เกิดเหตุระเบิดป่วนกรุงเขย่าขวัญประชาชน โดยเฉพาะด้วยระยะเวลาห่างกันไม่นาน เกิดเหตุระเบิด และเหตุคล้ายระเบิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ ต่อเนื่องกัน

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวไทยรัฐออนไลน์ มีคำแนะนำเบื้องต้น จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่อีโอดี (EOD) และค้นคว้าจากเว็บไซต์ของสรรพาวุธเหล่าทัพ สามารถแยกชนิดของระเบิดได้ ดังนี้

1. ระเบิดแสวงเครื่อง คือ ระเบิดทำมือ หรือผลิตเอง โดยผู้ก่อเหตุ    

2. ระเบิดมาตรฐาน คือ ระเบิดที่ผลิตจากโรงงาน เช่น ระเบิดขว้าง

3. ระเบิดเพลิง คือ ระเบิดที่มีลักษณะของสะเก็ด หรือประกายไฟ ทำให้เกิดไฟไหม้ตามมา    

อย่างไรก็ตาม ระเบิดแสวงเครื่องยังสามารถจำแนกไปตามวัตถุ หรือ พาหนะที่นำระเบิดไปประกอบได้อีก เช่น

1. คาร์บอมบ์ คือ ระเบิดแสวงเครื่องประกอบไว้ในรถยนต์แล้วจุดระเบิด    

2. ไปป์บอมบ์ คือ ระเบิดแสวงเครื่องประกอบไว้ในท่อพีวีซี หรือ ท่อเหล็ก

สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นถึงวิธีเอาตัวรอดจากระเบิดนั้น 

1. ออกจากรัศมีของระเบิดให้มากที่สุด

2. หาที่กำบัง    

3. หมอบลงกับพื้น หรือก้มให้ต่ำที่สุด เพื่อให้พ้นจากสะเก็ดของระเบิด ที่มักประกอบด้วย ตะปู เศษแก้ว หัวนอต ลูกปืน (กลมๆ) และเศษแก้ว เป็นต้น

4. ตั้งสติ ตรวจเช็กร่างกาย    

5. ออกจากพื้นที่ให้ไกลที่สุด

คำแนะนำการสังเกตวัตถุต้องสงสัยมีดังนี้ 

1. มักเป็นกระเป๋า เป้ กล่อง ท่อพีวีซีและท่อเหล็กไม่ยาวนัก    

2. มีส่วนประกอบของสายไฟ นาฬิกา ถ่านไฟฉาย    

3. วางอยู่ในจุดไม่สมควร    

...

4. สิ่งของที่วางอยู่ โดยไม่มีเจ้าของ.