเด็นที่สอดคล้องกันก็คือ “หนี้สินครัวเรือน”

ไตรมาสสอง ปี 2565 หนี้สินครัวเรือนขยายตัวชะลอลง เช่นเดียวกับสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ด้านคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ต้องเฝ้าระวังสินเชื่อยานยนต์ รวมถึงต้องติดตามผลกระทบจากปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาอุทกภัย และลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ปัจจุบันยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ในภาพรวมหนี้สินครัวเรือนชะลอตัวเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้น “สินเชื่อบัตรเครดิต” และ “สินเชื่อส่วนบุคคล” ภายใต้กำกับที่ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในไตรมาสสอง ปี 2565 สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 8.8 จากร้อยละ 2.5 ของไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับสินเช่ือส่วนบุคคลภายใต้กำกับขยายตัวร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับร้อยละ 22.7 ของไตรมาสที่ผ่านมา

ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อยานยนต์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ ส่วนสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจขยายตัวลดลง 3.8

คุณภาพสินเชื่อในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากมาตรการส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารคุณภาพสินเชื่ออย่างต่อเนื่องของสถาบันการเงิน โดย ณ ไตรมาสสาม ปี 2565 ยอดคงค้างหน้ีที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของสินเช่ือเพื่อการอุปโภคบริโภคมีมูลค่า 1.41 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเช่ือรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.62 ลดลงจากร้อยละ 2.69 ในไตรมาสสอง ปี 2565

อย่างไรก็ตาม “จำเป็นต้องเฝ้าระวัง” คุณภาพสินเชื่อยานยนต์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมี สัดส่วนสินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือนต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 13.6 ในไตรมาสสาม ปี 2565

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มลูกหนี้ท่ีเป็นหนี้เสียจากข้อมูลเครดิตบูโรในไตรมาสสอง ปี 2565 ยังพบว่า กลุ่มลูกหนี้ที่มูลค่า NPLs ขยายตัวในระดับสูง คือ ลูกหนี้ที่มีอายุต้ังแต่ 41 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น ลูกหนี้อายุ 41-50 ปี มีหนี้เสีย 3.37 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.1 ลูกหนี้อายุ 51-59 ปี มีหนี้เสีย 2.36 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 32.9 และกลุ่มลูกหนี้สูงอายุ มีหนี้เสีย 1.54 แสนล้านบาท ขยายตัวถึงร้อยละ 67.6 ซึ่งการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับ กลุ่มดังกล่าวจะมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นกลุ่มท่ีมีแนวโน้มในการหารายได้ลดลง

อีกทั้งลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียที่เกิดจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังมีจำนวนเพิ่มข้ึน โดยในไตรมาสสอง ปี 2565 มีจำนวนบัญชีที่เป็นหนี้เสีย 4.3 ล้านบัญชี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.4 ของบัญชีลูกหนี้ NPLs ท้ังหมดในฐานข้อมูลหนี้ครัวเรือนของเครดิตบูโร และคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4.0 แสนล้านบาท โดยจำนวนบัญชีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 59.1 จากไตรมาสก่อน และมูลค่า NPL ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.5 สะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ผลกระทบที่เกิดกับลูกหนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมายังคงมีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ในระยะถัดไป มีปัจจัยท่ีจะส่งผลกระทบต่อหนี้ครัวเรือน ได้แก่

1. ภาระค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าค่าใช้จ่าย ซึ่งมีจำนวนกว่า 4.7 ล้านครัวเรือนในปี 2564 (ร้อยละ 18.2)
2. ครัวเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย มีแนวโน้มก่อหนี้เพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนเพิ่มข้ึน โดยปัจจุบันมีพื้นท่ีประสบปัญหาอุทกภัย ในวงกว้างรวม 59 จังหวัด มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 4.3 แสนครัวเรือน

ส่วนประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ

1. เร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อยานยนต์ กลุ่มลูกหน้ีที่มีปัญหาหนี้เสียเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 โดยเฉพาะกลุ่มลูกหน้ีสูงอายุท่ีมีแนวโน้มหน้ีเสียเพิ่มสูงขึ้น
2. การมีมาตรการสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
3. มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อชดเชยระดับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน

กราฟฟิก sathit chuephanngam

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง