เดือนพฤษภาคมของทุกปีถึงเวลาเปิดฤดูกรีดยางของชาวสวนยางพาราอีสานที่ผลิตยางก้อนถ้วยเป็นส่วนใหญ่ นับจากนี้ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าคงต้องใช้ชีวิตหมกมุ่นอยู่กับต้นยาง สร้างอาชีพ สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว...ไม่ว่ายางจะถูกหรือแพง ก็จำต้องรับสภาพก้มหน้าก้มตาลุยต่อไป
เรื่องยางราคาต่ำว่าเป็นปัญหาใหญ่แล้ว ยังมีปัญหาเรื่องของคุณภาพยางก้อนถ้วยบวม ยุ่ย มีความยืดหยุ่นต่ำ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอื่นไม่ได้ แถมมีกลิ่นเหม็น ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม และชาวสวนยางเองสุขภาพยังเสื่อมโทรมจากยางกัดมือ
ยางก้อนถ้วยที่ผลิตในอีสาน จึงมักถูกปฏิเสธจากประเทศคู่ค้า
เหตุเพราะชาวสวนยางใช้กรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถัน ผสมยางก้อนถ้วยในปริมาณมากเกินไป เพียงเพราะต้องการให้ยางจับตัวกันเร็วขึ้น
ที่ผ่านมา กยท.ได้ออกมารณรงค์ให้ใช้กรดชนิดนี้ให้น้อยลง ใช้ในปริมาณพอเหมาะ หรือเปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์มิกแทน...เพราะฟอร์มิกเป็นกรดเย็น มีประสิทธิภาพดีกว่า ทำให้หน้ายางแข็งตัวเร็ว และเพิ่มน้ำหนักได้ดี ที่สำคัญเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาพผู้ใช้เอง
และถ้าจะให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องเป็นกรดฟอร์มิกผสมเสร็จพร้อมใช้
แม้กรดฟอร์มิกจะมีผู้นำเข้ามาจำหน่ายหลายเจ้า แต่ส่วนใหญ่ต้องนำมาผสมเอง หากไม่มีความรู้ในการผสม ใช้น้ำที่ค่าพีเอชไม่เป็นกลาง กรดก็ใช้การไม่ได้ ทำให้ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่ทำแบบผสมเสร็จพร้อมใช้มาเป็นทางเลือกให้เกษตรกร
หนึ่งในนั้น ที่ถูกอกถูกใจ ได้รับการยอมรับจากชาวสวนยางอีสาน จน กยท.กล้าการันตีในคุณภาพ...กรดตราแรดของบริษัทเกษตรไทยไชโย ผู้ผลิตกรดหยอดยางฟอร์มิกผสมเสร็จพร้อมใช้ เจ้าแรกของประเทศ
พี่น้องกลุ่มเกษตรกรกลุ่มใดสนใจสามารถติดต่อขอใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบฟรี ได้ที่หน่วยทดสอบ 09-2824-4383 ทุกเวลาทั้งในและนอกราชการ.
...
สะ–เล–เต