"สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ" อัปเดต "ปรากฏการณ์ท้องฟ้า" เดือน กรกฎาคม 2567 เตรียมรอชมปรากฏการณ์เด่น "ดาวเคียงเดือน-ฝนดาวตกเดลตาอควอริดส์"
เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์คลิปวิดีโอ "ปรากฏการณ์ท้องฟ้า เดือนกรกฎาคม 2567" พร้อมระบุข้อความว่า "What's up in the sky July - 2024 | ท้องฟ้าเดือน กรกฎาคม 2567 สวัสดีเดือนกรกฎาคมครับ ท้องฟ้าค่ำคืนตลอดเดือนนี้จะมีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกัน"
2 กรกฎาคม 2567
- ปรากฏการณ์เด่น ดาวเคียงเดือน : ดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 02.30 น. จนถึงรุ่งเช้า
3 กรกฎาคม 2567
- ปรากฏการณ์เด่น ดาวเคียงเดือน : กระจุกดาวลูกไก่เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เวลาประมาณ 03.20 น. จนถึงรุ่งเช้า
9 กรกฎาคม 2567
- ปรากฏการณ์เด่น ดาวเคียงเดือน : ดาวเรกูลัสเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 21.30 น.
14 กรกฎาคม 2567
- ปรากฏการณ์เด่น ดาวเคียงเดือน : ดาวสไปกาเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางตะวันตกเฉียงใต้ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 00.00 น.
...
22 กรกฎาคม 2567
- ปรากฏการณ์เด่น : ดาวพุธอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด สังเกตได้ทางทิศตะวันตก เวลาประมาณ 19.15 น. จนถึงเวลาประมาณ 20.15 น.
25 กรกฎาคม 2567
- ปรากฏการณ์เด่น : ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ ดาวเสาร์จะเริ่มสัมผัสขอบดวงจันทร์ในเวลาประมาณ 03.09 น. และค่อยๆ ลับหายไปด้านหลังของดวงจันทร์ จากนั้นดาวเสาร์จะโผล่พ้นออกมาทั้งดวงอีกครั้ง
คืน 30 ถึงเช้า 31 กรกฎาคม 2567
- ปรากฏการณ์เด่น : ฝนดาวตกเดลตาอควอริดส์ อัตราการตก 25 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายบริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ทางทิศตะวันออก เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.00 น. จนถึงรุ่นเช้า ของวันที่ 31 ก.ค. 2567.
ขอบคุณเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ