"คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ" ประสบความสำเร็จในการเปิดหลักสูตรควบข้าม กับ คณะแพทยศาสตร์ หลังสามารถผลิตบัณฑิตรุ่นแรก ที่ใช้เวลาเรียน 6 ปี แต่สามารถได้ทั้งปริญญาตรี-ปริญญาโท

รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรฯ เผยว่า หลักสูตรนี้ ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้ร่วมพัฒนาหลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ ระหว่างแพทยศาสตรบัณฑิต-วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมชีวเวช เพื่อให้เป็นหลักสูตรต้นแบบที่สามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพจาก 2 กลุ่มวิชาชีพในช่วงเวลา 6 ปี เพื่อให้ทันต่อการนำมาต่อยอดใช้งานจริงในปัจจุบัน ซึ่งหลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์นื้ กำลังจะมีนิสิตเรียนจบหลักสูตรในปีนี้เป็นรุ่นแรก

ส่วนความน่าสนใจอีกอย่างของหลักสูตรนี้ คือ การที่ผู้เรียนในคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเรียนหลักสูตรปริญญาตรีตามปกติ 6 ปี จะได้ทำการวิจัยตามหัวข้อที่สนใจด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมชีวเวช ในคณะวิศวกรรมศาสตร์นี้ ในช่วง 2 ปีสุดท้าย ควบคู่ไปกับการเรียนหลักสูตรแพทยศาสตร์ ถือเป็นการใช้เวลา 6 ปี คุ้มค่าสูงสุด ได้ความรู้จากทั้ง 2 ศาสตร์ และได้ 2 ปริญญา

...

ทางด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เผยถึงความน่าสนใจของหลักสูตรนี้ คือ ผู้เรียน จะได้รับวุฒิการศึกษา แพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช หลักสูตรควบข้ามนี้ จึงมุ่งผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญ ทั้งสาขาแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมชีวเวช ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งเหมาะกับนิสิตแพทย์ที่มีศักยภาพและความสนใจด้านวิศวกรรมชีวเวชต้องการเป็นแพทย์นักวิชาการนักวิจัยชั้นนําผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาแพทยศาสตร์และวิศวกรรมชีวเวชที่สร้างสรรค์ผลงานวิชาการองค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม

โดยทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งเป้าหมายว่า ในแต่ละปีจะมีนักศึกษาแพทย์ เข้าเรียนหลักสูตรควบข้าม ประมาณ 10 คน ซึ่งทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะจัดอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากผู้เรียนจะต้องทุ่มเท ทั้งแรงกายแรงใจในการจัดสรรเวลา เพื่อศึกษาตามหลักสูตรที่จะนำไปสู่การผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสู่สังคม.