จาก Babette's Feast ถึงเทรนด์ Siam Origins "บางเรื่อง ไม่ต้องทำความเข้าใจ มีไว้ เพื่อดื่มด่ำ...." วรรณกรรม และ อาหาร ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น

ดูจะเรียบง่ายเกินไป...ถ้าจะแนะนำ "ปิยะนุช รักพาณิชย์" ว่าเป็นเพียง "หมอคนหนึ่ง" ในชีวิตของการรักษา คล้ายๆ กับ ถ้าใครมาบอกว่า "แม่ครัวบาเบตต์" เป็นเพียง "คนทำอาหาร" อยู่ในครัว 

แท้จริงแล้ว... ทั้งสองท่าน เกี่ยวข้องกับ "อาหารการกิน" ที่มีความหมาย มากกว่า ประทังชีวิต หรือ ดับความหิวกระหาย

"บาเบตต์" ลี้ภัยมาจากบ้านเกิด เธอได้ที่พักพิงในชนบทงดงามของฝรั่งเศส แต่สิ่งที่เธอต้องตอบแทนก็คือ การเป็นแม่ครัวในบ้านหลังใหญ่ ทำอาหารให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้อง...

"หมอนุช" แตกต่างจาก "บาเบตต์" พี่นุช, หมอนุช, อาจารย์หมอ หรือแพทย์หญิง ปิยะนุช แล้วแต่คนเรียก (จะเป็นใคร) เธอเป็นศิษย์เตรียมอุดม จบแพทย์จุฬาฯ

นอกจากดำรงตำแหน่งคุณแม่ลูกสอง, ควงสถานะนักเดินทางแห่งสุขภาพ, ยังชมชอบกับงาน hub ด้านการรักษา และร้านอาหารสวย คลาสสิก แบบชวนพิศ มากกว่าชวนมอง...บาเบตต์อยู่ยุโรป หมอนุชอยู่กรุงเทพฯ แต่ทั้งสองสาว เป็นหญิงสาวแห่งรสสุขภาพและปัญญา

...

นันทขว้าง สิรสุนทร
นันทขว้าง สิรสุนทร

Babette's feast เป็นวรรณกรรมคลาสสิก ที่ถูกเขียนในปี 1950 โดย ไอแซค ไดนีเสน หนังสือเล่มนี้ เป็น "เล่มโปรด" ของโป๊ป ฟรังซิส (ที่องค์พระสันตะปาปา เขียนบันทึกในเอกสารวาติกัน) 

พลังของหนังสือ อยู่ที่เหตุการณ์สำคัญ ท้ายเล่ม เมื่อ บาเบตต์ ถูกลอตเตอรี่ ได้เงินมาก้อนหนึ่ง - แต่แทนที่เธอ จะเอาไปซื้อหุ้น เล่นกองทุนน้ำมัน หรือเมาปลิ้น...

บาเบตต์ ขอเลี้ยงผู้คน ด้วยอาหารมื้อสำคัญ เธอทุ่มเทฝีมือการทำอาหาร และ "รสชาติ" ของอาหารเย็นมื้อนั้น ได้เปลี่ยนความคิด ทัศนคติ ของคนที่กิน ไปตลอดกาล

(แม้แต่ "ท่านมุ้ย" หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ยังเคยบอก นันทขว้าง สิรสุนทร ที่ร้านส้มตำเสือใหญ่ว่า นี่คือ "หนังใจดวงใจ" ของท่าน)

"งานเลี้ยงของ บาเบตต์" คือ มื้อที่ไม่ลืม ของผู้คนที่รายล้อมโต๊ะอาหาร ค่ำนั้น

ในโต๊ะรื่นรมย์ ที่มิวเซียมสยาม มีชื่อเรียบง่าย แต่ล้ำลึก นาม Siam Origins บ้านแห่งอาหารพื้นบ้านสี่ภาค ที่อยู่ภายใต้ Umbrella "สุขภาพ" ที่ว่านี้...เมื่อก้าวเท้าซ้ายเข้าไปสัมผัส คุณจะพบเรื่องราวอันรื่นรมย์ เกี่ยวกับ "ที่มา" ของเมนูต่างๆ 

ถ้า "แกงเนื้อใบยี่หร่า" เป็น ตัวรอง "ข้าวแรมฟืน" ก็เป็น "ตัวเอก" และ "ข้าวหมากเปียกลำไย" คงไม่ใช่ "ตัวอิจฉา" หมอนุช กับผู้ช่วยเชฟไก่ ออกแบบเมนูอาหารพื้นบ้านแบบไทยๆ เน้นสุขภาพคนทาน

ไม่ให้รสเกิน มารบเร้า ไม่ให้สารอาหารที่ไม่ใช่ มาคละเคล้า...ขอฟันธงว่า Siam Origins จะอยู่ในหนัง ในอนาคต ไม่ฉากซีน ก็โมเมนต์ ซีเควนซ์...เพราะนอกจากจะ "รสรักในอาหาร" แล้ว รสสถานที่ รสร้าน ยังเป็นอีกเมนูทางจิตใจ

...

หมอนุช ไม่ใช่ "เพียงแพทย์" เหมือนที่ "แม่ครัว" บาเบตต์ หาใช่ "คนทำอาหาร" เธอก้าวไกล เทียบเท่า "เชฟ" ที่รังสรรค์อาหารแห่งปัญญา Babette's Feast ถูกทำเป็นหนังออกฉาย ชนะออสการ์สาขาหนังต่างประเทศ ปี 1987

ส่วน Siam Origins เป็นร้านอาหารใหม่ ที่ "ยืนเคียงไหล่" มิวเซียมสยาม....มีอีกหลาย Story ที่ไม่ได้เล่า แต่อยากจะบอกว่า "บางเรื่อง ไม่ต้องทำความเข้าใจ มีไว้ เพื่อดื่มด่ำ...."วรรณกรรม และ อาหาร ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น

อ่านบทความของ "นันทขว้าง สิรสุนทร" เพิ่มเติม :

...