มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2569 ตลาดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะมีมูลค่าสูงถึง 29,940 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท การเริ่มต้นใช้งาน AI ในอุตสาหกรรมนี้ ทำให้เห็น ชัดเจนว่า AI กำลังมีผลต่อห่วงโซ่อุปทานด้านอาหารในทุกแง่มุม

บทความที่เขียนโดย เทอร์รี สมา รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัทอินฟอร์ ระบุเมื่อต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและราคาสินค้าที่สูงขึ้นในปัจจุบัน บริษัทอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกเริ่มหันมาใช้ AI โดยเฉพาะแมชชีนเลิร์นนิง (ML) มากขึ้น เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้แม่นยำ รวดเร็ว และได้เปรียบขึ้น ขับเคลื่อนประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ประเมินสถานการณ์และกำหนดกลยุทธ์การขาย

โดยโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ (Applied AI) และ ML จะช่วยเพิ่มความสามารถในการโฮสต์และแสดงภาพข้อมูลบนระบบคลาวด์ ซึ่งสำคัญยิ่งต่อการระบุวิธีปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดค่าใช้จ่าย และลดของเสียให้เหลือ น้อยที่สุด ไปจนถึงการให้คำแนะนำด้านผลิตภัณฑ์ที่แม่นยำ รวดเร็ว ช่วยรับมือความผันผวนของราคาวัตถุดิบและพลังงาน สะท้อนผ่าน 3 กรณีศึกษาของผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่มจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ดังนี้

1. Zeelandia Group ธุรกิจด้านส่วนผสมเบเกอรี ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2443 จัดการกับความท้าทายของต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และการขาดแคลนส่วนผสมเบเกอรี โดยการใช้โมเดล ML ที่ให้คำแนะนำด้านราคาและผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการ Zeelan dia Group สามารถเตรียมคำแนะนำผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าได้เร็วขึ้น 83% ลดเวลาจาก 30 นาทีเหลือ 5 นาทีผ่านการใช้ AI การใช้เวลาที่ลดน้อยลงนี้ ทำให้พนักงานของ Zee landia Group สามารถมีเวลาไปปรับปรุงบริการด้านอื่นให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ยอดการขายของลูกค้าหนึ่งรายต่อหนึ่งธุรกรรมเพิ่มสูงขึ้นด้วย

...

2. Amalthea ผู้ผลิตชีสนมแพะและชีสนมวัวออร์ แกนิก นำ AI และ ML มาปรับใช้ในด้านการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนโดยใช้ ML ช่วยลดของเสียและระบุความด้อยประสิทธิภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทาน ใช้ Applied AI คาดการณ์คุณภาพชีสได้แม่นยำขึ้น เพิ่มผลผลิตได้สูงสุด โดยก่อนหน้านี้ Amalthea สามารถวิเคราะห์น้ำนมด้วยวีธีแบบดั้งเดิมได้เพียงสัปดาห์ละครั้ง ทำให้ยากต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต แต่ปัจจุบัน Amalthea สามารถใช้ ML ดูผลผลิตได้ทันที รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลผลิตได้โดยตรง ซึ่งช่วยลดของเสียจากกระบวน การผลิต ระบุจุดบกพร่องได้รวดเร็วพร้อมปรับปรุงไปพร้อมๆกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพิ่มความสามารถในการทำกำไร โดย Amalthea คาดว่าจะประหยัดเงินได้ประมาณ 500,000 ยูโร หรือประมาณ 18 ล้านบาท สำหรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1%

3.Nutreco บริษัทผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งใช้เทคโนโลยี Industry 4.0 มาใช้ในการทำการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง เพิ่มวงจรการผลิตกุ้งที่มีสุขภาพดีขึ้น โดยใช้อาหารกุ้งน้อยลง 30% Nutreco ยังใช้เซ็นเซอร์เสียงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับฟังเสียงและตรวจจับเวลาที่กุ้งหิว ทำให้ AI สามารถระบุเวลาและปริมาณอาหารที่ต้องให้โดยรวม ช่วยลดปริมาณของเสียจากอาหารกุ้ง โดยให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของกุ้งเป็นอันดับแรก.