ฤดูหนาว อากาศค่อนข้างเย็นสบาย ประจวบเหมาะกับมีช่วงวันหยุดยาวหลายวัน และใกล้เทศกาลปีใหม่ ผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบผจญภัยจึงนิยมไปพักผ่อน ด้วยวิธีเดินเท้าขึ้นภูเขาสูงๆ ในอุทยานแห่งชาติต่างๆ เช่น ภูกระดึง จ.เลย ที่มีระดับความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตร เพื่อกางเต็นท์นอนบนลานหญ้า ณ จุดสูงสุดยอดดอย ที่บริเวณคอกเมย ความสูง 1,316 เมตร เพื่อ "สัมผัสอากาศหนาว"  และ "ชมทะเลหมอก" ยามเช้าตอนพระอาทิตย์ขึ้น

แต่กว่าจะเดินเท้าพิชิตยอดเขาสักครั้ง ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดคิดเช่นนักท่องเที่ยว จ.สมุทรสาคร ชายวัย 62 ปี ที่เสียชีวิตกะทันหัน เพราะ "หัวใจวายเฉียบพลัน" หลังเดินขึ้นภูกระดึงได้เพียง 300 เมตร แล้วเป็นลมหมดสติ ถึงแม้ทีมกู้ภัยอุทยานฯ และแพทย์ทำ CPR จนฟื้นกลับมาแล้วก็ตาม

...

หลังเกิดเหตุการณ์นี้ หลายคนอาจนึกกลัว และไม่กล้าเดินขึ้นภูกระดึง แต่การได้พิชิต "ภูกระดึง" สักครั้งในชีวิต ถือเป็นความท้าทายและสำเร็จอย่างราบรื่นได้ หากเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทางตามคำแนะนำจาก นพ.สรฤทธิ์ เกียรติเฟื่องฟู แพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้มากประสบการณ์ด้านการช่วยเหลือกู้ชีพ และเป็นแพทย์ประจำทีมปีนเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งมีประสบการณ์บนภูเขาสูงมา 8 ปี ดังนี้

1. เตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

นพ.สรฤทธิ์ บอกว่า การเดินขึ้นภูกระดึง หรือภูเขาสูงในอุทยานแห่งชาติที่อื่นๆ ของไทย เส้นทางไกลและชัน ต้องใช้แรงในการเดินหลายชั่วโมง และหลายสิบกิโลกว่าจะถึงยอดเขา เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเดินทางท่องเที่ยวเดินขึ้นเขาในหน้าหนาว ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอก่อนการเดินขึ้นเขา 1-2 วัน หากมีอาการป่วยไม่ควรเดินทาง

ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หอบหืด ต้องเตรียมยาประจำตัว เอกสารทางการแพทย์ไปด้วย ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนการเดินทาง เพื่อป้องกันความเสี่ยง และควรบอกคนร่วมทริปให้รับรู้ว่ามีโรคประจำตัวเพื่อจะได้เข้าใจและหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ช่วยทัน

2. เตรียมเครื่องแต่งกายกันหนาวให้เหมาะสม

ต้องดูแลตัวเองไม่ให้หนาวเกินไป โดยใส่เสื้อกันหนาวที่สามารถกันน้ำ กันลม และสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย เช่น สวมเสื้อปิดคอ เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพราะหากร่างกายหนาวเกินไปจะทำให้ไม่สบาย จุดที่ต้องให้ความอบอุ่นเป็นพิเศษ คือ ศีรษะ คอ และหน้าอก เนื่องจากมีเส้นเลือดใหญ่ใกล้ผิวหนังที่ทำหน้าที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญของร่างกาย หากอวัยวะขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงก็จะเป็นอันตรายได้ และห้ามดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก้หนาวเด็ดขาด เพราะนั่นเป็นการทำที่ผิดวิธี

...

3. จัดเสบียงให้เพียงพอทั้งอาหาร น้ำดื่ม

ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โอกาสเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเกิดหมดแรง เป็นลม หมดสติได้ เพราะฉะนั้นควรกินข้าว กินยาตามเวลาให้เรียบร้อยก่อนเดินทางขึ้นเขา ระวังอย่าให้ร่างกายขาดน้ำ โดยสังเกตจากสีปัสสาวะต้องใส หากปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มคือภาวะร่างกายขาดน้ำ จะส่งผลให้หน้ามืด อ่อนเพลีย เป็นลมแดด หรืออาจเกิดภาวะรุนแรงไตวายได้ในผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ

4. ศึกษาเส้นทางเดินขึ้นเขา ข้อมูลให้ความช่วยเหลือของอุทยานฯ

โดยเมื่อถึงอุทยานฯ ให้สังเกตว่ามีหน่วยพยาบาล จุดขอความช่วยเหลือฉุกเฉินตรงไหน พร้อทั้งขอเบอร์โทรฉุกเฉินเพื่อติดต่อขอความช่วยเหลือ รวมถึงศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือ CPR และเตรียมยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาล้างแผล ไว้ใช้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ลื่นหกล้ม ข้อเท้าพลิกให้กินยาแก้ปวด พันข้อเท้า ให้เพื่อนช่วยพยุง อย่าลงน้ำหนักที่เท้าเยอะ

...

5. ร่างกายไม่ไหวอย่าฝืน เหนื่อยต้องนั่งพัก

เพราะการเหนื่อยทำให้หัวใจทำงานหนัก ให้หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ 5-6 ครั้งต่อนาที เมื่อหายเหนื่อยแล้วจึงเดินทางต่อ โดยค่อยๆ เดินขึ้นเขา อย่ารีบวิ่ง อย่ารีบเดิน เนื่องจากกะเวลาผิด ทำให้มีเวลาจำกัด กลัวไม่ทันดูพระอาทิตย์ขึ้น เมื่อร่างกายเหนื่อยจะมีความเสี่ยงสูงที่กระตุ้นโรคประจำตัวได้ เช่น หอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต หากร่างกายไม่แข็งแรง ไม่ฟิตพอ จะเป็นโอกาสกระตุ้นโรคประจำตัวได้ เช่น หอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต. 

: ข่าวน่าสนใจ :

...