• แม้มีมาตรการล็อกดาวน์บางส่วน มีการประเมินว่าผู้ติดเชื้อโควิดอาจเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 1 แสนคน ถึง 3 แสนคน ในช่วงเดือนมิ.ย. และน่าจะแตะระดับสูงสุดต้นเดือนพ.ค.ประมาณ 3,000-4,500 คนต่อวัน

  • ผู้ติดเชื้อโควิดอาจทยอยลดลงได้ หากการควบคุมมีประสิทธิภาพและเร่งฉีดวัคซีนให้ได้วันละ 500,000 คนต่อวัน พร้อมการเตรียมการรับมือผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งการสร้างโรงพยาบาลภาคสนามเพิ่ม

  • การระบาดระลอก 3 ยังก่อปัญหาการว่างงานเพิ่ม สถานการณ์เลิกจ้างอาจรุนแรงกว่าปีที่แล้ว หากภาคส่งออกไม่ขยายตัวตามเป้า และการคาดหวังนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเข้ามามากกว่า 3 ล้านคนในปีนี้ มีความเป็นไปได้น้อยมาก แรงงานภาคการท่องเที่ยว การบริการอาหาร กิจการบันเทิงและสันทนาการ มีความเสี่ยงจะถูกเลิกจ้างสูงสุด

เป็นสิ่งที่ “ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ” อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงความเป็นห่วง จากการออกคำสั่งปิดกิจการของกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด จะทำให้ผู้ใช้แรงงานรายวัน และกิจการขนาดเล็กขนาดย่อมได้รับผลกระทบอย่างมาก จึงเสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณชดเชยรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบ อย่างของกรุงเทพมหานครมีการสั่งปิดกิจการ 31 ประเภท ระยะเวลา 14 วัน เนื่องจากยอดการติดเชื้อรายวันของไทยสูงกว่าประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดรุนแรง เนื่องจากไทยยังฉีดวัคซีนโควิดได้ไม่ถึง 2% ของประชากร อยู่ในอันดับรั้งท้ายในระดับโลก และในภูมิภาคอาเซียน

...

นอกจากนี้รัฐควรให้แรงจูงใจทางด้านภาษีและการหักลดหย่อนภาษีให้กับบุคคล หรือเอกชนที่ได้ช่วยเหลือกิจการสาธารณสุข เพื่อรับมือการระบาดของโควิดระลอก 3 และระลอก 4 และให้เครดิตภาษีกับเอกชนที่ช่วยจัดหาวัคซีนและฉีดวัคซีน โดยนำงบประมาณในปี 2564-2565 ที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนมาใช้ หรือออกพันธบัตรระยะยาวกู้เงิน มาดำเนินการ

หวั่นเศรษฐกิจทรุดหนัก ต้องเร่งฉีดวัคซีน 5 แสนคนต่อวัน

แม้จะมีมาตรการล็อกดาวน์บางส่วน ประเมินผู้ติดเชื้ออาจเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 1 แสนคนในช่วงเดือนมิ.ย. โดยการระบาดน่าจะแตะระดับสูงสุดต้นเดือนพ.ค. โดยน่าจะติดเชื้อถึงวันละ 3,000-4,500 คนต่อวันได้ และอาจทยอยลดลงได้ หากการควบคุมมีประสิทธิภาพและเร่งฉีดวัคซีนให้ได้วันละ 500,000 คนต่อวัน หากไม่สามารถทำได้ ขอให้เลื่อนการเปิดประเทศไปก่อน

ก่อนหน้านี้เคยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสองอาจทรุดหนักถึงขั้นติดลบได้ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกจากการแพร่ระบาดระลอก 3 และทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีไม่น่าจะถึง 2% หากปล่อยให้มีคนติดเชื้อมากกว่า 1 แสนคนขึ้นไป แม้เปิดประเทศแต่จะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา การคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวจากต่างชาติจะเข้ามาในประเทศไทย 3 ล้านคนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

“การประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้จะต้องทบทวนกันใหม่ หลังจากเห็นภาพที่ชัดเจนเรื่องประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการฉีดวัคซีนและการควบคุมการแพร่ระบาดระลอก 3”

ในสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ ต้องเร่งฉีดวัคซีน พร้อมเตรียมรับมือผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งการสร้างโรงพยาบาลภาคสนามเพิ่ม การเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์และยารักษาโรคให้เพียงพอ การผลิตหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และแอลกอฮอล์ให้เพียงพอต่อความต้องการในอนาคต

...

แรงงานภาคท่องเที่ยว อาหาร บันเทิง เสี่ยงถูกเลิกจ้างเพิ่ม

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วง จากการระบาดระลอก 3 จะก่อปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอีก จากวิกฤติเลิกจ้างที่ดำรงอยู่แล้ว สถานการณ์เลิกจ้างอาจรุนแรงกว่าปีที่แล้ว หากภาคส่งออกไม่ขยายตัวตามเป้า และการคาดหวังนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากกว่า 3 ล้านคนในปีนี้ มีความเป็นไปได้น้อยมาก แรงงานในภาคการท่องเที่ยว การบริการอาหาร กิจการบันเทิงและสันทนาการ มีความเสี่ยงถูกเลิกจ้างสูงสุด

หากส่งออกไทยสามารถขยายตัวได้ในระดับมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อเนื่อง จากการขยายตัวเป็นบวกในระดับสูงในเดือนมี.ค. จะช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงานในภาพรวมได้บ้าง ในกลุ่มอาหารและสินค้าเกษตร สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งการจ้างงานในกิจการอุตสาหกรรมส่งออกเหล่านี้จะเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถช่วยทำให้การจ้างงานในบางภาคเศรษฐกิจดีขึ้น โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวและธุรกิจบันเทิงกลางคืน เพราะเป็นตลาดแรงงานคนละส่วนกัน

ขณะเดียวกันหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในโลกยังยืดเยื้อรุนแรง บริษัทผลิตและจำหน่ายวัคซีนและยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และบริการประกันสุขภาพ จะยังคงมีการเติบโตสูงไปอีกหลายปี.

...

ผู้เขียน : ปูรณิมา

กราฟิก : sathit chuephanngam