กทม. เผยวิธีประเมิน "รอยร้าวอาคาร" ง่าย ๆ ด้วยตัวเองเบื้องต้น ก่อนแจ้งเจ้าหน้าที่-ทีมวิศวกรอาสา เข้าตรวจอาคารที่อาจเป็นอันตราย

วันที่ 30 มีนาคม 2568 เพจเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร เผยขั้นตอนตรวจสอบจุดเสี่ยง หรือ "รอยร้าวอาคาร" เบื้องต้นด้วยตนเอง โดยระบุว่า ตรวจด้วยตัวเองก่อนแจ้ง เพื่อช่วยเร่งตรวจจุดเสี่ยงจริง เว้นรอยร้าวเล็ก ๆ ที่ไม่กระทบ โครงสร้างหลัก เช่น เสา-คาน เพื่อให้ทีมวิศวกรอาสาเข้าตรวจอาคารที่อาจเป็นอันตรายได้ รวดเร็วและแม่นยำ ประเมินเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ

รอยร้าวที่ไม่อันตราย (รอตรวจภายหลังได้)

  • ผนังร้าวแต่ยังมั่นคง ผลักแล้วไม่โยก
  • กระเบื้องพื้นร่อน สีหลุด
  • คานร้าวขนานใต้คาน
  • เสาร้าวเล็ก ๆ แต่ไม่โก่ง
  • ผ้าเพดานหลุดหรือเสียหาย

รอยร้าวที่ควรแจ้งทันที (เสี่ยงอันตราย)

  • กำแพงเอน มีแนวโน้มพังล้ม
  • พื้นแอ่น เห็นเหล็กเสริม
  • คานร้าวเฉียง หรือปริจนเห็นเหล็ก
  • เสาโก่ง หรือคอนกรีตระเบิดจนเห็นเหล็ก
  • หากพบจุดเสี่ยงอันตราย รีบแจ้งทีมสำรวจ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในพื้นที่

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร