สารคดี "เดวิด เบคแคม" การตีแผ่ประเด็นเมื่อคิดเป็นไอคอน ย่อมต้องมี "ราคาที่ต้องจ่าย" เสมอ...
หล่อยาวกว่า จอร์จ เบสต์, ขายได้นานกว่า เมสซี และอยู่ได้ดีกว่าการตลาดของ โรนัลโด สิ่งเหล่านี้ น่าจะเป็นข้อสรุปของ เดวิด เบคแคม ตำนานของวงการลูกหนัง ที่ไม่ใช่แค่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่สามารถใช้คำว่า วงการได้ เพราะเขากลายเป็นไอคอน เป็น ultimate prize ของฟุตบอล ในช่วง 1995-2010 ทั้งสโมสรและทีมชาติ นี่ยังไม่นับว่า อังกฤษ "ขายพ่วงเบคแคม" ในการบิด เจ้าภาพกีฬาต่างๆ "อยู่ในช่วงหนึ่ง"
เบคแคมมีภาพรวม ขายการตลาดได้มากกว่านักบอลทุกคน ไม่ได้เล่นบอลเก่งมาก แต่หล่อ... ไม่ได้ยิงบอลเข้าทุกนัด แต่เก่ง business ไม่ได้คว้าแชมป์บอลโลก แต่รู้ว่า จะทำการค้าขายตัวเองอย่างไร
และเหล่านี้นี่เอง เน็ตฟลิกซ์ ผู้เปลี่ยน perception การดูสารคดี จึงสร้างซีรีส์ 4 ตอน ออนแอร์แล้วตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา
ผมแฮปปี้กับหนังสารคดีของ เบคแคม มาก มันมีครบรส ของเรื่องที่ควรมีและไม่คิดว่าจะมี เรื่องของ สตั๊ดบิน จาก เฟอร์กี้ สตอรี affair กับรีเบคก้า ลู ที่ วิคตอเรีย บอกว่า เป็นช่วงยากสุด คำชื่นชมถึงลูกยิงไกล ไปจนถึงการสร้างมูลค่าทางการตลาดเอง หนังครอบคลุมสิ่งเหล่านี้
...
โดยปรกติ เวลามีหนังสักเรื่องเกี่ยวกับ "นักกีฬา" ถ้าไม่แตะเรื่อง class ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์แบบ bend it like beckham ก็มักหาทางออกมักง่าย ด้วยการเล่นประเด็น underdog แบบ Goal 3 ภาค
แต่กับ DBD 4 ตอน เน็ตฟลิกซ์ พูดทุกเรื่องเลย บางช่วง บทลดระดับของ เบคแคม ให้ดูเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ถ้าคุณดูหนัง โรนัลโด คุณจะไม่พบสิ่งนี้
สิ่งที่ไม่ควรเล่าจนเกินเลยคือ เนื้อหา แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่โดดเด่นที่สุด กลับเป็นเรื่อง ที่ถูก "เรียงเล่า" มาอย่างดี
ยกตัวอย่างง่ายๆ เน็ตฟลิกซ์ ใช้แนวทางของ neo-doc (ศัพท์ที่สื่อล่างของอังกฤษใช้) ด้วยการใช้ฟุตเทจ สลับกับการสัมภาษณ์ แล้วแทรกด้วยอารมณ์ขัน เข้าไป
สารคดี DBD ให้รสของความสนุกกับด้านลึกของแหล่งข่าว ผมว่า เน็ตฟลิกซ์ ได้สร้างแนวทางใหม่ๆ ในการทำหนังให้กับวงการ คือเป็น contemporary ที่เดินไปตามแนวนี้
ไม่ใช่ให้แต่ fact แบบสารคดีเก่าๆ ที่ข้อมูลดี แต่ดูไม่สนุก หรือการเล่า ต้องเรียง 1-2-3-4 (ซึ่งจริงๆ เน็ตฟลิกซ์ ทำมาตั้งแต่ The Last Dance ของ ไมเคิล จอร์แดน แล้ว)
สิ่งที่ทำให้ DBD มีความน่าดูเข้าไปอีก ก็คือคำพูดของ เบคแคม ที่บอกว่า เรื่องชู้สาว กับเรื่อง เฟอร์กี้ (เขาเรียก อสูรเฒ่า ว่า The Boss) เบคส์ บอกว่า ไม่เคยมีใครรู้เรื่องจริงๆ ในใจเขา....
สิ่งที่หนังพยายามจะนำเสนอคือ...การจะเป็น icon หรือ legend ในสนามบอลนั้น มักมีค่าใช้จ่าย มีราคาต้องจ่าย นอกสนามเสมอ
ผมชอบอีกส่วนของเนื้อหา ตอนโดนแดงปี 1998 เราได้รู้ว่า เกล็น ฮอดเดิล ไม่ปกป้องเขาเพียงพอ สื่อจึงถล่ม แฟนบอลเล่นกันสนุก (ถึงขนาด แฟนบอล เข้าผับ ต้องปาเป้า ลูกดอกใส่หน้าเบคแคม เพื่อระบายแค้น)
...
หนังตอนแรก เริ่มด้วยชื่อ the kick เพื่อต้องการบอกนัยยะ ถึง การเตะ การถูกเตะ และการควบคุมการเตะ (bend)
ในแง่ของสารคดี "นี่คือหนังที่มีความสมดุลมากที่สุด" สำหรับคนที่เคยดูภาพยนตร์ "เกี่ยวกับเดวิด เบคแคม"
อีก 10 ปี จะยังมีการขายของ about beckham แต่อีก 5 ปี เรื่องของ เมสซี & โรนัลโด อาจไม่มีการตลาดพูดถึงแล้ว there's only one... david beckham
เดวิด เบคแคม มีได้ "แค่คนเดียว"
อ่านบทความ "นันทขว้าง สิรสุนทร" เพิ่มเติม :
...