นายกฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ นักวิจัยสถาบันสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถาบันฯได้ทำวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพครัวเรือน ในชนทบที่ยากจน พบว่าครัวเรือนยากจนมีข้อจำกัดทางการเงินหลายด้าน อาทิ ข้อจำกัดในการบริหารสภาพคล่องและการกระจายความเสี่ยงและพบว่าการบริโภคของครัวเรือนมีความผันผวนน้อยกว่ารายได้ เพราะมีการช่วยเหลือทางการเงิน หรือการให้กู้กันระหว่างกัน เช่น กู้จากญาติ กู้จากครัวเรือนในชุมชน ฯลฯ และแม้ว่านโยบายภาครัฐจะช่วยลดปัญหาเงินกู้นอกระบบ ที่มีทั้งส่วนดีและไม่ดีให้เข้ามาอยู่ในระบบ ก็ไม่ควรปิดช่องทางการกู้นอกระบบไปเสียทั้งหมด เพราะการกู้นอกระบบ มีข้อดีด้านความคล่องตัว กู้ได้ง่ายไม่ต้องดูความเสี่ยง ทำให้การพึ่งพาหนี้นอกระบบ ก็จะยังคงมีอยู่และไม่ได้เป็นปัญหากับระบบไปเสียหมด จึงควรพิจารณาการกู้นอกระบบในบางจุด เพื่อให้ยังมีอยู่ต่อไปก็ไม่เสียหาย
“การช่วยเหลือครัวเรือนที่ยากจน ด้วยการให้คนที่เข้าคุณสมบัติที่จำกัดรายได้และทรัพย์สินตามเงื่อนไขของภาครัฐมาลงทะเบียนคนจน เพื่อให้รัฐช่วยอุดหนุนสวัสดิการต่างๆ หรือการให้เป็นเงินสด จากการสำรวจมีประสิทธิภาพและตรงจุดในระดับหนึ่ง ถือว่ามีส่วนช่วยลดความผันผวนของรายได้ครัวเรือนได้ ทำให้การบริโภคในภาพรวมดีขึ้น สนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจภาพรวม”.