Molnupiravirโมลนูพิราเวียร์ ยาต้านโควิด-19 แบบเม็ดชนิดแรกที่เปิดตัวต่อชาวโลก ผลิตโดยบริษัทเมอร์คแอนด์โค อิงค์ (Merck&Co Inc.) ผู้ผลิตเวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ชื่อดังระดับโลกPaxlovidแพกซ์โลวิด ยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดของบริษัทไฟเซอร์ อิงค์ (Pfizer Inc.) หนึ่งในผู้นำตลาดวัคซีนต้านโควิด-19 ณ ปัจจุบันMerck&Co Inc.รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ของปี 2021 รายได้ของบริษัทสูงถึง 13,154 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเปรียบเทียบแบบปีต่อปี โดยมีปัจจัยบวกมาจากรายได้ที่เกี่ยวข้องกับ การรักษาโรคมะเร็ง, วัคซีนกลุ่มโรคต่างๆ และ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มการรักษาสัตว์Pfizer Inc.รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ของปี 2021 รายได้ของบริษัทสูงถึง 24,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 130% เมื่อเปรียบเทียบแบบปีต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นรายได้จากการขายวัคซีนต้านโควิด-19 เพียงอย่างเดียวถึง 14,583 ล้านดอลลาร์สหรัฐประสิทธิภาพยาเม็ดต้านโควิด-19ประสิทธิภาพโมลนูพิราเวียร์1 ต.ค. บริษัท เมอร์ค เปิดเผยว่า จากผลการทดลองแบบสุ่ม ระยะที่ 3 (MOVe-OUT Trial) ในกลุ่มผู้ป่วยอาการเล็กน้อย-ปานกลาง อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีโรคร่วม ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีน จำนวน 775 คน (ครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก) พบว่า สามารถลดความเสี่ยงการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือการเสียชีวิตได้ประมาณ 50% ในกรณีได้รับยาภายใน 5 วัน หลังมีอาการ โดยมีเพียง 7.3% ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังได้รับยา และไม่มีผู้เสียชีวิตประสิทธิภาพแพกซ์โลวิด6 พ.ย. บริษัทไฟเซอร์ ออกแถลงการณ์ว่า จากการทดลอง EPIC-HR (การประเมินการยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส ซึ่งจะทำให้ไวรัสขยายตัวในเซลล์มนุษย์ไม่ได้ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง) ระยะที่ 2 ในกลุ่มอาสาสมัครมากกว่า 1,200 คน (ครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก) โดยทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีอาการป่วยและมีโรคร่วม พบว่า สามารถลดความเสี่ยงในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือการเสียชีวิตได้ประมาณ 89% ในกรณีให้ยากับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงภายใน 3 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ และประมาณ 85% เมื่อให้ยาภายใน 5 วัน และไม่มีผู้เสียชีวิตการกินยาโมลนูพิราเวียร์ขนาดเม็ดละ 200 มิลลิกรัม ให้ครั้งละ 4 เม็ด 800 มิลลิกรัม 2 ครั้ง (เช้าและค่ำ) รวมวันละ 1,600 มิลลิกรัม ภายในระยะเวลา 5 วัน ทำให้รวมแล้วต้องกินทั้งหมด 40 เม็ดต่อคนต่อครั้งในการรักษาการกินยาแพกซ์โลวิดยาเม็ดแพกซ์โลวิด ต้องใช้คู่กับ ยาริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสรุ่นเก่า เพื่อร่วมกันกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์โปรติเอส โดยจะต้องกินแพกซ์โลวิด 2 เม็ด ร่วมกับ ยาริโทนาเวียร์ 1 เม็ดต่อมื้อ วันละ 2 ครั้ง (เช้าและค่ำ) เป็นเวลา 5 วัน ทำให้ต่อคนจะต้องกินยาแพกซ์โลวิด 20 เม็ด และยาริโทนาเวียร์อีก 10 เม็ด รวมกันเป็น 30 เม็ดต่อคนต่อครั้งในการรักษาการทำงานของโมลนูพิราเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ถูกออกแบบมาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดในการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส จนทำให้ไม่สามารถขยายตัวในเซลล์มนุษย์ได้อีกต่อไป การทำงานของแพกซ์โลวิด แพกซ์โลวิด อยู่ในกลุ่ม Protease Inhibitors หรือการยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส ซึ่งจะทำให้ไวรัสขยายตัวในเซลล์มนุษย์ไม่ได้ผลข้างเคียงโมลนูพิราเวียร์รายงานของบริษัทเมอร์ค ระบุว่า เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าร่วมการทดสอบประมาณ 12% หลังได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ เปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับยาหลอก 11%ผลข้างเคียงแพกซ์โลวิดยังไม่ได้มีการเปิดเผยในรายละเอียดที่ชัดเจนมากนักในเรื่องนี้ แต่บริษัทไฟเซอร์ระบุในผลการทดลองว่า ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการทดสอบ 20% พบอาการไม่พึงประสงค์ แต่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ดีพบว่า 1.7% ของผู้เข้าร่วมผลการทดสอบเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เปรียบเทียบผู้ที่ได้ยาหลอก 6.6% เป้าหมายการใช้โมลนูพิราเวียร์สหราชอาณาจักร ประกาศว่า จะนำ “ยาโมลนูพิราเวียร์” ไปใช้กับกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงจากโรคร่วม ที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเป้าหมายการใช้แพกซ์โลวิดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากรัฐบาลของประเทศใดๆ (สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ย.) แต่นักวิเคราะห์เชื่อมั่นว่า จากรายงานผลการทดลองที่มีการประกาศออกมา คาดว่า แพกซ์โลวิด จะถูกนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเดียวกันกับ “ยาโมลนูพิราเวียร์”การแข่งขันเพื่อทำตลาดยาเม็ดต้านโควิด-19การรับรองโมลนูพิราเวียร์5 พ.ย. สหราชอาณาจักร กลายเป็นประเทศแรกในโลก ที่อนุมัติให้มีการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ในกรณีฉุกเฉิน ส่วนองค์กรยายุโรป หรือ EMA นั้น บริษัทเมอร์ค ได้ยื่นผลการทดลองเพื่อประกอบการพิจารณาไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ต.ค.แต่ที่สำคัญคือ ในวันที่ 30 พ.ย. ที่จะถึงนี้ คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA มีนัดประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะมีการอนุมัติให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งหากได้รับการอนุมัติ จะถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของบริษัทเมอร์คเหนือบริษัทไฟเซอร์ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆ ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ที่ให้ความสนใจและเริ่มติดต่อเพื่อทำการสั่งซื้อแล้วถึงแม้ว่าผลการทดลองจะยังไม่มีการถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชั้นนำใดๆ (สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ย.) รวมถึง ก่อนหน้ายังต้องยุติการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง หลังยาโมลนูพิราเวียร์ให้ผลลัพธ์ที่น่าผิดหวังก็ตามการรับรองแพกซ์โลวิดเพียงวันเดียวหลังสหราชอาณาจักรอนุมัติใช้ ยาโมลนูพิราเวียร์ ในกรณีฉุกเฉิน บริษัทไฟเซอร์ รีบร้อนประกาศความก้าวหน้าเรื่องประสิทธิภาพของ “ยาแพกซ์โลวิด” ซึ่งตามหน้ากระดาษมีประสิทธิภาพเหนือกว่า “ยาโมลนูพิราเวียร์” ทันที พร้อมกับยืนยันจะเร่งดำเนินการส่งผลการทดลองไปให้ FDA ได้พิจารณาในเร็วๆ นี้ขณะเดียวกัน อัลเบิร์ต บูร์ลา CEO ไฟเซอร์ ยังอ้างว่า ได้ติดต่อกับรัฐบาลของประเทศต่างๆ รวมกว่า 90 ประเทศ ในเรื่องสัญญาการจัดซื้ออีกด้วยถึงแม้จะถูกตั้งข้อสังเกตว่า รายงานผลการทดลองดังกล่าวที่บริษัทนำออกมาเปิดเผย ยังไม่ได้มีการถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชั้นนำใดๆ ก็ตาม (สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ย.)ราคาโมลนูพิราเวียร์ บริษัทเมอร์ค มีสัญญาในการจัดหายา 1.7 ล้านชุด ให้กับสหรัฐอเมริกา มูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นั่นจึงเท่ากับว่า ราคายาโมลนูพิราเวียร์ ต่อ 1 คอร์สการรักษา (40 เม็ด) จึงน่าจะอยู่ที่ประมาณ 700 ดอลลาร์สหรัฐอย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า สหราชอาณาจักรซึ่งได้ทำสัญญาจัดซื้อ ยาโมลนูพิราเวียร์ หรือ Lavgevrio ชื่อสำหรับทำตลาดในสหราชอาณาจักร จำนวน 480,000 ชุด กลับยังไม่ได้มีการเปิดเผย “ราคา” ในการจัดซื้อต่อสาธารณชนแต่อย่างใดราคาแพกซ์โลวิดบริษัทไฟเซอร์ ยังไม่ได้เปิดเผยชัดเจนถึง “ราคา” ของ แพกซ์โลวิด แต่บรรดานักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่า ต่อ 1 คอร์สในการรักษา (30 เม็ด) ราคาของแพกซ์โลวิด น่าจะใกล้เคียงกับ โมลนูพิราเวียร์ คือ ประมาณ 700 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่านั้นเล็กน้อยกำลังการผลิตโมลนูพิราเวียร์บริษัทเมอร์ค คาดว่าน่าจะสามารถผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ ได้อย่างน้อย 10 ล้านชุด ภายในสิ้นปีนี้ (2021) และคาดว่าน่าจะสามารถผลิตได้อีกอย่างน้อย 20 ล้านชุด ภายในปี 2022 กำลังการผลิตแพกซ์โลวิดบริษัทไฟเซอร์ คาดว่าน่าจะสามารถผลิตยา แพกซ์โลวิด ได้อย่างน้อย 180,000 ชุด ภายในสิ้นปีนี้ (2021) และวางแผนจะผลิตให้ได้อย่างน้อย 50 ล้านชุด ภายในปี 2022 ข้อสังเกต ที่ผ่านมามีความพยายามผลิตยาเม็ดสำหรับการต่อสู้กับโควิด-19 มาโดยตลอด หรือแม้แต่การทดลองทางคลินิกที่ใหญ่ที่สุดภายใต้การดูแลขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ซึ่งได้มีการนำ ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ยาริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ยาโลพินาเวียร์ (Lopinavir) และ อินเตอร์เฟอรอนเบตา (Interferon beta) มาทำการทดลอง กลับให้ผลลัพธ์ที่น่าผิดหวัง โดยในครั้งนั้น WHO สรุปว่า ยาทั้ง 4 ชนิด ให้ผลลัพธ์เพียงเล็กน้อย หรือแทบไม่มีเลย กับอัตราผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน