"สควิดเกม" เล่นลุ้นตายซีรีส์ที่รวมเหล่าคนสิ้นหวัง 456 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 6 เกม เอาชีวิตรอดในโลก Dystopia เพื่อล่าเงินรางวัล 45,600 ล้านวอน ท่ามกลางการบอกเล่าประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่ถูกสอดแทรกลงไปในซีรีส์อย่างจงใจและตรงไปตรงมาทุนสร้าง 20,000 ล้านวอนสควิดเกมเริ่มขั้นตอนโปรดักชันในปี 2020 คัดเลือกนักแสดงเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน และคาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นขั้นตอนการถ่ายทำในเดือนพฤศจิกายน ส่วนต้นทุนในการผลิตอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านวอน ซึ่งถือเป็นตัวเลขทุนสร้างซีรีส์ที่สูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศเกาหลีใต้17 กันยายน 2021Netflix ปล่อย "สควิดเกม เล่นลุ้นตาย" (Squid Game) ซีรีส์สัญชาติเกาหลีใต้ 9 Episode วันแรกทั่วโลกRound 1 ปรากฏการณ์Phenomenon"เราไม่เคยเห็นการเติบโตที่รวดเร็วและก้าวร้าวเช่นที่เกิดขึ้นกับ Squid Game มาก่อน" คิม มินยอง (Kim Minyoung) ผู้บริหารด้าน Creative Activities ของ Netflix ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงความฮิตถล่มทลายเกินคาด82 ล้าน Subscribersขึ้นอันดับหนึ่งของ Netflix ในสหรัฐฯ หลังถูกปล่อยสตรีมเพียง 4 วัน และเป็นอันดับหนึ่งในอีก 90 ประเทศทั่วโลก โดย Netflix คาดว่า จะมียอดผู้ติดตามรับชมมากถึง 82 ล้าน Subscribers ทั่วโลกภายใน 28 วันBridgertonการจัดอันดับความนิยม Content ของ Netflix จะใช้วิธีอิงจากการนับจำนวนผู้รับชม Content อย่างน้อย 2 นาที ในช่วง 28 วันแรกหลังการเปิดตัว โดยหากใช้มาตรฐานนี้ Squid Game จะเป็นซีรีส์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษที่มีคนดูมากที่สุดแซงหน้าซีรีส์ Lupin และเป็นซีรีส์ที่มีคนดูมากที่สุดเป็นลำดับ 2 ของ Netflix ต่อจากซีรีส์เรียกแขกขาประจำอย่าง Bridgerton ด้วยความต้องการรับชมเพิ่ม 481% ผลการวิเคราะห์ของ Parrot Analytics ผ่านการเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ชมผ่านโซเชียลมีเดีย พบว่า ดัชนีความต้องการรับชมซีรีส์สควิดเกมทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดนับจากวันเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสิ้นสุด ณ วันที่ 2 ต.ค. ดัชนีความต้องการทั่วโลกสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 102.9 เท่า ในขณะที่ ดัชนีความต้องการทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากวันเปิดตัวถึง 481% ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนกับซีรีส์อื่นๆ ของ Netflix ที่มักมียอดผู้ชมสูงสุดเพียง 2-3 วัน ก่อนค่อยๆ จมหายไปRound 2 กลยุทธ์พิชิตเกมจำนวนผู้ติดตามนอกสหรัฐฯ65% จากจำนวน 209 ล้าน Subscribers ของ Netflix นอกตลาดสหรัฐฯ และแคนาดา คือกลุ่มก้อนฐานแฟนที่ยากจะมองข้าม ด้วยเหตุนี้ Netflix จึงเริ่มหาพันธมิตรครีเอเตอร์ในแต่ละประเทศ เพื่อลงทุนผลิต Original Content ภาษาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆการวางเดิมพันกับ K-POP700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คือ จำนวนเงินที่ Netflix ทุ่มให้กับการผลิตภาพยนตร์และซีรีส์สัญชาติเกาหลีใต้รวม 80 เรื่อง ระหว่างปี 2015 - 2020 หลังมองเห็นการเติบโตของคอนเทนต์เกาหลีอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ Netflix ยังมีแผนที่จะทุ่มเงินอีกถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับเพียงเฉพาะวงการ K-POP อีกด้วยตลาดสหรัฐฯ เริ่มเปิดรับจากข้อมูล Netflix นอกจากซีรีส์เกาหลีจะฮิตติดลมบนไปทั่วภูมิภาคเอเชียแล้ว ในปี 2019 ยังพบว่า ชาวอเมริกันรับชมซีรีส์เกาหลีเพิ่มขึ้นถึง 200% รวมถึงยังยอมเปิดรับการดูซีรีส์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้นถึง 71% แต่ข้อมูลที่ชัดมากไปกว่านั้นคือ สมาชิก Netflix ในสหรัฐฯ หากรู้สึกสนุกกับคอนเทนต์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษแล้ว มากถึง 97% มีแนวโน้มที่จะเลือกชมคอนเทนต์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ต่อไปอย่างน้อยหนึ่งคอนเทนต์ #SquidGameแม้จะเริ่มต้นได้สวยในเกาหลีใต้และภูมิภาคเอเชีย แต่การโปรโมตที่สุดเบาบางในสหรัฐฯ ทำให้สควิดเกมยังไม่ถูกพูดถึงมากนักในโลกตะวันตก แต่แล้วเมื่อกระแสผ่านไวรัลคลิปและสารพัด Memes จากเกมในซีรีส์ ถูกจุดติดใน Twitter และ TikTok มันจึงกลายเป็นซีรีส์ที่ถูกบอกต่อแบบปากต่อปาก ว่าควรไปลองดูกันในที่สุดอ๋อ...หากใครยังไม่ทราบเฉพาะ #SquidGame ใน TikTok มียอดการรับชมรวมกันมากกว่า 22,800 ล้านครั้งแล้วRound 3 เบื้องหลัง เกมเล่นลุ้นตาย10 ปี แห่งการรอคอยฮวัง ดงฮยอก (Hwang Dong-hyuk) ผู้กำกับและผู้เขียนบท Squid Game เริ่มต้นพัฒนาบทมาตั้งแต่ปี 2008 และเขียนร่างแรกเสร็จในปี 2009 อย่างไรก็ดี เขาต้องใช้เวลาเกือบ 6 เดือน กว่าที่จะเขียน 2 ตอนแรกเสร็จ แต่ที่นานกว่าการเขียนบท คือ การรอคอยผู้สนับสนุน เพราะกว่าที่ Netflix จะยอมหยิบมาพิจารณาก็ปาเข้าไปถึงปี 2019 โดยในระหว่างนั้น ฮวัง ดงฮยอก ต้องทนกับการถูกปฏิเสธจากสตูดิโอต่างๆ มาแล้วมากมาย ด้วยเหตุผลเดิมๆ ที่ว่า "แปลกประหลาดและรุนแรงเกินไป"Covid-19 "โลกเปลี่ยนไปแล้ว การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ จนทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยมากยิ่งขึ้น เอาง่ายๆ แม้แต่วัคซีนก็ยังถูกแบ่งระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน ประเด็นเหล่านี้ทำให้การพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำดูใกล้ชิดและเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นกับผู้คนในยุคนี้" ฮวัง ดงฮยอก เชื่อว่านี่คือ สาเหตุหลักที่ Squid Game ได้รับการยอมรับแรงบันดาลใจ ฮวัง ดงฮยอก ให้เหตุผลถึงการเลือกเกมที่เด็กๆ เกาหลี รวมถึงตัวเขาเองเคยเล่นในชีวิตจริงมาใช้ในซีรีส์ เกมที่ราบเรียบและเข้าใจได้ง่าย จะทำให้ผู้ชมมุ่งโฟกัสไปที่ตัวละคร มากกว่าที่จะมาเสียเวลาตีความกฎกติกาต่างๆ ในเกมจนเสียอรรถรสในการรับชมดราม่าสุดเข้มข้นในซีรีส์II Mare การเปลี่ยนลุคแทบจำไม่ได้ของ อีจองแจ (Lee Jung-Jae) เพื่อรับบทนำใน Squid Game อาจทำให้คุณต้องขยี้ตาหลายรอบว่า นี่คือ พระเอกสุดอบอุ่นในภาพยนตร์รักสุดโรแมนติกแฟนตาซีที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำไม่รู้ลืมแห่งปี 2000 จนกระทั่งฮอลลีวูดหยิบไป Remake อย่าง II Mare จริงๆ น่ะหรือ?K-POPSquid Game คืออีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งชัยชนะที่จับต้องได้อีกครั้งของ K-POP บนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา ตามรอย Gangnam Style, Parasite และ BTS และการฟูมฟักอาวุธวัฒนธรรมให้ค่อยๆ แข็งแรงขึ้นตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงของรัฐบาลเกาหลีใต้ ความสำเร็จจะไม่หยุดลงเพียงเท่านี้แน่นอน.ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน รายงาน