ไวรัส RSV กลับมาแพร่ระบาดหนักในเด็กเล็ก ทำให้เด็กมีอาการหอบเหนื่อย กินนมไม่ได้ เป็นที่วิตกกังวลของพ่อแม่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มียารักษาในไทย แพทย์ใช้การรักษาแบบประคับประคอง ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นแนวทางสำคัญ เพราะหากมีการปล่อยให้เชื้อแพร่กระจายหนัก เด็กมีความเสี่ยงเสียชีวิตได้

ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี อดีตนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กล่าวกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ด้วยสภาพอากาศกลับมาเย็นอีกครั้ง ทำให้มีการแพร่ระบาดของไวรัส RSV มากขึ้น โดยเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่จะมีอาการรุนแรงในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ ดังนั้นสาเหตุที่เด็กเป็น โรคเด็ก RSV รุนแรงมีปัจจัยดังนี้


- RSV คือ ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มี 2 สายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B เป็นไวรัสที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นมากในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีการระบาดทุกปี

- ไวรัส RSV มีการแบ่งตัวจำนวนมากในร่างกายของเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ มีอาการรุนแรงถึงขั้นหลอดลมอักเสบ

- เชื้อ RSV หากลงไปที่หลอดลมจำนวนมาก ทำให้เด็กหายใจลำบาก หอบเหนื่อย มีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วย พบมากในฤดูฝน และฤดูหนาว

...

- เมื่อรับเชื้อ ช่วงแรกมีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล


- มีอาการหลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ และปอดอักเสบตามมาได้

- ต้องระวังในเด็กที่ติดเชื้อ RSV ที่หลอดลมยังมีขนาดเล็ก ทำให้มีความยากลำบากในการขากเสมหะออก

- เด็กเล็กที่มีปัญหาที่หลอดลม ต้องมีการให้น้ำ เพื่อให้ลำคอชุ่มชื้น จะช่วยให้เสมหะออกมาได้ง่าย

- เด็กเล็ก ผู้ปกครองไม่ควรให้นมจำนวนมากระหว่างมีอาการ เพราะเด็กมีภาวะกลืนลำบาก มีโอกาสสำลักนม


- เด็กเล็ก มีอาการเริ่มต้นเป็นไข้หวัด แล้วอาจมีเชื้อลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง เป็นปอดอักเสบได้

- หลังรับเชื้อ RSV จะแสดงอาการเร็วสุดหลังติดเชื้อ 2 วัน ช้าสุดประมาณ 8 วัน ส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 4-6 วัน

- ยังไม่มียารักษาโดยตรง แต่ใช้การรักษาแบบประคับประคอง


- การรักษา มีการจ่ายยาลดเสมหะ อนาคตมีโอกาสที่จะมียาต้านไวรัส RSV

- ไวรัส RSV มีการแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ ดังนั้นการป้องกันที่ดี ควรล้างมือ สวมใส่หน้ากาก อยู่ในที่โล่ง

- ถ้าเด็กมีอาการไม่สบาย ควรหยุดอยู่บ้าน เพราะมีโอกาสที่แพร่เชื้อให้กับเพื่อนที่โรงเรียนได้.