กรุงเทพฯ แอ่งดินอ่อน เพิ่มแรงสั่นอาคารสูง "ผู้เชี่ยวชาญ” ประเมินอนาคต ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงอีกครั้ง อาคารสูงทางเหนือเสียหายรุนแรง หากไม่มีการซ่อมแซมทนแรงสั่น ชี้จุดอ่อนอพยพคนหนีภัย

เหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลางประเทศเมียนมา ส่งผลกระเพื่อมมาถึงกรุงเทพฯ และทำให้ตึก สตง. ย่านจตุจักร กรุงเทพฯ ถล่มจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก บทเรียนภัยพิบัติครั้งนี้ นอกจากสะท้อนเรื่องปัญหาการออกแบบตึกที่ไม่ได้คุณภาพแล้ว ยังสะท้อนประเด็นเกี่ยวกับการอพยพผู้คนอีกด้วย

ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว วช. กล่าวถึงรอยเลื่อนการเกิดแผ่นดินไหว ในงานเสวนา กระทรวง อว. สกสว. เปิดแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่ตำแหน่งกรุงเทพฯ แต่คิดว่ากรุงเทพฯ มีผลกระทบจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในระยะไกล เนื่องจากแอ่งดินอ่อนของกรุงเทพฯ ด้วยไทยมีสภาพดินหลายประเภท ซึ่งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวพื้นดินอ่อนจะขยายความแรงได้มากหลายเท่าตัว ทำให้พื้นที่อันตรายสุดคือ กรุงเทพฯ ปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง เป็นแอ่งดินอ่อนขนาดยักษ์

กรุงเทพฯ แอ่งดินอ่อน เพิ่มแรงสั่นตึกสูง ปัจจัยถล่มแบบ "แพนเค้ก"

...

"เราศึกษาเรื่องนี้มากว่า 20 ปี มีนักวิจัยหลายคนช่วยกันทำงาน ตรวจวัดคุณสมบัติของแอ่งดินอ่อน ความลึกของชั้นดิน ตรงกลางกรุงเทพฯ พบว่าแอ่งดินจะขยายความรุนแรงของคลื่น ยังเปลี่ยนการสั่นสะเทือนแบบไม่ปกติ เป็นแผ่นดินที่โยกอย่างช้า ๆ บนแอ่งดินอ่อน ซึ่งไม่ค่อยส่งผลต่ออาคารเล็ก ๆ แต่เขย่าอาคารสูงที่เรียกว่า “การสั่นพ้อง”

ข้อสรุปงานวิจัยพบว่ากรุงเทพฯ มีประเด็นเรื่องการขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหวในระยะไกล ผลกระทบหนักอยู่ที่อาคารสูง การประเมินสถานการณ์ มี 3 สถานการณ์อันตราย คือ 1.แผ่นดินไหวขนาด 7-7.5 ที่กาญจนบุรี 2.ขนาด 8 ที่แนวรอยเลื่อนสกายในประเทศเมียนมา 3.ขนาด 8.5-9 ที่แนวมุดตัวในทะเลอันดามัน

กรุงเทพฯ แอ่งดินอ่อน เพิ่มแรงสั่นตึกสูง ปัจจัยถล่มแบบ "แพนเค้ก"

เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อ 28 มีนาคมที่ผ่านมา อนาคตคงไม่มีโอกาสเกิดเหตุการณ์แบบนี้ง่าย ๆ แม้อาฟเตอร์ช็อกเบาลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะประมาทได้ หรือตระหนกจนนอนไม่หลับ กินข้าวไม่ลง การเตรียมพร้อมสำหรับอาคารรุ่นใหม่ต้องออกแบบให้แข็งแรง โดยเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง

กรุงเทพฯ แอ่งดินอ่อน เพิ่มแรงสั่นตึกสูง ปัจจัยถล่มแบบ "แพนเค้ก"

"สิ่งที่เจอและปัญหาคือ การทำให้คนเชื่อตาม เพราะคนไม่เชื่อเยอะมาก ต้องปรับปรุงกฎหมายทำให้ได้มาตรฐาน แต่การแก้ปัญหาให้ถูกต้องเราต้องเตรียมพร้อมก่อนที่จะเกิด กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราสามารถเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติได้ ต่อจากนี้จะมีปัญหาอาคารจำนวนมากในภาคเหนือได้รับความเสียหาย เราต้องเสริมกำลังอาคารที่อ่อนแอ ถ้าไม่ทำเราอาจจะเห็นผลกระทบที่ร้ายแรงและมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก จากนี้ไปเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และถ้ามีสึนามิเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตของคนเรา การหนีภัยของเราขณะนี้ยังมีจุดอ่อนเรื่องการอพยพหนีภัย"

กรุงเทพฯ แอ่งดินอ่อน เพิ่มแรงสั่นตึกสูง ปัจจัยถล่มแบบ "แพนเค้ก"

ตึก สตง. ต้นเหตุการถล่มแบบ "แพนเค้ก"

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย มองว่า การที่ตึก สตง. ที่เป็นอาคาร 30 ชั้น ที่กำลังก่อสร้างในพื้นที่จตุจักร กรุงเทพฯ พังถล่ม หลังเกิดแผ่นดินไหว เมื่อ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ยังคงเป็นปริศนา เพราะตอนนี้ทุกคนมองวิดีโอกันคนละมุม บางคนบอกพังจากข้างบนก่อน บางคนเห็นว่าเสาหัก แต่ถ้ามองจากด้านหลังจะเห็นว่าเกิดตรงปล่องลิฟต์ก่อน ซึ่งเราเองก็ไม่เคยคิดมาก่อน แต่การสืบหาสาเหตุที่แท้จริงต้องดูทุกมุมพร้อมกัน โดยตัวตึกมีการถล่มลักษณะแบบ "แพนเค้ก" เหมือนกับการถล่มของโรงแรมรอยัลพลาซ่า จ.นครราชสีมา ที่มีการต่อเติม เป็นตึกแรกที่ถล่มเพราะแผ่นดินไหวขณะก่อสร้าง ลุกลามไปที่คุณภาพเหล็ก

...

กรุงเทพฯ แอ่งดินอ่อน เพิ่มแรงสั่นตึกสูง ปัจจัยถล่มแบบ "แพนเค้ก"

สำหรับการซ่อมแซมเสาที่แตกหัก อาจซ่อมเสริมได้ แต่ถ้าเสียหายหนัก ไม่เสถียร เจ้าของอาคารกังวลว่าตึกจะพัง มีโอกาสที่น้ำหนักตัวข้างบนทำให้เอียงขยับ ต้องรีบซ่อมทันที

การวิบัติที่สังเกตได้จากบันทึกกล้องวงจรปิด มีจุดประหลาดหลายจุดดังนี้

- เสาชะลูดชั้นล่าง เป็นความไม่ปกติในรูปทรงของอาคาร
- เสาชะลูดชั้นบนหัก
- รอยต่อระหว่างพื้นไร้คานกับเสาชั้นบน
- การพังที่เกิดจากปล่องลิฟต์

กรุงเทพฯ แอ่งดินอ่อน เพิ่มแรงสั่นตึกสูง ปัจจัยถล่มแบบ "แพนเค้ก"

...

การวิเคราะห์ปัจจัยที่อาจทำให้ตึกถล่ม

- ความไม่ปกติในรูปทรงอาคาร
- การเกิดการสั่นพ้องระหว่างชั้นดินอ่อนกับอาคารสูง
- ทาวเวอร์เครนสร้างแรงเหวี่ยงจนกระทบต่อโครงสร้างอาคาร
- คุณภาพวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ได้แก่ คอนกรีต เหล็กเส้น
- อายุคอนกรีตและการรับน้ำหนัก

กรุงเทพฯ แอ่งดินอ่อน เพิ่มแรงสั่นตึกสูง ปัจจัยถล่มแบบ "แพนเค้ก"

การซ่อมแซมเสาที่แตกหัก อาจซ่อมเสริมได้ แต่ถ้าเสียหายหนัก ไม่เสถียร เจ้าของอาคารกังวลว่าตึกจะพัง มีโอกาสที่น้ำหนักตัวข้างบนทำให้เอียงขยับ ต้องรีบซ่อมทันที