ตลก 69 the Series และ "เวอร์ชันหมิว ลลิตา" ที่ทำให้คนเชื่อว่า เรายังมีโอกาสจะได้พบ หรือไปกินข้าวบ้าน แบบบ้าน "กำนันนก" ได้เสมอๆ...

การเลือกเปิดเรื่อง 69 เวอร์ชันซีรีส์เน็ตฟลิกซ์ ด้วย "เสื้อสีส้ม" ของตัวละครนั้น ย่อมมีนัยต่างไปจาก "เสื้อสีน้ำเงิน" ของหนัง ตลก 69 เมื่อสองทศวรรษก่อน

มิเพียงแค่นั้น - เพราะแม้แต่ที่ทำงาน ลักษณะของงานเอง ก็ต่างกันไป ในเวอร์ชันซีรีส์ล่าสุด ตัวละครอยู่ในบริษัทประกัน ที่เหมือนจะแดกดัน ย้อนแย้ง สิ่งที่เป็นอยู่อย่างเจ็บปวด

พวกพนักงานอยู่ในบริษัท แต่กลับตกอยู่ในอันตรายเสียเอง และช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะเจ้านายให้เสี่ยงเซียมซี โดนเลิกจ้าง!

ไม่ว่าจะหนังโรง หรือซีรีส์ ความเป็น "เป็นเอก รัตนเรือง" ยังคงเข้มข้นอยู่หลายแง่มุม เมื่อดูจากหนังของเขาหลายๆ เรื่อง

อย่างแรก 69 ทั้งสองเวอร์ชัน มีลักษณะแดกดันสังคมไทยในเรื่อง "ความเชื่อ" งานของเขามักตั้งคำถามว่า สิ่งที่คนไทยยกย่อง เคารพบูชามาตลอดนั้น แท้จริงแล้ว มันเป็นเรื่องพิสูจน์ได้หรือ?

...

ประการต่อมา ตัวละครในงาน เป็นเอก มักเป็นผู้หญิง และเป็นผู้ที่โดนทำร้ายจากสังคมเพศชายเป็นใหญ่ คุณจะพบว่า ผู้หญิงอย่าง ตุ้ม มีอยู่ทั่วไปในหนังของเป็นเอก ลึกลงไปกว่านั้น มักเป็นพวก urban มากกว่า rural คือ ราวๆ b ไม่ c หรือ a

เมื่อมาเป็นอีพีหลายตอน ตลก 69 ใส่มุมมองที่เป็น contemporary มากขึ้น มีแง่มุมร่วมสมัย เช่น สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ หรือการตกอยู่พื้นที่จำกัดของตัวละคร

พล็อตเรื่องถูกยืดออก เพื่อใส่เรื่องสภาพของตัวละครลงไป สิ่งที่อาจจะเด่นกว่า คือ ตุ้ม ได้พาไปสำรวจตรวจตราหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม หรือชะตากรรมของตัวละคร 

ผมมีความรู้สึกว่า 69 ซีรีส์ มีความร่วมสมัยเรื่องสังคมการเมืองมากขึ้น เช่นพฤติกรรมด้านเซ็กซ์...แม้แต่การใช้สีส้ม ก็บ่งบอกถึงแนวคิดของหนังได้ดี

ตลก 69 โดดออกมาจากฟิล์มนัวร์ของไทยๆ ตรงที่ว่า ตัวละครไม่จำเป็นต้องถูกตัดสิน ไม่ต้องถูกจับกุม เพราะ เป็นเอก เชื่อว่า คนไม่ได้ทำดีได้ดี หรือทำชั่วได้ชั่ว

แต่ถ้าเป็นฟิล์มนัวร์ไทยๆ ท้ายที่สุด ตัวละครต้องถูกลงโทษไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

แต่เป็นเอก มองว่า นี่ต่างหากที่เป็นจริง พระเอกนางเอก อาจมีสักวันที่แย่ๆ และเมื่อมันผ่านพ้น ก็อาจเจอชีวิตที่แย่

ผมชอบ 69 เวอร์ชันหนังมากกว่า ตรงที่บทมีความพอดีกับบทที่ใช้ และก็ชอบ ความเป็น "ลลิตา ปัญโญภาส" ที่ทำให้เชื่อได้อย่างหนึ่งว่า ตลก 69 นั้น ต้องอ่าน "หมิว ลลิตา" 

"ตุ้ม" แบบเธอใน 20 ปีที่แล้ว ทำให้คนเชื่อว่า...เรายังมีโอกาสจะได้พบ หรือไปกินข้าวบ้าน แบบบ้าน "กำนันนก" ได้เสมอๆ

อ่านบทความของ นันทขว้าง สิรสุนทร เพิ่มเติม :

...