ม.ศรีปทุม เดินหน้าสร้าง "AI Habit" จัดอบรมสัมมนาผู้บริหาร ปลดล็อกศักยภาพคนให้รู้จักประยุกต์ใช้ AI ในสายงาน เพื่อพัฒนาสู่มหาวิทยาลัย AI
มีรายงานว่า ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในฐานะ Dynamic University ที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพและคุณภาพการศึกษาให้ทันสมัย ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีและโลกยุคใหม่ มองว่าการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Generative AI จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและให้สามารถแข่งขันได้ในยุคดิจิทัล ครบทุกมิติ โดยได้กำหนดนโยบาย ส่งเสริม และขับเคลื่อนองค์กรสู่ยุค AI (AI Transformation)
เพื่อสร้าง "AI Habit" หรือนิสัยการใช้ AI ให้กับ คนศรีปทุม ทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารทุกระดับ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน อาจารย์ และนักศึกษา เพื่อทุกคนมอง AI เป็น ผู้ช่วยหรือ "AI Helper" ก้าวข้ามจาก Comfort Zone เดิม สู่การทำงานมิติใหม่ที่จะสามารถทรานส์ฟอร์มการทำงานที่สะดวก ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
...
จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากร พบว่ารู้จัก AI แต่ยังไม่รู้จะนำมาใช้ในการทำงานของตัวเองได้อย่างไร และพบว่าส่วนใหญ่ต้องการทำงานของตัวเองให้ออกมาดีที่สุด และกังวลว่างานของตัวเองจะไม่มีคุณภาพเมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน ไม่มีไอเดียใหม่เพื่อแก้ไข เพราะไม่กล้าปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและไม่มีเครื่องมือเป็นตัวช่วย
ทั้งนี้จาก Pain Point ดังกล่าว การนำ AI เข้ามาช่วยสร้างไอเดีย วิธีการแก้ไขปัญหา และเติมเต็มยกระดับงานที่ไม่ถนัด และเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ถนัดจะเป็นการปลดล็อกการทำงานให้บุคลากรในทุกระดับ SPU จึงได้จัดทำหลักโครงการอบรมการใช้ AI 2 หลักสูตร ได้แก่
1. โครงการอบรมสัมมนา "SPU Executive AI Strategy and Operation" สำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ 100% รวมประมาณ 120 คน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงศักยภาพและผลกระทบของ AI ต่อการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา รวมถึงเป้าหมายและกลยุทธ์ในการบูรณาการเครื่องมือ AI ในการดำเนินงานและแนวทางการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ
เพื่อให้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจะสามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้รับไปขับเคลื่อนและส่งเสริมสนับสนุนบุคลากร นำพามหาวิทยาลัยเข้าสู่ AI University ได้อย่างมีประสิทธิผล บนวัตถุประสงค์ สร้างความตระหนักในศักยภาพและผลกระทบของ AI ในการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา สร้างความเข้าใจถึงเป้าหมายและกลยุทธ์ในการบูรณาการเทคโนโลยี AI ในการบริหารงานและกระบวนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เกิดการเรียนรู้แนวทางในการนำ Generative AI มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
2. การฝึกใช้ Generative AI ในงานประจำวัน Smart Work Smart Life with AI Helper สำหรับบุคลากรระดับปฏิบัติการเข้าร่วมในเฟสแรกจำนวน 60 คนจากทุกแผนก เรียนต่อเนื่อง 19 วัน แบ่งเป็น Work Shop เรียนร่วมกัน 3 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้เรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ แบบจับมือทำเพื่อแลกเปลี่ยน แบ่งปันกันระหว่างผู้เข้าร่วม หลังจากนั้นส่งการบ้านทางออนไลน์ และมีการจัดประกวดเพื่อจูงใจให้เกิด การเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยบุคลากร SPU ทุกคนที่ผ่านการเรียนรู้จะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้ AI เป็นนิสัย หรือ Helper ในการทำงาน เป็นผู้ช่วยในงานที่ไม่ถนัด และเป็นเพื่อนคู่คิดในงานที่ชำนาญ ให้ประสิทธิผลของานดียิ่งขึ้น และมีแผนพัฒนาบุคลากรปฏิบัติการ ต่อเนื่องรุ่นละ 60 คน
หลักสูตรการอบรมจะฝึกแนวคิดพัฒนาตัวเองด้วย "Design Thinking" แก่นสำคัญของการทรานส์ฟอร์มตัวเองให้สามารถปรับตัวได้กับทุกยุค โดยมีเป้าหมายนำ AI เข้ามาเป็นผู้ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ SPU ได้เปิด AI Solution Clinic เป็นพื้นที่ที่ให้บริการปรึกษา วิเคราะห์ ไขปัญหาการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และการเรียนรู้ คลินิกนี้จะช่วยแก้ปัญหาอุปสรรค และสนับสนุนการใช้งาน AI อย่างมีประสิทธิภาพ และยังได้เปิดกลุ่ม AI Forum ศูนย์กลางรวบรวมกรณีตัวอย่าง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์
และแนวทางปฏิบัติที่ดี เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI ในหลากหลายภาคส่วน นำเสนอกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ จากองค์กรชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญด้าน AI สร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้องค์กรต่างๆ นำ AI มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างโอกาสทางธุรกิจ และขับเคลื่อนนวัตกรรม จากแผนดังกล่าว SPU ถือมหาลัยวิทยาลัยเอกชน รายแรกๆ ในภาคการศึกษาที่ทรานส์ฟอร์มการทำงานด้วย AI
นอกเหนือจาก การพัฒนาบุคลากรระดับบริหาร และปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยแล้ว ตลอด 3-4 เดือนที่ผ่านมา ทุกคณะวิชาได้มีการจัดอบรมพัฒนาอาจารย์ และนักศึกษาให้ได้รู้จักเข้าใจในการใช้งาน AI พื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในลำดับถัดไปจะได้ลงลึก ขั้น advanced สำหรับแต่ละวิชาชีพ เพื่อให้อาจารย์สามารถใช้ AI เป็นผู้ช่วยในการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทาง Outcome Based Learning (OBL) ให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากเครื่องมือ AI ที่จะช่วยเปิดโลกวิชาชีพนอกห้องเรียน เกิด Deep Thinking และ Deep Learning ได้อย่างมีประสิทธิผล.