“ว่านหางจระเข้” หลายๆ คนอาจจะเคยเห็น และมองผ่านไม่ได้ให้ความสำคัญใดๆ เพราะอาจยังไม่รู้ว่า "สรรพคุณว่านหางจระเข้" นั้นมีมากมาย ทั้งช่วยเสริมความงาม สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวพรรณ รักษาแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ได้แล้ว ยังทำอะไรได้เยอะกว่าที่คุณคิด โดยเฉพาะผู้ปวดหัวไมเกรน หรือปวดหัวข้างเดียวบ่อยๆ คงต้องหามาปลูกไว้ในบ้านเสียแล้ว
สรรพคุณว่านหางจระเข้ทั้งในด้านการแพทย์ การรักษาโรค รวมถึงด้านความงามมีอะไรบ้าง วันนี้เรามารู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้ให้มากขึ้น รวมถึงวิธีใช้ และข้อควรระวังจาก “แพทย์แผนไทย กิตติยา ขันทอง” แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ รอง ผอ.รพ.การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ผสมผสาน
: วิธีปอกเปลือกว่านหางจระเข้ ระวังยางสีเหลือง :
ว่านหางจระเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera ชื่อสามัญ Aloe, Aloe vera, Aloin, Barbados, Jafferabad, Star cactus มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง) เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบเดี่ยว หนา ยาวและอวบน้ำ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีหนามแหลมเล็กๆ ข้างในใบมี “วุ้นสีเขียวอ่อน” ซึ่งวุ้นนี้เอง แพทย์แผนไทย กิตติยา บอกเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์บรรเทาโรคต่างๆ ทั้งภายนอก ภายในร่างกาย รวมทั้งใช้บำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย
...
สรรพคุณสมุนไพรว่านหางจระเข้ ที่รู้จักกันดี คือ นำมาทาช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก น้ำมันกระเด็นใส่ เตารีดนาบ ลดการแสบผิวจากแสงแดดได้ เพราะมีสาร Glycoprotein ซึ่งมีฤทธิ์เย็น ช่วยคลายความร้อน และในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
ข้อควรระวังก่อนนำวุ้นหางจระเข้มาใช้ แพทย์แผนไทย กิตติยา แนะให้ระวัง “ยางสีเหลือง” ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับวุ้น ซึ่งมีฤทธิ์ทางขับถ่าย และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ คันได้ วิธีปอกเปลือกให้ได้วุ้นว่านหางจระเข้ให้ปลอดภัย ต้องปลอกเอาเปลือกออกผ่านน้ำก๊อกจนกว่ากลิ่นยางสีเหลืองจะหมดไป
ส่วนการนำวุ้นว่านหางจระเข้มากินต้องนำไปผ่านความร้อนด้วยการต้ม ไม่นิยมกินสดๆ หากใช้ว่านหางจระเข้เป็นยาทาภายนอกต้องทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรดื่มน้ำว่านหางจระเข้ เพราะจะเพิ่มอินซูลินในตับ อาจมีอันตรายทำให้หมดสติได้
: 7 ประโยชน์น่าทึ่งวุ้นว่านหางจระเข้ ตัวช่วยปวดหัวไมเกรน สะเก็ดเงิน :
นอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้ว ยังมีประโยชน์ของว่านหางจระเข้อื่นๆ อีกมากมาย ไปดูกันเลย...
1. ฤทธิ์เย็นของวุ้นว่านหางจระเข้ ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ไม่แห้งแตก กระตุ้นเซลล์ผิวหนังได้ดี โดยนำมาพอกหน้า ทาผิว ช่วนสมานผิวแห้งจากอากาศแห้ง โดนเเดด ทำให้ผิวอุ้มน้ำได้มากขึ้น
2. ลดอาการผิวแห้งในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จะช่วยลดการอักเสบ แสบคันและการตกสะเก็ด
3. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ สมานแผลในกระเพาะอาหาร ลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ด้วยการกินเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้เป็นประจำ โดยนำมาทำเป็นวุ้นลอยแก้วในน้ำใบเตย น้ำมะพร้าวอ่อน หรือทำเป็นเครื่องดื่ม
...
4. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย โดยใช้น้ำยางสีเหลืองที่เปลือกว่านหางจระเข้ซึ่งมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) มีฤทธิ์เป็นยาระบาย นำน้ำยางสีเหลืองไปเคี่ยวให้น้ำระเหยออกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น จะได้สารสีน้ำตาลเกือบดำ หรือเรียกว่า "ยาดำ" นำไปใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณต่างๆ ที่ต้องการให้มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
6. ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต
7. แก้อาการปวดไมเกรน ปวดศีรษะเรื้อรัง ด้วยการตัดใบสด แล้วฝานวุ้นให้เป็นแผ่นบางๆ ทาปูนแดงแล้วนำปิดแปะบริเวณขมับไว้ประมาณ 10 นาที ฤทธิ์เย็นของว่านหางจระเข้จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
ประโยชน์ว่านหางจระเข้มากมายเช่นนี้ ใครที่เคยมองผ่าน ไม่เห็นคุณค่า ต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่นะคะ หันมาปลูกว่านหางจระเข้ไว้สักกระถางในบ้านกันดีกว่าค่ะ
: ข่าวน่าสนใจ :
...