หมอธีระวัฒน์ ตั้งคำถาม หากโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ประชาชนจะเรียกร้องค่าชดเชยผลกระทบจากวัคซีนได้หรือไม่

จากการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 ที่ได้มีการประชุมหารือ 2 ประเด็นสำคัญ คือ
1. เห็นชอบแนวทางการพิจารณาให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น และ 2. เห็นชอบหลักการและแนวทางการดำเนินงานคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ ตามที่ได้รายงานไปแล้วนั้น

ล่าสุด วันที่ 29 มกราคม 2565 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความว่า ทางการสั่งให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ผลต่อเนื่องจากนี้หมายความว่า

- โควิดไม่ได้อยู่ในโรคติดต่ออันตราย?
- ไม่ต้องมีการตรวจคัดกรองแยกกักตัว?
- ไม่ต้องมีการรายงาน?
- ถ้าเป็นการรักษา ต่อไปนี้ใช้สิทธิ์ของแต่ละคนเช่นใช้บัตรทอง?
- ไม่ต้องมีการชดเชยการประกอบธุรกิจค่าเสียหาย?
- การตรวจใดๆ เป็นการตรวจที่ต้องเสียเงินเอง?
- วัคซีนที่ใช้อยู่เป็นวัคซีนที่ออกมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสิ้น

และปัจจุบันในประเทศไทยยังสามารถเรียกร้องค่าชดเชยผลกระทบจากวัคซีนได้ จาก สปสช. แล้วต่อจากนี้ยังสามารถรับค่าชดเชยได้หรือไม่?

โดยที่จนกระทั่งถึงวันที่ 28 มกราคม 2565 มีผู้ยื่นคำร้อง 13,825 รายเข้าเกณฑ์ 10,544 ราย และมีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาในรายที่เหลือและที่มีอุทธรณ์ ทั้งนี้ ได้รับเงินชดเชยไปแล้ว 1,205,538,900 บาท และมีเสียชีวิต 20.56%

...