น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวมอบนโยบายในการประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมว่า เป็นการนำร่องการส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ ใช้จังหวัดเป็นฐานกระจายอำนาจและให้อิสระแก่สถานศึกษานำร่องและหน่วยงานทางการศึกษาจังหวัดนั้นๆ ให้มีความคล่องตัวคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เน้นพัฒนากลไกการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 ซึ่งจะต้องเร่งขับเคลื่อนการดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรม
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีจังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด อนาคตจะเปิดรับจังหวัดใหม่ที่มีความพร้อมและเข้มแข็งเข้ามาเพิ่มเติม ลักษณะการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะใช้พื้นที่และจังหวัดเป็นฐาน ผสาน
จุดแข็งการทำงานมุ่งเน้นล่างขึ้นบน ใช้พื้นที่/จังหวัดเป็นฐานปฏิบัติการที่สถานศึกษานำร่อง และสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่นโยบายส่วนกลาง และหนุนเสริมด้วยบนลงล่าง แนวนโยบายของ ศธ. ที่ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย
1.การส่งเสริมและผลักดันการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเต็มพิกัด เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศ
2.สนับสนุนผู้นำหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัด ร่วมมือรวมพลังกัน เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
3.ส่งเสริมการทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 ให้อิสระแก่สถานศึกษานำร่องในการจัดทำและเลือกใช้หลักสูตรต่างๆได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษานำร่อง
...
4.จัดกลุ่มพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
5.บูรณาการกลไกการขับเคลื่อนนโยบายในระดับกระทรวง.