“การนอนกรน” เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี แต่มีน้อยรายที่จะรู้ว่า “การนอนกรน” อันตรายกว่าที่คิด
หากคุณหรือสามีกรนเสียงดังและกรนถี่ตลอดคืนระหว่างนอน โปรดอย่าชะล่าใจ เพราะเสียงกรนไม่ได้แค่สร้างความน่ารำคาญ แต่ความจริงแล้วนั่นเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพที่ไม่คาดคิด นําไปสู่การเกิด “โรคนอนกรน” และหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA) จนเสี่ยงต่อชีวิตได้
: นอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจาก :
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea) เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ในคนวัยกลางคน อายุระหว่าง 30-60 ปี แต่มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง การนอนกรนเกิดจากภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย เกิดขึ้นได้อย่างไร ข้อมูลทางการแพทย์หลายสถาบันระบุไว้ เกิดจาก ภาวะอุดกั้น ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้นที่หย่อนตัวขณะหลับ ส่งผลให้หายใจลำบาก เกิดเสียงกรน และเมื่อเป็นมากจนทำให้ไม่สามารถหายใจเอาอากาศเข้าสู่ร่างกายได้ก็อาจเสียชีวิตได้
...
: 9 อาการเตือน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ :
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นภัยเงียบยามวิกาลที่น่ากลัว บางคนอาจไม่ได้สังเกตสุขภาพตัวเอง แต่หากคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้ที่เด่นชัด นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
1. นอนกรนเสียงดังมากจนได้ยินถึงนอกห้องเป็นประจำทุกวัน
2. เสียงกรนหยุดเป็นบางช่วง เพราะหยุดหายใจ สักพักตามมาด้วยเสียงหายใจเฮือกใหญ่เพื่อหายใจเอาอากาศเข้าไปหลังหยุดหายใจ จนบางครั้งสะดุ้งตื่น
3. สำลักและเจ็บหน้าอกในตอนกลางคืน
4. ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
5. หลังตื่นนอน รู้สึกไม่สดชื่น อยากนอนต่ออีกเพราะนอนไม่เต็มอิ่ม
6. ระหว่างวันจะง่วงนอนมากผิดปกติ จนอาจเผลอนอนหลับขณะทำงานหรือขับรถ
7. ปวดหัวหลังตื่นนอน หรืออาเจียน
8. เจ็บคอ คอแห้ง เพราะหายใจทางปาก
9. สมาธิสั้น ความจำลดลง
: 10 โรคร้ายข้างเคียง นอนกรนรุนแรงจนหยุดหายใจ :
เห็นไหมล่ะคะ ผลที่ตามมาจากการนอนกรนอันตรายแค่ไหน และมีมากมายหลายอย่างเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีผลร้ายข้างเคียงขณะนอนกรนและหยุดหายใจร่วมด้วย ส่งผลให้เกิดโรคตามมาหลายๆ อย่างจากการนอนหลับไม่พอ อาทิ โรคเครียด โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อัมพฤกษ์ อัมพาต และภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ส่วนผู้หญิงประจำเดือนอาจจะมาไม่ปกติ เป็นต้น
...
: 9 สาเหตุหลักในชาย หญิง ส่งเสริมเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ :
ส่วนสาเหตุการเกิด “โรคนอนกรน” และหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและต้องพึงระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือกลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เพราะนอกจากไขมันสะสมที่พุงแล้ว ยังไปสะสมบริเวณเนื้อเยื่อรอบคอหอย ทำให้หายใจลำบากได้ง่าย ซึ่งระดับความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่แต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ดังนี้
1. โครงสร้างใบหน้าขากรรไกรเล็ก
2. ผู้ที่มีลิ้นใหญ่
3. ต่อมทอนซิลโต
4. อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนตัวง่ายขึ้น
5. ผู้ที่เป็นโรคระบบประสาท โรคทางสมอง
6. ผู้ที่กินยานอนหลับบางชนิด
7. สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
8. ผู้หญิงที่มีภาวะหมดประจำเดือน
: 3 ขั้นตอนการรักษา ตามความรุนแรงของอาการ :
...
จากข้อมูลทั้งหมด หากคุณสงสัยว่าอาจมีอาการของโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย จากนั้นแพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของอาการแต่ละรายด้วยวิธีการ ดังนี้
1. ใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรม คือ ฟันยาง เพื่อป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
2.(Continuous Positive Airway Pressure) ใช้รักษาได้ผลดีและปลอดภัยสูง สำหรับผู้ที่มีความรุนแรงระดับปานกลางถึงมาก โดยเครื่องจะเป่าแรงดันลมผ่านหน้ากากที่ครอบจมูก หรือปาก เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจเข้าและออกไม่ให้ตีบแคบขณะนอนหลับ
3. ผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ ขยาย ตกแต่ง แก้ไขทางเดินหายใจในส่วนที่มีปัญหา เช่น บริเวณเพดานอ่อนลิ้นไก่โคนลิ้น เยื่อบุจมูก ให้มีขนาดพอเหมาะ ทำให้ลมหายใจเข้าออกดีขึ้น ลดการนอนกรน ทั้งนี้ ข้อดีข้อเสียและ ความเสี่ยง รวมทั้งผลของการผ่าตัดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
...
การนอนกรนไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้นอย่าชะล่าใจนะคะ หากคุณหรือคนที่คุณรัก กำลังนอนกรนแบบมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ต้องรีบแก้ไขด่วน
อย่างไรก็ดี หากคุณไม่อยากเสียชีวิตขณะนอนหลับ เรามีวิธีป้องกันไม่ให้นอนกรน เพียงแค่ปรับการใช้ชีวิต โดยเริ่มแก้ที่ต้นเหตุ คือ ลดน้ำหนัก นอนหมอนสูง หรือนอนตะแคง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อสุขภาพแข็งแรงในระยะยาว.
(ที่มาข้อมูล : รพ.วิภาวดี, รพ.รามาธิบดี)
: ข่าวน่าสนใจ :