(ภาพจาก : Texas Tech University)

ในกระบวนการย้อมผ้า เมื่อถึงขั้นตอนสุดท้ายก็คือการซักผ้า ที่เป็นการช่วยเอาสีย้อมส่วนเกินออก แต่ก็จะเกิดปัญหาตามมา นั่นคือน้ำจะถูกปนเปื้อนด้วยสีย้อมและสีสังเคราะห์ที่เหลืออยู่ ก่อนหน้านี้มีการวิจัยพบว่า การปนเปื้อนของสีย้อมมีมากถึง 200 ล้านกิโลกรัมต่อปีโดยประมาณ ที่สำคัญคือสีย้อมส่วนใหญ่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม เพราะ กระบวนการบำบัดน้ำเสียไม่มีประสิทธิ-ภาพและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แต่เมื่อเร็วๆนี้นักวิจัยด้านสิ่งทอ จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เทค ในสหรัฐอเมริกา เผยว่าได้ค้นพบวิธีใหม่ในการกำจัดสีย้อมที่มีพิษออกจากน้ำเสียได้แล้ว โดยการใช้เส้นใยนาโน ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษมาสลายสีย้อมด้วยการกรองน้ำผ่านเส้นใยนาโนพิเศษนี้ ซึ่งเรียกกระบวนการ นี้ว่า “การย่อยสลายด้วยแสง” (photodegradation) ที่จะช่วยให้แสงแดดสลายสีย้อมได้อย่างปลอดภัย ง่ายกว่าวิธีการแบบดั้งเดิม และราคาไม่แพง

ทั้งนี้ การวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การกำจัดสีย้อมที่เป็นพิษ ถือเป็นความท้าทายอย่างถาวรสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพราะการกำจัดสารประกอบสีเป็นหนึ่งในงานที่ยากที่สุดของโรงบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากสีและเม็ดสีไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่าย สีย้อมเหล่านี้จึงนับเป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศของมนุษย์.