ในช่วงหลายปีที่ผ่าน ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากฝุ่นขนาดเล็ก "PM 2.5" ถูกหยิบยกมาพูดถึงในทุกเวที เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกับสุขภาพ  โดยเฉพาะผู้คนในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร  เพียงไม่กี่วันหลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยา  ประกาศเข้าสู่ฤดูหนาว 2565  ก็เริ่มมีสัญญาณของค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้น อย่างเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีการแจ้งเตือนค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ในพื้นที่เขตหนองแขม ทำให้คนกรุงหันมาสนใจสถานการณ์ฝุ่นอีกครั้งว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นจนเป็นอันตรายหรือไม่

"เรื่องฝุ่น มันเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของตัวเลขเท่านั้น" เป็นคำพูดที่ “ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ” คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลฝุ่นทุกชนิด มานานหลายสิบปี  ย้ำกับ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ 

ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ”  คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ”  คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

...

ผศ.ดร.สุรัตน์ ระบุว่า แม้ที่ผ่านมาคนกรุงเทพฯ จะเจอกับฝุ่นทุกปี แต่ไม่ควรชินกับมัน  เพราะนอกจากฝุ่นจะเกิดจากการใช้ชีวิตของมนุษย์ เช่น การปล่อยไอเสียจากรถยนต์ การเผาพื้นที่เกษตร หรือแม้แต่จากโรงงานอุตสาหกรรม ก็ยังมีปัจจัยสภาพอากาศmที่แปรปรวน จากภาวะโลกร้อน ซึ่งอยากจะควบคุมได้

การจะแก้ปัญหาฝุ่นให้ตรงจุด ต้องหาให้ได้ว่าต้นตอที่แท้จริงของฝุ่นมาจากไหน ช่วงเวลาของการเกิดต่างกันหรือไม่ จึงจะสามารถหามาตรการมาแก้ได้ตรงจุด จากการเก็บข้อมูล ของทีมวิจัยคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า  รูปแบบการเกิดฝุ่นในกรุงเทพฯ มีด้วยกัน 6 รูปแบบ

1.รูปแบบฝุ่นหลังเที่ยงคืน MIDNIGHT เป็นฝุ่นที่เกิดในช่วงที่อุณหภูมิลดลง และมีความชื้นสูงในช่วงกลางคืน ทำให้ฝุ่นรวมตัวกันหนาขึ้น มักจะเกิดในช่วงเดือนธันวาคม

2.รูปแบบฝุ่นอุณหภูมิผกผัน INVERSION หรือที่เรียกว่า ปรากฎการณ์ฝาชีครอบ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่มีลักษณะเป็นโดมความร้อนบนชั้นบรรยากาศครอบไว้ เพราะปกติอากาศร้อนจะลอยขึ้นสู่ที่สูง และมีอากาศไหลมาแทนที่ เมื่ออากาศร้อนที่พัดพาฝุ่นขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศไม่สามารถทะลุผ่านอากาศชั้นบนได้ ทำให้อากาศนิ่ง เกิดฝุ่นสะสมหนาขึ้น มักเกิดในช่วง เดือนธันวาคม - มกราคม

3.รูปแบบฝุ่นระยะไกล TRANSBOUNDARY ซึ่งเกิดจากการเผาทางการเกษตร หรือเกิดจากที่อื่น ลอยเข้ามาเติมฝุ่นในกรุงเทพฯ มักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

4.รูปแบบฝุ่นทุติยภูมิ SECONDARY เกิดจากบางชนิดที่ลอยอยู่ในอากาศ เช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับแสงแดด กลายเป็นฝุ่นลอยอยู่ในอากาศ มักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม

5.รูปแบบฝุ่นผสมผสาน MIXED เป็นฝุ่นที่ เกิดจากการผสมกันระหว่าง รูปแบบ ที่ 1-5 ช่วงเวลาการเกิดไม่แน่นอน

6.ฝุ่นไร้รูปแบบ UNPATTERN 

สิ่งที่น่าจับตาและทีมนักวิจัยเฝ่าติดตามมาโดยตลอด คือการพบว่า "ฝุ่นรูปแบบอุณหภูมิผกผัน INVERSION"  ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว เป็นรูปแบบฝุ่นที่เกิดมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 40.32 และมีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นสูงติดต่อกันถี่ขึ้น 

เมื่อจำแนกชนิดของฝุ่น ด้วยข้อมูล "สถานีตรวจติดตามลักษณะทางอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินและมลสารทางอากาศสําหรับประเทศไทย (KU tower) "  ในช่วงที่เกิดฝุ่นรูปแบบอุณหภูมิผกผัน INVERSION พบว่า ฝุ่นส่วนใหญ่เป็นฝุ่นที่มาจากเแหล่งกำเนิดที่เป็น Local source หรือ เกิดมาจากฝุ่นที่อยู่ภายในกรุงเทพฯ ทั้งจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม

...

เมื่อถามว่า แนวโน้มสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯปีนี้จะหนักแค่ไหน?

“ผศ.ดร.สุรัตน์” ระบุว่า ต้องจับตา สิ่งที่จะมาซ้ำเติม คือ การเผาไหม้จากภายนอก หากควบคุมได้จะเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะปีนี้ พื้นที่เกษตรกรรมหลังจากเจอน้ำท่วม อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ มีการเผาและเตรียมดิน ก็จะเจอปัญหาฝุ่นให้สูงขึ้น ส่วนฝุ่นที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ยังไม่หายไปไหน แม้ที่ผ่านมาจะมีมาตรการที่ออกมาแก้ไขปัญหา เช่น คนหันไปใช้รถยนต์ EV เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อย

"สิ่งที่น่าห่วงที่สุด คือ  วันที่เกิดฝุ่นทุกรูปแบบพร้อมกัน"  ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว ทีมวิจัย พบว่า มีกรณีที่เกิดฝุ่นรูปแบบอุณหภูมิผกผัน ตั้งแต่ช่วงเช้าต่อเนื่องถึงช่วงบ่าย ซึ่งตามปกติฝุ่นรูปแบบนี้ในช่วงบ่ายก็จะลดลง แต่กลับพบว่า ยังเกิดฝุ่นในรูปแบบนี้ไปจนถึงช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะเกิดฝุ่นในรูปแบบระยะไกล พัดมาจากพื้นที่ข้างนอก ทำให้ค่าผฝุ่นเพิ่มสูงขึ้นและสะสมค้างอยู่ตลอดทั้งวัน 80 - 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นี่คือภาพที่น่าเป็นห่วงและกรุงเทพฯมีโอกาสเจอการเกิดฝุ่นในลักษณะนี้บ่อยมากขึ้น

...

เรามีข้อมูลรับมือฝุ่นมากแค่ไหน?

“เรากลัวว่าเราจะมีข้อมูลมากเกินไป แต่เอาตัวไม่รอด” ทุกหน่วยงานมีแผนรับมือครบ แต่การหยิบเอาไปแปรผลและปรับใช้เพื่อรับมือปัญหาฝุ่นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ เมื่อสถกานการณ์รุนแรงขึ้นจะรับมือได้หรือไม่” เมื่อพูดถึงการวัดผล แน่นอนมากจากการตรวจวัด แต่ข้อมูลจากสถานนี้ตรวจวัดเหล่านั้น สะท้อนคุณภาพอากาศของกรุงเทพฯจริงๆหรือไม่

หากเราสังเกต สถานนี้ตรวจวัดคุณภาพอากาศส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมถนน แต่ในความเป็นจริง ฝุ่นในอากาศเกิดหลายรูปแบบ และกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ ต้องตั้งคำถามว่าข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ได้สะท้อนคุณภาพอากาศของ กรุงเทพฯจริงหรือเปล่า

"การแก้ปัญหาฝุ่น หากโฟกัสมุ่งโฟกัสตัวเลขค่าฝุ่นที่เกินมาตรฐานไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ต้องหาต้นต่อให้ได้ เป็นหลักการพื้นฐาน หากมองหาแหล่งกำเนิดต้นต่อไม่เจอ แล้วมองที่ตัวเลขค่าฝุ่นอย่างเดียวขึ้นมาไม่ตอบโจทย์" 

“แก้ปัญหาฝุ่นมักพุ่งเป้าไปที่รถควันดำ แต่ในวันที่รถบนท้องถนนน้อย ปัญหาฝุ่นยังเกิด” นี่สะท้อนให้เห็นว่า เป็นหาฝุ่นฝุ่นไม่ใช่แค่ฝุ่น มันมีที่มาของการเกิดไม่เหมือนกัน การแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ได้ทำให้ฝุ่นลดลงโดยฉับพลัน แต่มันจะต้องหาให้ได้ว่าฝุ่นช่วงเวลานั้น มีแหล่งที่มาจากไหน จึงจะทำให้ารแก้ปัญหาฝุ่นเห็นผล   ไม่เช่นนั้น หามุ่งไปที่การลดควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือจากแหล่งอุตสาหกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วปัญหาฝุ่นยังไม่ดีขึ้น ก็อาจจะทำให้ประชาชนไม่เชื่อว่า มาตรการที่ออกมาจัช่วยแก้ปัญหาได้จริง 

“ไม่มีมาตรการใดที่จะแก้ปัญหาฝุ่นได้ 100% หากเราไม่จำกัดตัวเอง เมื่อไหร่ที่ชั้นบรรยากาศมีความปกติ มีแสงแดดและมีลม ปัญหาฝุ่นก็จะคลี่คลายได้บ้าง แต่วันไหนอากาศหยุดนิ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยจากธรรมชาติ ประกอบกับมนุษย์ยังสร้างฝุ่นเพิ่ม ก็ทำให้ปัญหา ฝุ่นก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้น เราก็ยังเผชิญกับปัญหาฝุ่นอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่เราไม่สามารถลดต้นต่อของการเกิดฝนได้”

...


ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง