สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เดินหน้ารุกหนักจับมือ แพลตฟอร์ม เข้ามาช่วยเหลือร่วมกันสกัดกั้นการลง “โฆษณาออนไลน์” เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้ขับเคลื่อนผลักดันโครงการนี้ หลังจากที่พบข้อมูลว่า ปัจจุบันสื่อโซเชียลมีการลงโฆษณาที่ผิดกฎหมาย เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแอบแฝงอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสื่อออนไลน์และอีมาร์เกตเพลส
โดยเฉพาะช่องทาง เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ช้อปปี้ ลาซาด้า และ เจดีเซ็นทรัล ที่มีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตกว่า 18,000 ราย พบว่ากว่าร้อยละ 60 เป็นโฆษณาที่เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย
ไม่มีการขออนุญาต
โอ้อวดเกินจริงในทางบำบัด บรรเทา รักษาโรค หรือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ลักลอบผลิตหรือนำเข้า ที่ผ่านมา อย. ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการเฝ้าระวังมาต่อเนื่อง
มีการตรวจจับกุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ดำเนินการไปหลายเรื่อง หลายเว็บไซต์ ทั้งปิดกั้นเว็บไซต์และดำเนินคดี แต่ยังมีพวกลักลอบฝ่าฝืนทำผิดกฎหมาย
ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ดำเนินการเชิงรุก จับมือกับแพลตฟอร์มสกัดกั้นการโฆษณาผิดกฎหมาย
ภายใต้ความร่วมมือของแพลตฟอร์มที่จะกำหนดนโยบายและวางมาตรฐาน ไม่ยินยอมให้ร้านค้าออนไลน์ทำผิดกฎหมาย ขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทำผิดกฎหมาย
อบรมให้ความรู้กับร้านค้าออนไลน์ใส่ใจในการเลือกคุณภาพสินค้าผลิตภัณฑ์ในการโฆษณา
แพลตฟอร์มจะให้ความร่วมมือกับ อย.ในการส่งข้อมูลผู้กระทำผิด
เพื่อให้ อย.ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินคดี
นอกจากนี้ อย.ยังร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระงับเว็บไซต์ผิดกฎหมาย
ข้อมูลที่เป็นเฟกนิวส์
...
อย.ลงข้อมูลเชิงลึกร่วมกับ บก.ปคม. และกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ สืบสวนติดตามคนที่ทำผิดมาดำเนินคดี เป็นแนวทางที่จับต้องได้ของ อย.ในการสกัดกั้นสื่อโฆษณาผิดกฎหมาย
ร่วมมือกับแพลตฟอร์ม ทั้งมาตรการป้องกันและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนจับกุม
เป็น อย.ยุคใหม่ ที่ดูมีมิติในการทำงานรูปแบบใหม่
ที่น่าสนใจเป็นการเดินหน้าคิดทำ “โครงการเชิงรุก” ของ อย. เข้าแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา
เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค.
“เพลิงพยัคฆ์”
pluengpayak@thairath.co.th