จากสถานการณ์ยอดผู้ป่วย COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันเป็นจำนวนกว่า 9,000 ราย และคาดว่าพรุ่งนี้ยอดผู้ป่วยสะสมอาจทะลุหมื่นราย และเพื่อรองรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นๆ ในระยะเวลาอันสั้นนับตั้งแต่การระบาดระลอกใหม่เมื่อกลางเดือน ธ.ค. 63 ที่มีจุดเริ่มจากตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร
ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มที่คาดว่าพรุ่งนี้อาจจะเข้าสู่หลักหมื่น จากผู้ติดเชื้อรวม 57 จังหวัดทั่วไทยนี้ อาจทำให้ขีดความสามารถของโรงพยาบาลในการรับ ดูแลรักษาผู้ป่วยอาจไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องสำรองโรงพยาบาลสนาม หรือ Field hospital หรือ Cohort center ให้เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการดูแลและประคับประคองผู้ป่วย COVID-19
แต่บ่อยครั้งมักมีข่าวการต่อต้านของประชาชนในพื้นที่บางแห่งไม่ประสงค์ให้ตั้งโรงพยาบาลสนาม จนต้องมีการหาที่ตั้งใหม่ เนื่องจากประชาชนหลายรายก็ยังกังวลใจ กลัวเชื้ออาจจะแพร่ออกมาได้หรือไม่ เพื่อคลายความกังวลใจ หลักเกณฑ์และขั้นตอนการตั้ง รพ.สนามอย่างปลอดภัยเป็นเช่นไร เรามีคำตอบจาก นพ.นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมตรวจความพร้อมรูปแบบของการจัดทำโรงพยาบาลสนาม
...
: 13 พื้นที่สำคัญในโรงพยาบาลสนาม รับมือ COVID-19:
โรงพยาบาลสนามเป็นการจัดตั้งที่พัก สำหรับสังเกตอาการผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ ในพื้นที่ที่มีการควบคุม โดยผ่านการคัดกรอง ทั้งนี้ไม่รับกลุ่มที่มีอาการ หรือมีความเสี่ยง สำหรับหลักพิจารณาการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามนั้น
จากข้อมูล นพ.นเรศฤทธิ์ สามารถจัดตั้งขึ้นในบริเวณที่เป็นโรงพยาบาล หรือ สถานที่ที่ไม่ได้เป็น หน่วยงานด้านสาธารณสุขมาก่อน เช่น วัด โรงเรียน โรงยิม หรือ หอประชุมขนาดใหญ่ โดยต้องอากาศโปร่ง และเป็นสถานที่ที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี อยู่ห่างจากชุมชน แต่มีระบบน้ำ ประปา และไฟฟ้าเข้าถึง
ส่วนระบบการดูแลการรักษาผู้ป่วยเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขโดย มีระบบดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และระบบสำคัญๆ ของ รพ. โดยเฉพาะระบบการควบคุมการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการระบาด สู่บุคคลภายนอกและชุมชน โดยปกติโรงพยาบาลสนาม ประกอบด้วยพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
1. ห้องพัก ห้องอาหาร ห้องสุขา สำหรับบุคลากร
2. หอผู้ป่วย และห้องสุขา
3. ห้องปฏิบัติการ
4. แผนกโภชนาการ
5. พื้นที่สำนักงานสำหรับการบริหารจัดการ การเงิน ธุรการ ประชาสัมพันธ์
6. คลังเวชภัณฑ์ ยา พัสดุ
7. หน่วยรักษาความปลอดภัย
8. หน่วยยานพาหนะ
9. หน่วยจ่ายกลาง (อาจใช้ร่วมกับโรงพยาบาลหลักที่อยู่ใกล้)
10. แผนกบริการผ้า ซักฟอก (อาจใช้ร่วมกับโรงพยาบาลหลักที่อยู่ใกล้
11.แผนกขยะ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (อาจใช้ร่วมกับโรงพยาบาลหลักที่อยู่ใกล้)
12. ห้องเก็บศพการจัดการศพ
...
: เปิดรายชื่อล่าสุด โรงพยาบาลสนาม :
และจากข้อมูลของ กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 8 ม.ค. 64 ระบุ จำนวนผู้ป่วย COVID-19 ระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563 เป็นต้นมาซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสมุทรสาคร มีจำนวนผู้ป่วย 5,604 คน เสียชีวิต 7 คน ยังอยู่ในโรงพยาบาล 2,599 คน อยู่ที่โรงพยาบาลสนาม 1,703 คน ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงการตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์การระบาดหนักในช่วงนี้แต่ประชาชนหลายคนยังกังวลใจและอยากทราบว่า มีโรงพยาบาลสนามที่เตรียมไว้สำหรับรองรับการรักษาผู้ป่วยโควิดที่ใดบ้าง จากการรวบรวมข้อมูล มีรายละเอียด ดังนี้
สมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากที่มีจุดเริ่มจากแรงงานต่างด้าว ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามจำนวน 8 ศูนย์ ได้แก่ ตลาดกลางกุ้ง(ศูนย์ 1), สนามกีฬากลาง(ศูนย์ 2), วัดโกรกกราก(ศูนย์ 3), วัฒนาแฟคตอรี่(ศูนย์ 4), เทศบาลตำบลนาดี(ศูนย์ 5), วัดสุทธิวาตวราราม(ศูนย์ 6), วัดเทพนรรัตน์(ศูนย์ 7), อบต.ท่าทราย(ศูนย์ 8) สามารถรองรับการพักอาศัยได้ 2,092 เตียง สำหรับข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิดล่าสุด (8 ม.ค. 64 ) ในสมุทรสาคร มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 37 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,142 ราย
...
ปทุมธานี โดย รพ.ธรรมศาสตร์ เปิด รพ.สนาม จำนวน 308 เตียง ในการรักษาได้ร่วมมือกับทุก รพ.ในปทุมธานี และทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 4 อีก 8 จังหวัดประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ในการรับส่งต่อผู้ป่วยโควิด มารักษาที่ รพ.สนามธรรมศาสตร์ ซึ่งดีเดย์รับรายแรกในวันที่ 11 ม.ค. 64 สำหรับข้อมูล ผู้ติดเชื้อโควิดล่าสุด (8 ม.ค. 64) อ่างทอง ผู้ป่วยยืนยันสะสม 76 ราย, สระบุรี รวมป่วยสะสม 12 ราย 1 และพระนครศรีอยุธยา พบผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ 23 ราย รักษาหายแล้ว 4 ราย
ชลบุรี นายณรงค์ อภิกุลวณิช รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติงานหรือบริหารจัดการ (CEO) ในขตสุขภาพที่ 6 (เขตตรวจราชการที่ 2, 8 และ 9) ประกอบด้วย 8 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยกับทีมข่าวฯ ว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลสนาม 3 แห่ง รองรับผู้ติดเชื้อได้ทั้งสิ้น 726 คน ดังนี้
...
- โรงพยาบาลสนามศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จำนวน 320 เตียง
- โรงพยาบาลสนามค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี รวม 174 เตียง
- โรงพยาบาลสนาม สนามฝึกกองทัพเรือ บ้านจันทเขลม หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จ.จันทบุรี รวม 232 เตียง
นนทบุรี จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ณ โรงพยาบาลบางบัวทอง 2 ซึ่งเปิด Cohort ward ที่ชั้น 2 อาคารผู้ป่วยนอก จำนวน 35 เตียง มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รักษาจำนวน 12 ราย และเตรียมเปิดโรงพยาบาลสนามที่อาคารใหม่ซึ่งยังไม่เปิดใช้งานอีก 100 เตียง เพื่อดูแลรักษาเฉพาะผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยในจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดข้างเคียง สำหรับผู้ติดเชื้อสะสม ณ วันที่ 8 ม.ค. 64 รวม 253 ราย
สำหรับข้อมูลผู้ติดเชื้อล่าสุด (8 ม.ค. 64) จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ 25 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมระลอกใหม่ 209 ราย, ฉะเชิงเทรา ผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 15 ราย, ชลบุรี รวมป่วยสะสม 478 ราย, ระยองพบว่าวันนี้มี ผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้น 7 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 492 ราย, จันทบุรี ผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 192 ราย, ตราด ผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 32 ราย
นอกจากนี้ รพ.สนามกระทรวงสาธารณสุข ยังเตรียมให้ทุกจังหวัดเตรียมรองรับ ทั้งนี้ นายณรงค์ แนะประชาชนต้องร่วมมือกันสู้กับเชื้อโควิดกันอีกครั้ง โดยขอให้ประชาชนทุกคนช่วยกันอยู่บ้าน กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ลดการออกไปในพื้นที่แออัด และดูแลตัวเอง และติดตามดูว่าตัวเองมีอาการไข้หรือไม่
"ตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่าเราติดหรือไม่ติด เพราะตอนนี้หากติดเชื้อแต่ยังไม่มีอาการก็แพร่เชื้อได้ ดังนั้น ทุกคนต้องดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ครอบครัวไหนที่มีผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงไปอยู่ใกล้ชิด งดทำกิจกรรมนอกบ้าน และถ้ามีอาการผิดปกติ รีบไปพบแพทย์” นายณรงค์ กล่าว
: ข่าวน่าสนใจ :