iPad ผลิตภัณฑ์สำหรับการเรียนรู้และการสอนที่หลายๆ สถาบันการศึกษาได้นำมาใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอนมานาน วิวัฒนาการของ iPad จากกระดานชนวนที่คนไทยคุ้นเคยกับการเป็นอุปกรณ์การเรียนในอดีตมาเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ดังที่ทราบกันดี พร้อมกับคุณสมบัติของ Apple Pencil ได้เติมเต็มให้ iPad เป็นอุปกรณ์ที่สมบูรณ์แบบ
ในยุคของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เป็นตัวเร่งให้หลายสถาบันการศึกษามาเป็นอุปกรณ์สำคัญของการเรียนการสอนตลอดเป็นอุปกรณ์การสอบเต็มรูปแบบดังเช่นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำมาใช้สำหรับการเรียน การสอนของนิสิต ซึ่งมีที่มาตลอดจนข้อดี ข้อเสียของการใช้อุปกรณ์นี้อย่างไรไปติดตามกัน
ดร.นพ.ดนัย วังสตุรค ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ได้เริ่มนำมาใช้เมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว พัฒนามาจากการใช้แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์มาก่อน พอเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ได้มีการหารือกันหนักจนได้ผลสรุปใช้อุปกรณ์ iPad เพราะระบบมีความปลอดภัย เริ่มใช้สำหรับการเรียนการสอนและมีการประเมินผลมาตลอด
...
“เราได้ให้ความสำคัญกับนิสิตทุกคน จากการทำสำรวจทุกปีพบว่านิสิตส่วนใหญ่กว่า 90% มี iPad เป็นของตนเอง นิสิตปี 1 จาก 315 คน มีเพียง 4 คนเท่านั้นที่ไม่มีใช้ซึ่งทางคณะเองยินดีให้นิสิตยืมใช้งานปีต่อปีจนจบการศึกษา”
ในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่การเรียนผ่านระบบออนไลน์และมีการสอบจากที่บ้านด้วย โดยใช้ iPad พร้อมกับระบบของคณะแพทย์ที่พัฒนากันเพื่อป้องกันการทุจริตการสอบซึ่งผ่านพ้นไปด้วยดี ล่าสุดได้มีการจัดสอบชั้นปีที่ 1 พร้อมกันกว่า 315 คน โดยใช้ iPad ของคณะแพทย์ทั้งหมด
ดร.นพ.ดนัย กล่าวว่า ในปีการศึกษานี้จะนำ iPad มาใช้สอบในคณะแพทยศาสตร์ 100% กับนิสิตทุกชั้นปีจำนวนกว่า 1,800 คน ผ่านแอปพลิเคชัน Exam+ ซึ่งผลดีที่เห็นได้ชัดคือ สามารถฟีดแบ็กได้เร็ว คือโดยปกติ หลังการสอบ อาจารย์จะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ ว่านิสิตแต่ละคนมีจุดเด่นด้านไหน ถนัดหรือไม่ถนัดอะไร
ซึ่งเมื่อก่อนใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมงในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล แต่ด้วย Exam+ สามารถช่วยรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ภายในเวลาประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น ที่สำคัญข้อสอบทั้งหมดถูกเก็บอยู่ในคลัง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลและเรียกดูย้อนหลัง ทำให้สามารถเก็บเป็นสถิติและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรต่อไปได้ แต่ข้อจำกัดคือการลงทุนด้านอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว
“มาลีพรรณ ผาสุพงษ์” Business Developer บริษัท Deverhood กล่าวว่า แอป Exam+ เป็นระบบการสอบออนไลน์ที่ช่วยวัด ประมวลผล และวิเคราะห์การเรียนการสอน โดยประกอบด้วย 4 คุณสมบัติหลัก คือ คลังข้อสอบ สอบ คุมสอบ และการวิเคราะห์ผล โดยปัจจุบันมีสถาบันการศึกษากว่า 16 สถาบันนำไปใช้งาน จัดการสอบแบบออนไลน์ไปแล้วกว่า 200 รายวิชา 500 ครั้ง และมีผู้ที่เคยสอบด้วยแอปมากสูงถึง 5,000 คน
พัฒนาโดยที่ดูแลด้านสุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยตั้งใจที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อพัฒนาบริการและยกระดับความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์และวิศวกรคอมพิวเตอร์
แอป Exam+ ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งอาจารย์และนิสิตนักศึกษาอย่างครบวงจร รองรับข้อสอบได้ทุกรูปแบบ อาทิ ข้อสอบปรนัย, อัตนัย, จับคู่คำตอบ, การตอบถูก-ผิด หรือเรียงลำดับ ที่สำคัญคือการสอบถูกจัดขึ้นโดยยึดหลักความปลอดภัย ที่ผู้สอบไม่สามารถถ่ายภาพหน้าจอ กดออกจากแอป หรือกดคัดลอก วางข้อความได้
...
อีกจุดเด่นของแอปที่ทำให้ผู้สอบชื่นชอบ คือการที่สามารถดูสื่อต่างๆ ได้แบบดิจิทัล อาทิ ภาพ หรือวิดีโอ ที่มีความคมชัดกว่าบนกระดาษทั่วไป ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของแอป คือ Dashboard ผู้สอบสามารถดูภาพรวม ว่าขณะนี้ทำไปแล้วกี่ข้อ และข้อไหนยังไม่ได้ทำ ทำให้ไม่เกิดปัญหาตอบไม่ครบ ไม่ตกหล่น
สำหรับผู้คุมสอบนั้น จะสามารถดูพฤติกรรม รวมทั้งคำตอบได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถให้ความช่วยเหลือหากเกิดปัญหาใดๆ อาทิ สัญญาณอินเตอร์เน็ตขัดข้อง ก็จะสามารถกดเพิ่มทดเวลาให้แก่ผู้สอบได้อัตโนมัติ รวมทั้งการนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ผู้สอบได้ อาทิ การลังเลเปลี่ยนคำตอบไปมา เป็นต้น.