ก็เพราะอยากเห็นอาหารริมทางประเทศตัวเองมีชื่อเสียงโด่งดังเหมือนเมืองไทยและอีกหลายประเทศในเอเชีย และอยากให้เกิดรู้สึกถึงความปลื้มปริ่มทั้งจากทั่วไปและสากลโลก
มร.เดเด อัคบาร์ เชฟชาวอิเหนา อายุ 34 ปี ซึ่งตัดสินใจลาออกจากงานประจำตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะของบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นเชฟเต็มตัว เพราะจากจุดเริ่มต้นที่ชอบทำกับข้าวเป็นงานอดิเรกจนถึงขั้นหลงใหล กระทั่งมารู้ตัวอีกทีก็พบว่า ได้รับเชิญให้เป็น “ฟู้ด สไตลิสต์” หรือคนตกแต่งจานอาหารตามงานอีเวนต์ต่างๆ
และที่ผ่านๆมา ทุกครั้งที่เขาตกแต่งประดิดประดอยจานอาหารให้สวยหรู ก็จะถ่ายรูปแล้วลงในอินสตาแกรมที่ชื่อว่า “Warteg Gourmet” มีคนติดตามราว 40,000 คน
อัคบาร์ ได้แรงดลใจในการแต่งจานอาหารให้ดูหรู ดูแพง แต่ขายถูก ก็ตอนที่เขารู้สึกหงุดหงิดแซมๆเสียดายของ เวลาที่พ่อค้า แม่ค้ารถเข็นมองข้ามเรื่องนี้ ทำอาหารเสร็จก็ใส่จานเสิร์ฟลูกค้าเลย ทั้งที่รสชาติอร่อยเลิศ แต่หน้าตาดูไม่ได้
ประกอบกับทุกวันนี้ ร้านอาหารหน้าใหม่ๆ ในกรุงจาการ์ตา ก็ผุดพรึ่บพรั่บในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ละร้านต่างนำเสนออาหารจากประเทศต่างๆ เอาใจคนกินที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจดี
แต่แทนที่ทุกร้านจะโฟกัสแต่อาหารว่าอิมพอร์ตมาจากประเทศนั้น ประเทศนี้ เชฟบางคนเลือกใช้วิธีผสมผสาน “ตะวันออกพบตะวันตก” East Meet West สร้างอิทธิพลความแปลกใหม่กับอาหารคุ้นลิ้นชาวอิเหนากันมานาน
เรียกว่า “มัมมาหมี่” เป็นการเล่นคำอุทานแสดงอาการตกใจ “มัมมา” ภาษาอิตาลี มาผนวกกับภาษาท้องถิ่นบาฮาซา “มี” หมายถึงบะหมี่ และที่ขึ้นชื่อของประเทศนี้ ก็คือ “อินโดหมี่” บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อร่อยขั้นเทพ มีขายทุกตรอกซอยถึงถนนใหญ่ เอามาปรุงใหม่ออกสไตล์ฟิวชัน ฟู้ด หนึ่งในหลายๆเมนู ที่คิดค้นแล้ว “เวิร์ก” ได้แก่ “มิซซ่า” กับ “เมอร์เกอร์”
...
มูฮัมหมัด ลุคมัน แบฮากี เจ้าของร้านคาเฟ่ห้องเล็กๆ นั่งได้ 20 คน แต่งสไตล์ฮิปสเตอร์ เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่อยากลองอาหารตะวันตก แต่ยังเอนจอยรสชาติอินโดหมี่ ในราคาเพียง 2–4 ดอลล์
มีบะหมี่เป็นตัวชูโรงเอกลักษณ์ประเทศขนาดนี้ เอาใจช่วยอย่างแรง...
ฤทัยรัช จันทร์เพ็ญ