:PART 1:TITLEต้นตอราคาน้ำมันแพงจับสัญญาณวิกฤติพลังงานขาดแคลน[A] จุดเริ่มต้น...[B] ความไม่แน่นอน = ความเลวร้าย[C] เมื่อต้นปี 2563 ประชากรโลกไม่มีใครคิดว่า โรคติดเชื้อโควิด-19 จะสร้างความกังวลไปทั่วโลก คาดเดาอะไรไม่ได้ และด้วย "ความไม่แน่นอน" นั้น ก็ทำให้เกิด "ความเลวร้าย" ต่อเศรษฐกิจ, ความรู้สึกผู้บริโภค และการลงทุนธุรกิจอย่างรุนแรง[A] ภาพที่เกิดขึ้น คือ...[B] ทั่วทุกพื้นที่เห็นแต่ "ปัญหา"[C] ตลาดน้ำมันตกอยู่ในสภาวะกดดัน อุตสาหกรรมน้ำมันเกิดความกังวล เมื่อความเป็นไปได้ว่า โควิด-19 จะทำให้เกิดการหยุดชะงักในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น หันซ้ายแลขวาเริ่มมองเห็นการหดตัวของการก่อสร้าง, ท่องเที่ยว หรือแม้แต่การพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เช่น การชมภาพยนตร์และนั่งร้านอาหารก็มีเพียงจำนวนน้อย จนกระทั่งโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งปิดตัวลง[A] หากเป็น...วิกฤติระยะสั้น[B] คงใช้วิธีแก้ปัญหาแบบ "ขัดตาทัพ"[C] ในปี 2499 ที่มีการปิด "คลองสุเอซ" ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันมากนัก แม้เรือบรรทุกสินค้าที่เดินทางรอบจะงอยแอฟริกา จะต้องเดินทางระยะยาวขึ้น แต่การขนส่งน้ำมันก็เป็นไปตามปกติ[C.1] แต่กรณีวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในอู่ฮั่น ประเทศจีน กลับแตกต่าง... เพราะเป็นเมืองศูนย์กลางการเดินทางและขนส่งสินค้าจำนวนมาก[A] ความกังวลก่อตัว[B] คำพยากรณ์ : ฉากทัศน์เลวร้ายที่สุด![C] ต้นปี 2563 นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า หากโควิด-19 ไม่จบในระยะสั้นๆ และหากลุกลามไปถึงยุโรป, สหรัฐอเมริกา, อเมริกาใต้, แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะชะงักงันอย่างรุนแรง ซึ่งนั่นจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันน้อยลง แน่นอนว่า "ราคาน้ำมัน" ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน[A] ดั่งคำทาย[B] จนถึงวันนี้ "วิกฤติโควิด-19" ยังไม่จบ...[A] แต่ "น้ำมันแพง!"[B] อะไรคือต้นตอ?[C] ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เปิดต้นสัปดาห์ (18 ต.ค. 64) 85.7 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทุบสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 อันเป็นผลมาจากความต้องการใช้เพิ่มขึ้นทั่วโลก เมื่อนานาประเทศเร่งฟื้นเศรษฐกิจให้กลับสู่สภาพปกติ หลังทนทุกข์กับวิกฤติโควิด-19 มานานเกือบ 2 ปี เทียบกับปีที่ผ่านมา (2563) 42.5 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เท่ากับเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าทีเดียว[C.1] ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI) ก็ไต่เพิ่มขึ้น 1.4% เป็น 83.4 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทุบสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557[A] กระทบถึงไทย![B] เศรษฐกิจฟื้น...ดัน "น้ำมันแพง"[C] เหล่าผู้ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะดีเซล ต่างออกมาเรียกร้องให้ "รัฐบาล" แก้ปัญหาด่วน เพราะขณะนี้ (18 ต.ค. 64) ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงต้นปี (2564) กว่า 16% อยู่ที่ประมาณ 28 บาทต่อลิตร (ณ 18 ต.ค. 64)[C.1] จนกระทั่ง "กระทรวงการคลัง" แถลงการแก้ไขปัญหา ที่ยืนยันว่า รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายผ่านกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ด้วยการอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 1.99-4.16 บาทต่อลิตร รวมถึงมีการปรับลดค่าการตลาด[A] ยิ่งต้องการ ยิ่งแพง?[B] แถมยังเจอภาวะ "ขาดแคลน"[C] แม้ราคาน้ำมันฟื้นตัว ในอีกด้านหนึ่ง ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินกลับเผชิญภาวะขาดแคลนเป็นวงกว้างทั่วเอเชียและยุโรป นั่นยิ่งไปกระตุ้นให้ความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ในการผลิตพลังงาน[A] -[B] นักวิเคราะห์ ประจำธนาคาร ANZ[C] "การผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางอย่างที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นไปได้ว่าจะช่วยฟื้นการบริโภคเชื้อเพลิงให้กลับมาสู่สภาพปกติได้"[C.1] จากรายงานการเปลี่ยนไปใช้น้ำมันในการผลิตพลังงานแทนก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียว คาดการณ์ว่าจะผลักดันให้ความต้องการใช้น้ำมันในไตรมาส 4 มากถึง 4.5 แสนบาร์เรล/วัน[A] ท่าที OPEC+[B] ในการประชุมครั้งล่าสุด[C] กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ ยืนยันว่าจะเพิ่มซัพพลายน้ำมันดิบทั้งหมด 4 แสนบาร์เรล/วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้ ถึงแม้ราคาจะดีดตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงก็ตาม[C.1] โดยผลผลิตรวมกันของซาอุดีอาระเบีย, รัสเซีย, อิรัก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต คิดเป็นราว 14% ซึ่งต่ำกว่าระดับการผลิตอ้างอิงที่แจ้งไว้[A] "จีน" อ่วมอีก![B] ฟื้นจากโควิด-19 ดันเจอวิกฤติพลังงาน[C] ราคาถ่านหินทั่วโลกดีดเพิ่มขึ้นทุบสถิติสูงสุดตลอดกาล อันเป็นผลจากการที่ "จีน" ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนถ่านหิน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศต่างวิตกกังวลว่าอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่าง "ไฟดับ!"[C.1] ขณะเดียวกัน ราคาถ่านหินของอินโดนีเซียจากราว 60 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ก็เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ในเดือนตุลาคมนี้:PART 2:TITLEวิกฤติ "จีน"เศรษฐกิจ พลังงาน มีแต่เจ็บ![A] ผิดคาด![B] ไม่เป็นดั่งหวัง...[C] จากที่คิดว่า เมื่อวิกฤติโควิด-19 คลี่คลาย เศรษฐกิจจีนจะกลับมาสดใสรุ่งโรจน์แบบฉุดไม่อยู่ แต่ก็ต้องเกิดสะดุดในไตรมาส 3 ปีนี้ (2564) การเติบโตชะลอตัว อันเป็นผลจากการขาดแคลนพลังงานในเดือนกันยายน บีบคั้นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ต้องควบคุมผลผลิต หรือแม้กระทั่งปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์[C.1] อัตราการดำเนินการน้ำมันประจำวันเมื่อเดือนกันยายน 2564 ลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ด้วยเพราะวัตถุดิบขาดแคลน อีกทั้งโรงกลั่นน้ำมันของเอกชนก็เผชิญกับการจำกัดโควตานำเข้าน้ำมันดิบด้วย[A] "ถ่านหิน" สำคัญต่อจีน[B] ผลลัพธ์ของความมั่นใจเกินไป...[C] ทราบกันดีว่า "จีน" คือประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นลำดับต้นๆ ของโลก และก็มีความมั่นใจอย่างแรงกล้าในการใช้ "ถ่านหิน" เพื่อผลิตพลังงาน[C.1] นับตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564 จีนใช้ถ่านหินในการผลิตพลังงานของประเทศ รวม 62% รองลงมา คือ พลังน้ำ 14% และก๊าซธรรมชาติกับน้ำมัน 10%[A] ทางเลือก "จีน"[B] นำเข้า "ถ่านหิน"[C] "รัฐบาลจีน" รายงานอย่างเป็นทางการถึงการกระตุ้นให้บริษัทรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานชั้นนำออกมารับประกันซัพพลายด้านพลังงานสำหรับฤดูหนาวนี้ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม[C.1] นั่นรวมถึงการผ่อนคลายข้อจำกัดการนำเข้าถ่านหินของออสเตรเลีย[A] แบนจนเจ็บ![B] ผลกระทบที่จีนได้รับ...[C] การออกคำสั่ง "แบน" การนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลีย ปฏิเสธไม่ได้ว่า...ยิ่งทำให้การขาดแคลนถ่านหินในประเทศทรุดหนัก[C.1] โดยปี 2562 "ออสเตรเลีย" เป็นซัพพลายเออร์ถ่านหินรายใหญ่ของจีน คิดเป็น 39% ของการนำเข้าถ่านหินทั้งหมดของจีน[A] ถ้าไม่อยากเจ็บ[B] จีนอาจต้อง...[C] คาดการณ์ว่า จีนอาจเพิ่มการนำเข้าถ่านหินครั้งใหญ่ในไตรมาส 4 ปีนี้ (2564) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศส่งออกถ่านหินสำคัญๆ ของโลก[A] ทางเลือกอันน้อยนิด[B] หลากคำวิเคราะห์เชื่อว่า...[C] ในช่วงเวลาที่เรียกได้ว่าเป็นภาวะวิกฤติด้านพลังงานที่เลวร้ายที่สุด จีนอาจจำใจเดินอ้อมออกนอกเส้นทางที่มุ่งไปยังแผนพิชิตลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเป็นเป้าหมายอันแสนทะเยอทะยานที่มุ่งหวังจะทำให้ได้ในปี 2573 อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาระยะสั้นๆ นี้[C.1] โดยวิกฤติพลังงานนี้ ก็ทำให้การผลิตของโรงงานในจีนหยุดลงชั่วคราว และธนาคารต่างๆ ก็มีการปรับลดการคาดการณ์ GDP ของจีนว่าจะชะลอตัวลง[A] คำยืนยันทางการ[B] โดย NDRC[C] เมื่อวันอังคาร (19 ต.ค. 64) คณะกรรมาธิการด้านไฟฟ้าของจีน ระบุว่า คณะกรรมการปฏิรูปและการพัฒนาแห่งชาติจีน (NDRC) จะมีการหารือกับรัฐบาลในการแทรกแซงราคาถ่านหิน ซึ่งต่อมาทาง NDRC ก็ออกมาแถลงการณ์ด้วยความมุ่งมั่นในการเร่งกำลังผลิตเหมืองถ่านหินให้ได้เต็มศักยภาพ และตั้งเป้าความสำเร็จอย่างน้อย 12 ล้านตัน/วัน เพิ่มจากเดือนกันยายน (2564) กว่า 1.6 ล้านตัน:PART 3:TITLEฤดูหนาวมาเยือนสัญญาณความเลวร้ายก็มา[A] ดูท่าจะยิ่งแย่[B] นักวิเคราะห์อาวุโสประจำ OANDA มองว่า...[C] อุณหภูมิที่เริ่มเย็นขึ้นเรื่อยๆ ทางซีกโลกเหนือ อาจทำให้ภาวะการขาดแคลนซัพพลายน้ำมันยิ่งเลวร้ายลงกว่าเดิม[A] -[B] "ภาวะขาดแคลนในตลาดน้ำมันอาจเดินไปสู่ปลายทางแห่งความเลวร้าย นั่นเพราะว่า วิกฤติพลังงานมีทีท่าจะรุนแรงขึ้น จากสภาพอากาศทางตอนเหนือที่เริ่มเข้าสู่ความหนาวเย็นสุดขั้วแล้ว"[C] -[A] ความกังวล[B] นักวิเคราะห์เห็นทางเดียวกันว่า...[C] ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรุนแรง เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 จะยิ่งทำให้ภาวะขาดแคลนก๊าซฯ เพิ่มขึ้นเช่นกัน อีกทั้งฤดูหนาวที่มาเยือนก็จะทำให้พลังงานสำรองลดน้อยลง[A] -[B] ภาวะขาดแคลนอาจแค่ระยะสั้น แต่...[C] นักวิเคราะห์ก็มองว่ายังคงยากอยู่ดี ในการที่จะยืนยันได้ว่า ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลจะดีดสูงไปอีกนานแค่ไหน[C.1] แต่ "ระยะยาว" ตอบได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะนำไปสู่การลงทุนในพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงาน[A] ลมและแสงอาทิตย์[B] ผลลัพธ์ของโครงการพลังงานทดแทน[C] คณะกรรมาธิการของสหภาพยุโรปเชื่อว่า การปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด เป็นการรับประกันที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะช็อกทางราคาในอนาคต และจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วน[A] ในปีที่จะมาถึงนี้...[B] Giampietro Scusato คาดการณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นความไม่แน่นอนทางด้านพลังงาน หรือราคาที่แพงขึ้น ก็จะยังคงดำเนินต่อไป[A] ประชาชนรับกรรม![B] เมื่อพลังงานมีราคาแพง...[C] นานวันเข้าก็จะซึมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่สินค้าขนมปังยันพาสต้า ผ่านต้นทุนการขนส่งและการใช้พลังงานไฟฟ้า แน่นอนว่า ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าต่างๆ ในร้านค้าอย่างแน่นอน[A] รัฐบาลจึงต้องช่วย...[B] ในฤดูหนาวนี้ ประชาชนทั่วโลกจะเผชิญกับใบเสร็จสาธารณูปโภคที่แพงขึ้น[C.1] ในสหรัฐฯ ทางการก็ออกมาเตือนว่า ราคาฮีตเตอร์ในบ้านจะพุ่งถึง 45% หรืออย่างรัฐบาลสเปน, ฝรั่งเศส, อิตาลี และกรีซ ก็ออกมาประกาศมาตรการช่วยเหลือครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ[C.2] สำหรับไทยก็มีการออกมาช่วยเหลือค่าไฟเช่นกัน แต่เฉพาะกับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ[A]-[B] "วิกฤติพลังงาน" คงไม่จบง่ายๆ ไม่เพียงแต่กระทบด้านราคา แต่การใช้ชีวิตก็กระทบไม่แพ้กัน ดังนั้น ถึงเวลาที่เราต้องหันมาให้ความสนใจกันอย่างจริงจังเสียที.ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน