จดลงปฏิทินไว้เลย รวมวันหยุดราชการ วันหยุดยาว วันหยุดกรณีพิเศษ ตลอดปี 2566 สงกรานต์ได้หยุดยาวถึง 5 วันด้วยกัน
เรียกว่าตั้งแต่ปลายปี 2565 มาจนถึงเริ่มต้นปีใหม่ 2566 หลายคนเริ่มวางแผนเดินทางท่องเที่ยวแล้วตั้งแต่ต้นปี โดยในปี 2566 นี้ ครม. มีมติเห็นชอบเพิ่มวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2566 เป็นวันฉัตรมงคล และวันที่ 5 พฤษภาคม ตรงกับวันศุกร์ จึงให้มีวันหยุดราชการเป็นพิเศษเพิ่มอีก 1 วัน จากมติที่ประชุม ครม.นี้ จะทำให้มีวันหยุดยาว 4 วันติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 นี้ มีวันหยุดราชการรวมทั้งหมด 19 วัน แต่ถ้ารวมวันหยุดชดเชยด้วย จะมีวันหยุดราชการและวันหยุดชดเชย รวม 24 วัน ดังนี้
เดือนมกราคม
- วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2566 วันขึ้นปีใหม่
- วันจันทร์ที่ 2 มกราคม 2566 วันหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่
เดือนกุมภาพันธ์
ไม่มีวันหยุดราชการในเดือนกุมภาพันธ์
เดือนมีนาคม
- วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 วันมาฆบูชา
ดังนั้น ในช่วงเดือนมีนาคม จะมีวันหยุดยาว รวม 3 วัน คือ 4 - 6 มีนาคม 2566
เดือนเมษายน
- วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน วันจักรี
- วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน วันสงกรานต์
- วันศุกร์ที่ 14 เมษายน วันสงกรานต์
- วันเสาร์ที่ 15 เมษายน วันสงกรานต์
- วันจันทร์ที่ 17 เมษายน วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์
ดังนั้น ในช่วงวันสงกรานต์จะมีวันหยุดยาว รวม 5 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน - 17 เมษายน 2566
เดือนพฤษภาคม
...
- วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล
- วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม วันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ
- วันพุธที่ 17 พฤษภาคม วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ดังนั้น ในช่วงเดือนพฤษภาคมจะมีวันหยุดยาว รวม 4 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม - 7 พฤษภาคม 2566
อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นวันแรงงาน ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
เดือนมิถุนายน
- วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และ วันวิสาขบูชา
- วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระราชินี และวันวิสาขบูชา
ดังนั้น ในช่วงเดือนมิถุนายนจะมีวันหยุดยาว รวม 3 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน - 5 มิถุนายน 2566
เดือนกรกฎาคม
- วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
ดังนั้น ในช่วงเดือนกรกฎาคมจะมีวันหยุดยาว รวม 3 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม - 30 กรกฎาคม 2566
เดือนสิงหาคม
- วันอังคารที่ 1 สิงหาคม วันอาสาฬหบูชา
- วันพุธที่ 2 สิงหาคม วันเข้าพรรษา
- วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ
- วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม วันหยุดชดเชยวันแม่แห่งชาติ
ดังนั้น ในช่วงเดือนสิงหาคมจะมีวันหยุดยาว รวม 3 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม - 14 สิงหาคม 2566
เดือนกันยายน
ไม่มีวันหยุดราชการในเดือนกันยายน
เดือนตุลาคม
- วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
ดังนั้น ในช่วงเดือนตุลาคมจะมีวันหยุดยาว รวม 3 วัน อยู่ 2 ช่วงด้วยกัน คือ ตั้งแต่วันที่ 13-15 ตุลาคม 2566 และ 21-23 ตุลาคม 2566
เดือนพฤศจิกายน
ไม่มีวันหยุดราชการในเดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
- วันอังคารที่ 5 ธันวาคม วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ รัชกาลที่ 9 และวันพ่อแห่งชาติ
- วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
- วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ
- วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม วันสิ้นปี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีใหม่ 2567 นั้นมีวันหยุดตามปฏิทินด้วยกัน 2 วันคือ วันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2567 และวันอังคารที่ 2 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นวันหยุดชดเชยวันสิ้นปี
ดังนั้น ในช่วงเดือนธันวาคมจะมีวันหยุดยาวอยู่ 2 ช่วงด้วยกัน คือ ตั้งแต่วันที่ 9-11 ธันวาคม 2566 และ 30 ธันวาคม 2566 - 2 มกราคม 2567.