เคยเป็นไหม ก่อนออกจากคอนโดหรือบ้าน เดินดูหลายรอบซ้ำๆ ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแอร์ ถอดปลั๊กหรือยัง ประตูห้องปิดสนิทดีหรือเปล่า แต่พอออกจากบ้านไปแล้วกลับรู้สึกไม่มั่นใจ เครียด กังวล ว่าล็อกบ้านหรือยัง เปิดน้ำทิ้งไว้ไหม จนต้องย้อนกลับมาเช็กอีกครั้ง

อาการดังกล่าวที่เกิดบ่อยครั้ง เป็นแค่ “ความกังวล” หรืออาการโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD (Obsessive-Compulsive Disorder) โรคทางจิตเวชที่หลายๆ คนมองข้ามกันแน่? เรามาทำความรู้จัก และเช็กไปพร้อมกันว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า

: 10 อาการส่อเค้าโรคย้ำคิดย้ำทำ :

โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องเสียเวลา มีความคิดซ้ำๆ จนทำให้รู้สึกกังวลใจ และทำอะไรซ้ำๆ เพื่อลดความกังวล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและพฤติกรรมนั้นๆ ได้ จนทำให้เกิดความเครียด และในบางรายอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ ซึ่งรคย้ำคิดย้ำทำพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉลี่ยอายุ 20 ปี จะเริ่มมีอาการตามชื่อโรค แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอาการ ดังนี้

...

1.อาการย้ำคิด (obsession) 

จะมีความคิดวิตกกังวลตลอดเวลา บางครั้งเกิดจากการจินตนาการไปเองว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น ที่มีพื้นฐานมาจากความกลัวของผู้ป่วยเอง ถึงแม้จะรู้ว่าสิ่งที่คิด กังวลนั้นไร้สาระ ไม่มีเหตุ แต่กลับไม่สามารถหยุดความคิดนั้นได้ ตัวอย่างความคิดซ้ำๆ เช่น
- มีความคิดยึดติด หรือเชื่ออย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องศาสนา หรือเรื่องเพ
- คิดว่ามือตนเองสกปรก
- วิตกกังวลถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิต คิดว่าลืมล็อกประตูบ้าน ลืมปิดไฟ ลืมปิดเตาแก๊ส ลืมถอดปลั๊ก ลืมล็อกรถ
- กลัวอันตรายต่างๆ
- กลัวสิ่งสกปรก เชื้อโรค กลัวการสัมผัสผู้อื่น หรือสิ่งของของผู้อื่น
- ไม่สบายใจทันทีเมื่อเห็นความไม่เป็นระเบียบ สิ่งของที่จัดไม่เท่ากัน ไม่เรียบร้อย ไม่สมดุล

2.อาการย้ำทำ (compulsion)

เป็นการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความคิด ความกังวลของตัวเอง เพื่อลดความไม่สบายใจ ความกลัว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ตามที่ตนหวั่นเกรง โดยไม่สามารถหยุดการกระทำได้ ส่งผลให้บางคนเครียดหนักจนทำงานไม่ได้ หรือบางรายถึงกับกลัวการออกไปข้างนอก การทำซ้ำๆ ที่เกิดจากโรค เช่น

- เดินตรวจความเรียบร้อยซ้ำๆ เช่น ประตูบ้าน ปลั๊กไฟ ก๊อกน้ำ หรือเตาแก๊ส หลายรอบ หรือบางคนย้อนกลับจากที่ทำงานมาตรวจว่าไม่ได้ลืมปิด
- ล้างมือซ้ำๆ หรืออาบน้ำบ่อยเกินความจำเป็น เช่น ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา สวมถุงมือเวลาออกนอกบ้าน เพราะกลัวสิ่งสกปรกและเชื้อโรค หรือทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ แบบซ้ำๆ
- หมั่นจัดสิ่งของให้เป็นระเบียบ ที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่น ต้องหันไปทิศทางเดียวกันทั้งหมด
- พูดขอโทษซ้ำๆ มากเกินปกติ และไม่สมเหตุสมผ

: 3 สาเหตุโรคย้ำคิดย้ำทำ พ่อแม่พึงระวัง :

สำหรับสาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ หากคุณมีลักษณะดังนี้ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนี้

1.ปัจจัยทางชีวภาพ จากการทำงานผิดปกติในสมอง และระบบประสาทที่มีการทำงานบกพร่อง อาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่ สมองบางส่วนทำงานมากเกินปกติ หรือสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ควบคุมภาวะอารมณ์ความรู้สึกเกิดความผิดปกติ
2.พันธุกรรม ที่อาจถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก
3.สภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาชีวิตที่รุนแรง เหตุการณ์สะเทือนใจในอดีต หรือเหตุการณ์รุนแรงในวัยเด็กที่อาจถูกทารุณกรรมทั้งทางกายและทางใจ

...

: 8 วิธีรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ คนรอบข้างช่วยได้ :

จากข้อมูล เราจะเห็นได้ว่า “โรคย้ำคิดย้ำทำ” เกิดจากสาเหตุที่ซับซ้อน การรักษาโรคจึงไม่ใช่การทำใจปล่อยวางเช่นหลายคนคิดเองว่าคงไม่มีผลร้ายอะไร โรคนี้จำเป็นอย่างยิ่งต้องให้จิตแพทย์ช่วย บรรเทา ควบคุมอาการ รักษาด้วยยาร่วมกับการบำบัด

การรักษาด้วยยานั้น แพทย์จะใช้ยาในกลุ่มแก้โรคซึมเศร้า, ยาคลายกังวล เพื่อช่วยลดอาการวิตก รวมถึงยาต้านโรคจิต ซึ่งมักใช้ควบคู่ไปกับยาแก้ซึมเศร้า ส่วนการบำบัดเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุด แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป และใช้เวลานานในการปรับตัว อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำจึงจะค่อยๆ ดีขึ้น โดยแพทย์จะแก้จากพฤติกรรมและความคิดให้เลิกคิด และชินชากับสิ่งที่กลัวมากเกินไปบ่อยๆ เพื่อสักวันเขาจะเลิกกลัวไปเอง

วิธีบำบัดจะให้จับสิ่งของที่เขาคิดว่าสกปรกสักพัก แล้วค่อยให้ล้างมือ จากนั้นทำซ้ำๆ เว้นระยะห่างโดยการให้ล้างมือไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้ป่วยชินและต่อสู้กับความกลัวได้ ซึ่งคนรอบข้างก็สามารถช่วยฝึกบำบัดได้ แต่ต้องมีความอดทนสูง พึงระวังอย่าเครียดและใช้อารมณ์กับผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจในการรักษาได้ สำหรับในรายที่อาการรุนแรง อาจมีการรักษาด้วยวิธีฝังแท่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) หรือการผ่าตัด (cingulotomy)

...

: 8 วิธีเช็กตนเอง ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ : 

เพราะโรคย้ำคิดย้ำทำเมื่อเป็นแล้วยังรักษาได้ แต่กว่าจะรักษาหายต้องใช้เวลานานหลายปี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ในการป้องกันจากโรคนี้ก็ยังไม่แน่ชัด ดังนั้นคุณลองทบทวนและสังเกตพฤติกรรมตัวเอง หากมีอาการหนึ่งอาการใดตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นจนทำให้เสียเวลาโดยไม่จำเป็นไปกับพฤติกรรมดังกล่าวมากกว่า  1 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ให้รีบไปพบแพทย์หาทางรักษา จะช่วยลดความรุณแรงของโรคได้ นอกจากแพทย์ช่วยเหลือแล้ว ตัวเราเองก็สามารถช่วยลดความรุณแรงของโรคย้ำคิดย้ำทำได้ ด้วยวิธีเหล่านี้

1.ถ่ายรูปหรือวิดีโอบันทึกก่อนออกจากคอนโด หรือบ้าน ว่าไม่ได้เสียบปลั๊ก ล็อกประตูแล้ว หากรู้สึกกังวลให้นำรูปกับวิดีโอมาเปิดดูเพื่อคลายความกังวล
2.รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ทั้งการออกไปทำงาน นัดพบเพื่อน
4.เลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัว

...

5.ทำกิจกรรมต่างๆ ที่ชื่นชอบ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ
6.เรียนรู้วิธีรับมือกับโรคย้ำคิดย้ำทำ พร้อมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
7.ต้องอดทนในการรักษาทั้งยา และการเข้ารับการบำบัดจากนักจิตบำบัด
8.กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากพบว่ารับมือไม่ไหวให้รีบพบแพทย์ทันที

เมื่อรู้จัก “โรคย้ำคิดย้ำทำ” กันแล้ว เป็นโรคร้ายที่ช่างน่ากลัว เพราะฉะนั้นอย่าลืมปรับเปลี่ยนและหมั่นสังเกตพฤติกรรมตัวเองนะคะ จงระวังและอย่าปล่อยให้เป็น “ระเบิดเวลา” ซุกซ่อนในร่างกาย เพราะโรคนี้เป็นแล้วไม่มีทางรักษาหาย.

(ขอบคุณข้อมูล : รพ.ราชวิถี, รพ.เปาโล)

: ข่าวน่าสนใจ :