ภาคเหนือ-อีสาน จ่อเจอฝนถล่มถึงสิ้นเดือน ส่วนชาวกรุงเทพฯ โดนคิวถัดไปในเดือนกันยายน-ตุลาคม กูรูด้านจัดการน้ำชี้ การเปลี่ยนผ่าน เอลนีโญ สู่ลานีญา ภายใน 1 ปี ถือว่าผิดปกติ ต้องเฝ้าระวังพายุ เพราะมีโอกาสมาถึงไทย... 

เมื่อต้นปี 2567 นี้ เราเจอสภาพอากาศที่ร้อนจัด ร้อนมาก ร้อนสุด ๆ แต่พอมาถึงช่วงฤดูฝน ที่เคยคาดการณ์ว่า ปีนี้จะเจอฝนแล้งจาก “เอลนีโญ” และอาจจะลากยาว ปรากฏว่า เรากลับมาเจอ “ลานีญา” อีกครั้ง กลายเป็นว่า ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมนี้ ลากยาวถึงตุลาคม เรามีโอกาสเจอพายุ และพายุก็อาจจะมาถึงประเทศไทย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “เรา” ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการ ทีม กรุ๊ป และผู้เชี่ยวชาญในการจัดการน้ำ มาบอกเล่าและเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวรับมือ

นายชวลิต กล่าวว่า ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม เป็นต้นไป จะเกิดฝนตกหนักและต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน อย่างไรก็ตาม ปี 2567 นี้ ถือว่ามีปรากฏการณ์ที่ผิดปกติ คือ ก่อนหน้านี้เราเจอกับสภาวะเอลนีโญ ฝนแล้ง น้ำแล้ง แต่ภายในปีเดียว ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ลานีญา ซึ่งเรื่องนี้ ปกติแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกินเวลา 7 ปี หรือ 5 ปี แต่ครั้งนี้ คือ เปลี่ยนในปีเดียว แต่เท่าที่ดูข้อมูล พบว่า ภาวะลานีญา ที่เราจะเจอนั้น อยู่ในสภาพ -1 ซึ่งถือว่ายังไม่แรงมากนัก แต่ก็ต้องเฝ้าระวังพายุ เพราะมีโอกาสมาถึงไทย จากภาวะลานีญา 

“ต้องยอมรับว่า สาเหตุที่เกิดเรื่องนี้ มาจากภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวน ซึ่งสภาพอากาศแบบนี้ มันทำให้เกิดฝนตกหนัก ในสภาพแบบสุดขั้ว ก็คือ จะตกในบริเวณใดบริเวณหนึ่งอย่างหนัก เช่น อ.กะทู้ ที่ภูเก็ต ฝนตก 354 มิลลิเมตร ในจุดเดียว ขณะที่ อ.ถลาง ซึ่งอยู่ติดกัน ก็เจอฝนตกมาก ปริมาณฝนถึง 250 มิลลิเมตร ก็ถือว่ามาก แต่ต่างกันถึง 100 มิลลิเมตร นี่คือผลพวงที่เกิดขึ้น”

...

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ แม้เราจะพยากรณ์ได้ว่า มีโอกาสฝนตกกี่เปอร์เซ็นต์ แต่เรายากจะรู้ได้เลยว่าจะมีฝนปริมาณมากตกที่จุดใด เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เราต้องเร่งศึกษาหาความรู้...

อ่านบทความที่น่าสนใจ