ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เปิดรายงาน “แนวโน้มเทรนด์อีคอมเมิร์ซปี 2567 สำหรับธุรกิจ B2B ท่ามกลางกระแสโลกที่ไม่หยุดนิ่ง” หรือ “The Ultimate Guide On B2B E-Commerce Trends in APAC” เจาะข้อมูลเชิงลึกครอบคลุมทิศทางและความเปลี่ยนแปลงในปีหน้า
ยอดขายอีคอมเมิร์ซ B2B ลอตใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้น
ก่อนหน้านี้ องค์กรธุรกิจต่างลังเลที่จะลงทุนในแพลตฟอร์มดิจิทัล เนื่องจากลูกค้าไม่สะดวกที่จะซื้อสินค้าลอตใหญ่ผ่านออนไลน์ นอกจากนี้ การจัดซื้อในรูปแบบดิจิทัลมักเป็นแบบ B2C (ธุรกิจกับลูกค้า)มากกว่า B2B (ธุรกิจกับธุรกิจ) แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดขึ้น เมื่อมีการชำระเงินแบบเข้ารหัส (encrypted payment) ทำให้การทำธุรกรรมโดยรวมสะดวกขึ้น องค์กรธุรกิจจึงไม่ต้องกังวลอีกต่อไป โดย 35% ระบุว่าพวกเขายินดีใช้จ่ายเงิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 17 ล้านบาท) ขึ้นไป สำหรับการทำธุรกรรมหนึ่งครั้ง และ 15% ของผู้มีอำนาจ รู้สึกสบายใจที่จะซื้อสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ฯ (ประมาณ 35 ล้านบาท) ผ่านทางออนไลน์
สำหรับประเทศไทย ในปี 2560 รัฐบาลไทยได้พัฒนาระบบ “พร้อมเพย์” ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ริเริ่มใช้ระบบชำระเงินดิจิทัลระดับประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้ขนาดการเติบโตของตลาดอีคอม เมิร์ซ B2B ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีมูลค่า 840,000 ล้านบาทในปี 2563
คนรุ่นมิลเลนเนียลกลายเป็นผู้ชี้นำตลาด
ทุกวันนี้ บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นมิลเลนเนียล ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางและรูปแบบขององค์กร โดย 73% ของกลุ่มมิลเลน เนียลมีหน้าที่ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าของบริษัท และ 34% เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ
...
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลกับประสบ การณ์ของผู้ซื้อ ที่ต้องเป็นส่วนตัวและเป็นมิตร กระตุ้นให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นเรื่องราคา เปลี่ยนเป็นมุ่งมอบประสบการณ์ส่วนบุคคลแทน
โซลูชันดิจิทัลแบบบริการตนเองแพร่หลาย
องค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก คาดหวังว่าจะได้เห็นตัวเลือกในการบริการตนเองสำหรับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ไวรัสโควิดทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้แนวทางแบบ “hands-off” มากขึ้น โดยจำกัดการติดต่อกับฝ่ายบริการและการจัดการสินค้า ซึ่งการบริการตนเองช่วยสร้างโอกาสที่ดี สำหรับธุรกิจในการลดต้นทุนการขาย โดยไม่กระทบต่อการบริการและความสัมพันธ์กับลูกค้า
การเปลี่ยนแค็ตตาล็อก ราคาสินค้า และตัวแทน จำหน่ายให้เป็นดิจิทัล และเปิดให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ช่วยลดภาระงานและมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นขึ้นได้ จากการสำรวจของ CRM Maga zine พบว่าโซลูชันแบบ self-serve สำคัญมากขึ้น โดยเกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรธุรกิจ ใช้ช่องทางการบริการตนเองในระบบ CRM และมีแนวโน้มใช้เพิ่ม
ซัพพลายเชน–โลจิสติกส์ต้องจริงจัง
ผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้ธุรกิจจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงร้านค้าที่มีหน้าร้านจริงได้ และต้องพึ่งพาช่องทางอีคอมเมิร์ซในการทำธุรกรรม ความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับข้อจำกัดที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้ธุรกิจเริ่มตระหนักถึงจุดอ่อนในห่วงโซ่การผลิต (ซัพพลายเชน) และระบบการขนส่ง (โลจิสติกส์) ของตน จึงจำเป็นต้องสร้างระบบใหม่ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
ลูกค้ายอมจ่ายแพงเพื่อความยั่งยืน
ลูกค้าในวันนี้ให้ความสำคัญกับการซื้อขายอย่างมีจริยธรรมมากกว่าที่เคยเป็นมา ด้วยวิกฤติสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรง อย่างไรก็ดี การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกที่ชาญฉลาดและมีจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจด้วย จากการศึกษาพบว่า มีลูกค้าจำนวนมากที่ระบุว่า ความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ และยินดีจ่ายมากขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน นอกจากนั้นการลดขยะและของเสียให้เหลือน้อยที่สุด ยังจะช่วยลดการสูญเสียรายได้ด้วย.