"แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู" เผยเคสคนไข้อัมพาต ที่ต้องฟื้นฟูสมอง มีอายุน้อยที่สุดเพียงแค่ 17 ปี ชี้ปัจจัยที่พบบ่อย เกิดจาก "นอนดึก-นอนน้อย"
วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ได้โพสต์ข้อความ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า คนไข้อัมพาตอายุน้อยสุด ที่หมอฟื้นฟูสมองให้ อายุ 17 ปี ปัจจัยหนึ่งที่พบได้บ่อยในยุคนี้คือ "นอนดึก นอนน้อย"
พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า การนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมง มีโอกาสเป็นอัมพาตเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยการนอนดึกนอก จากจะให้ทำให้เกิดอัมพาตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกลไกของร่างกายหลายด้าน ได้แก่
- ระบบประสาทอัตโนมัติแปรปรวน
- ทำให้ความดันเลือดสูง เส้นเลือดในสมองแตก ขดตัว โป่งพอง (aneurysm)
- ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ แล้วส่ง clot ไปอุด
- ทำให้เส้นเลือดดำในสมองคั่ง
- สารพิษในสมองคั่ง (เช่น beta-amyloid) เกิดพิษกับเซลล์สมอง เป็นโรคสมองเสื่อมง่ายขึ้น
- มีสารอนุมูลอิสระและสารก่อความอักเสบมากขึ้น
- นอนน้อยทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน
- นอนน้อยเรื้อรังทำให้อ้วน ความดันขึ้น ไขมันสูง หยุดหายใจขณะนอนหลับ (OSA) ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองน้อย
- การนอนน้อยสัมพันธ์กับการกินดึก ยิ่งทำให้อ้วนมากขึ้น ไขมันสะสมมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Somros MD Phonglamai
...