งานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัย Monash ประเทศออสเตรเลียเผยว่า แทบไม่มีพื้นที่ที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศเหลืออยู่บนโลกนี้แล้ว โดยจากการศึกษาและวิจัยข้อมูลที่ได้จากสถานีตรวจสอบสภาพอากาศและดาวเทียม พบมีพื้นที่บนบกเพียง 0.18% หรือนับเป็นประชากร 0.001% เท่านั้นที่ได้รับมลพิษทางอากาศต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ

Ian Brough หัวหน้าแผนกผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศของ Dyson เผยข้อมูลสถานการณ์มลภาวะทางอากาศโลก จากงานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัย Monash ประเทศออสเตรเลียว่า แทบไม่มีพื้นที่ที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศเหลืออยู่บนโลกนี้แล้ว โดยจากการศึกษาและวิจัยข้อมูลที่ได้จากสถานีตรวจสอบสภาพอากาศและดาวเทียม พบมีพื้นที่บนบกเพียง 0.18% หรือนับเป็นประชากร 0.001% เท่านั้นที่ได้รับมลพิษทางอากาศต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ

ดังนั้นทุกคนบนโลกจึงกำลังได้รับผลจากมลพิษทางอากาศ ในประเทศไทยสถานการณ์มลภาวะทางอากาศที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ หนีไม่พ้นปัญหาฝุ่นจิ๋วที่มักทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงอากาศเย็น รวมทั้งในภาคเหนือของประเทศ

...

งานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัย Monash แสดงให้เห็นว่า ปัญหามลพิษเป็นปัญหาระดับโลก ที่ทุกคนเริ่มหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงถนนที่มีรถเยอะ หรือปิดเครื่องยนต์เมื่อไม่ได้ใช้ ตลอดจนปกป้องสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกอาคาร

อย่างไรก็ตาม นอกจากฝุ่นจิ๋วแล้ว ยังมีมลพิษที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอันเกิดจากกิจกรรมประจำวันภายในครัวเรือน เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ ที่สามารถตกค้างอยู่ในอากาศได้เป็นปีและเป็นอันตรายมากกว่ามลพิษที่สามารถมองเห็นได้ มลพิษเหล่านี้เกิดจากกิจกรรมประจำวัน เช่น การทำอาหาร การทำความสะอาด ยกตัวอย่างการใช้น้ำยาล้างพื้น น้ำยาดับกลิ่น หรือเทียนหอม ซึ่งเป็นต้นต่อของมลพิษอากาศที่พบเจอได้บ่อยภายในครัวเรือน

นอกจากนั้นยังมีมลพิษที่เกิดจากแก๊สที่ออกมาตอนทำอาหาร, เชื้อรา, เกสรดอกไม้, สะเก็ดผิวของสัตว์เลี้ยง และฟอร์มัลดีไฮด์ที่ออกมาจากเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปด้วย

งานวิจัยเผยว่า แม้กว่า 99% ของโลกจะอยู่ภายใต้อากาศที่มีมลพิษ แต่ยังมีวิธีในการควบคุมคุณภาพของอากาศเพื่อไม่ให้มลพิษเกิดมากขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็น 1.ใช้น้ำยาทำความสะอาดอย่างชาญฉลาด โดยสารระเหยง่าย อันตรายที่พบเจอได้ในครัวเรือน สามารถมาจากสารเคมีในน้ำยาทำความสะอาด ดังนั้นการใช้น้ำยาทำความสะอาดจากธรรมชาติ จึงเป็นวิธีง่ายๆในการลดสารระเหยอันตรายและเพิ่มคุณภาพอากาศภายในครัวเรือน

2.ดูดฝุ่นอย่างสม่ำเสมอ เพราะฝุ่นที่ตกค้างภายในครัวเรือนและไม่ได้รับการทำความสะอาด จะทำให้คนในบ้านหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไป 3.ใช้เครื่องหอมแต่พอดี โดยเครื่องหอมอย่างเทียนหอม สามารถเป็นต้นตอของมลพิษทางอากาศภายในบ้านได้ จึงต้องจุดในปริมาณและระยะเวลาที่พอเหมาะ และควรจุดในช่วงเย็น

4. ระมัดระวังในการ “เปิดให้อากาศถ่ายเท” เพราะอากาศที่ถ่ายเทจะทำให้ทั้งฝุ่นจิ๋วและมลพิษถูกพัดออกไป แต่ถ้าบ้านอยู่ในย่านที่มีจราจรเยอะหรือติดกับถนนใหญ่ การเปิดประตูหรือหน้าต่างให้ลมผ่าน อาจจะนำฝุ่นควันและแก๊สที่เป็นอันตรายเข้ามาในครัวเรือนได้

5.การทอดที่ใช้น้ำมันนั้น สร้างอนุภาคมลพิษ และการใช้เตาแก๊สสามารถสร้างแก๊สอันตราย เช่น NO2 (ไนโตรเจนไดออกไซด์) ฉะนั้นเวลาประกอบอาหารพยายามให้ครัวมีระบบระบายอากาศที่เชื่อมไปด้านนอกบ้าน หรือถ้าอากาศด้านนอกสะอาดพอ ก็สามารถเปิดหน้าต่างหรือใช้พัดลมระบายอากาศที่ติดแผ่นกรองมลพิษอีกชั้นนึง

6.ใช้เครื่องกรองอากาศที่จับได้มากกว่าอนุภาคมลพิษหรือสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่เล็กกว่า PM 0.1 แต่รวมไปถึงการกรองแก๊สที่เป็นอันตรายด้วย.