Melody หนังรักแรก ที่เป็น "วันเก่าก่อนอันอ่อนหวาน" และการพูดเรื่อง Gap Generation เป็น "เสียงหลัก"
ถ้าจะสูดกลิ่นไม้ (wood) จากน้ำหอม ดูเหมือนคอลเลกชัน Huntsman 4 ขวดของ Jo malone ที่วางขายในลอนดอน จะมี "ความรู้สึก" นี้....
แต่ถ้าปรารถนาจะนั่งจิบกาแฟท่ามกลางแมกไม้ "สตาร์บัคส์" สาขา Notting Hill น่าจะให้รสชาตินี้ได้ อย่างไม่ขัดเขิน
ผมเพิ่งบินกลับจากอังกฤษ แล้วเห็นป้ายแถว Portobello ว่า จะมีการฉายหนังใน House เล็กๆ กับเรื่อง Melody (1971) ในโอกาสครบรอบ 52 ปี
รถขับผ่านป้ายโฆษณาแบบไวๆ แต่ทำให้ตัวเองนึกย้อนกลับไปในความหลัง ยุคที่อ่าน สตาร์พิคส์ เมโลดีเมคเกอร์ และหนัง-วิดีโอ (ที่ตอนหลังเป็น "ฟิล์มวิว")
ผมไม่รู้จริงๆ ว่า คนรุ่นหลังมี "หนังรักแรก" ประจำรุ่นไหม แต่ Generation X รุ่นผม มีหนัง Melody เป็นเหมือนรักแรก เป็น "วันเก่าก่อนอันอ่อนหวาน"....
...
หรือ Notting Hill กับ Titanic จะทำหน้าที่เดียวกันนี้ กับ Gen Y?
Melody ออกฉายปี 1971 ผมไปเช่าวิดีโอและได้ดูในปี 1983 หรือ 12 ปีให้หลัง ตัวหนังตั้งชื่อไทยว่า "เมโลดี้ที่รัก"
พล็อตเรื่องเกี่ยวกับเด็กชายหญิงสองคน อายุ 11 ขวบ เรียนต่างห้องกัน ผู้ชายชื่อดาเนียล ส่วนเด็กสาวคือชื่อหนัง - เมโลดี้
เป็นปั๊ปปี้เลิฟ แบบเด็กๆ ที่กำลังจะก้าวข้ามไปสู่วัยรุ่นตอนต้น แล้วก็เริ่มมีความรัก ผมจำฉากที่ ดาเนียล ไปแอบมอง เมโลดี้ เต้นบัลเลต์ได้ ฉากนี้ เหมือนหมาน้อย มองนางฟ้า ที่ไม่มีวันจะเอื้อมถึง...แต่มีสิทธิ์ ที่จะรัก
จะอะไรก็ตาม เมโลดี้กับดาเนียล ก็รักกัน เป็นความรู้สึกล่องลอย แบบรักแรก ที่ไม่มีใครเข้าใจ หรือเห็นด้วย ยกเว้น เพื่อนๆ ในชั้นเรียน...
เราคงมี "รักแรก" กันมาทั้งนั้น เพราะถ้าไม่ใช่อย่างนั้น หนังแบบ "แฟนฉัน" จะไม่ได้เงิน
แฟนฉัน แม้จะเคลือบ ๆด้วย เสียงหัวเราะของ แจ๊ค แฟนฉัน - แต่แก่นของหนัง จี้จุดที่รักแรกของทุกคน ซึ่งคงมี "น้อยหน่า" หรือ "เจี๊ยบ" กันบ้าง
แม้จะมีเรื่องเปราะบาง อ่อนไหว ที่รักครั้งแรก - แต่หนัง Melody ที่ อลัน พาร์คเกอร์ เขียนบท ต้องการพูดเรื่อง Gap Generation เป็น "เสียงหลัก"
ตัวละครถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนชัดเจน คือ พ่อแม่ครู กับนักเรียน คล้ายๆ ตัวละครใน The graduate ที่แยกกันระหว่าง "พ่อแม่บาทหลวง" กับ "เบนจามิน-เอเลน"
ช่องว่างระหว่างวัยและยุคสมัย หรือ Gen Gap จะไม่มีวันหมดไป เด็กที่เคยโต้เถียง ต่อว่าพ่อแม่ ในเวลาต่อมา... อาจเติบใหญ่ ไปเล่นบท "ผู้ปกครอง" นั้น เสียเอง (แล้วหนักหนากว่า)
"ช่วงเวลา" หรือ Time เหมือนจะเป็นอีกสิ่ง ที่หนังต้องการจะบอกเรา เวลาที่ผ่านมาแล้ว ก็จะผ่านไป
คนที่เคยรักกันวันนั้น อาจไม่รักกันอีกในตอนนี้ หรือคนที่ชังกันในตอนนี้ ก็อาจได้สัมพันธ์ในวันหน้า ผมนั่งดู Melody อีกครั้งใน YouTube เมื่อคืน และนอนปิดไฟ ฟังเพลง First of may ของบีจีส์
...
ก็รู้สึกว่า หนังอาจจะ Touch เรื่อง Moment "เปลี่ยนผ่าน" ค่อยๆ ก้าวข้ามวัย.. เพราะใช้คำว่า Passing มากกว่า Crossing
แต่ไม่ว่าจะ เปลี่ยนผ่าน หรือ กระโดดข้าม
อย่าลืม ความรู้สึกที่เป็น "รักแรก"
และ "ต้นแอปเปิล" ในชีวิต
When I was small...
And Christmas trees were tall
We used to laugh while others used to play
Don't ask me why
But time has passed us by
Someone else moved in from far away
Now we are tall
And Christmas trees are small
And you don't ask the time of day
But you and I
Our love will never die
To kiss and cry, "Come, first of May"
...
The apple tree that grew for you and me
I watched the apples falling one by one
And I recall the moment of them all
The day I kissed your cheek and you were gone
Now we are tall
And Christmas trees are small
And you don't ask the time of day
But you and I
Our love will never die
To kiss and cry, "Come, first of May"
(First of May, The Bee Gees)
อ่านบทความของ "นันทขว้าง สิรสุนทร" เพิ่มเติม :