นางนารี เจริญผลพิริยะ
นอกเหนือจากสื่อมวลชนทุกแขนงจากหลายประเทศที่เข้าไปสังเกตการณ์ในการชุมนุมของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินครั้งนี้แล้ว ยังมีกลุ่มมดงานในนาม “เครือข่ายสันติอาสาสักขีพยาน” ที่เข้าไปทำหน้าที่เป็นเสมือนกรรมการที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเข้าไปสังเกตการณ์เก็บภาพ-เสียงและทุกๆ ความเคลื่อนไหวเพื่อกันข้อขัดแย้ง
นางนารี เจริญผลพิริยะ หัวหน้าโครงการสันติอาสาสักขีพยาน กล่าวถึงการประเมิณผลกับไทยรัฐออนไลน์ ในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงครบรอบ 1 สัปดาห์แล้ว ว่า หลังจากที่ตนและเพื่อนร่วมกันเดิมทาง มาร่วมกันสังเกตการณ์ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยทำหน้าที่เก็บภาพ และบันทึกเสียงพร้อมกับช่วยกับเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยเหตุการณ์ที่ส่อจะ มีเค้าความรุนแรงของคู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่ายกล่าวกับไทยรัฐออนไลน์ว่า จากการการเฝ้าดูเหตุการณ์มาเป็นเวลา 7 วันตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงประเมินว่าการชุมนุมในครั้งไร้ความรุนแรง
นางนารี กล่าวถึงการทำงาน และจำนวนบุคลากรในเครือข่ายโครงการสันติอาสาสักขีพยานว่า เคยมีคนถามเราเหมือนกันว่า ม็อบมีประมาณเป็นหมื่นคน แต่เรา ซึ่งมีกันประมาน 7 กลุ่ม 14 คน และจับเป็นคู่ดูแลกัน แล้วก็จะมีคนถามตามมาว่า กลุ่มราจะทำอะไรแบบนี้ได้หรือไม่ แต่ว่าพอเราลงสนามจริงๆ ก็พบว่ามันได้ เราไปถึงตอนที่ผู้ชุมนุมยังมาไม่ถึงกันด้วยซ้ำ และอุปกรณ์ที่เราเตรียมไปนั้นมีแค่เพียงเรื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอแค่นั้นเอง แต่ก็จะมีปัญหาในเรื่องการส่งภาพเหมือนกัน โดยจะส่งได้แค่ทางมือถือ ซึ่งคุณภาพในด้านมือถออาจจะมีจำกัด แต่ว่าเราก็จะได้ภาพนิ่งทันเหตุการณ์มา
"ลักษณะการรายงาน เราจะไม่ให้รายงานแบบตีความ ให้รายงานแบบเห็นๆ ให้รายงานภาพตามที่เห็น เหมือนกับเห็นว่าให้รายงานเหมือนกับกล้องถ่ายภาพ เห็นอย่างไรก็บอกไปตามนั้น เช่นเห็นว่าคนใส่เสื้อสีแดง ให้รายงานว่าเห็นใส่เสื้อสีแดง เราจะไม่บอกว่าพวกเสื้อแดง ก็คือโดยรวมก็รายงานตามภาพที่เห็น”
หัวหน้าโครงการสันติอาสาสักขีพยาน ยกตัวอย่าง กรณีที่หวุดหวิดจะปะทะกันที่บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ว่า
“บรรยากาศวันนั้นตรึงเครียดมากๆ คือตอนนั้นมีผู้ชุมนุมพยายามปีนรั้วตรงกรมทางหลวงชนบท กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าใจว่าจะมีการลอบทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ เราก็ได้มีการตรวจสอบกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเห็นเราใช้กล้องถ่ายภาพ แล้วมีการสะท้อนแสงจากเลนท์ของกล้อง แล้วคิดว่าอาจเป็นอาวุธปืน จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิด ซึ่งอาจทำให้บรรยากาศมีความตึงเตรียดขึ้นไปอีก”
นอกจาก มีกระแสข่าวลือว่าจะลอบทำร้ายแกนนำมาเป็นระยะ ตรงนี้ทำให้เราช่วยคลายสถานการณ์ได้ โดยเราได้ช่วยเป็นพยาน และรายงานข้อเท็จจริงให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทราบ อันนี้ เราเป็นฝ่ายช่วยเป็นการสมานทั้งสองฝ่ายให้ลดความระแวงกันได้
“จริงๆ กลุ่มเรามีหน้าที่ป้องกันการกล่าวร้ายกัน เพราะการกล่าวร้ายกันมันเป็นการสร้างความชอบธรรมกับคู่กรณี อันนี้เวลาคนขัดแย้งกันก็จะมองแง่ลบ แล้วก็มีแนวโน้มกันที่จะตีความกันไปในแง่ที่เป็นลบ เราเลยคิดว่าถ้ามีคนกลางขึ้นมา จะได้ทราบว่าข้อเท็จจริงมันคืออะไร แล้วข้อเท็จจริงตรงนี้มันจะไม่เป็นการสร้างความชอบทำและการรุนแรงให้กับอีกฝ่ายเหมือน เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์ 7 ตุลา พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อันนี้เราพูดถึงกับทั้งสองฝ่ายเลย ซึ่งเราก็พยายามที่จะอยู่ตรงกลาง โดยเป็นการรายงานข้อเท็จจริง เดิมทีเราก็ทำงานนี้อยู่ภาคใต้ก็จะมีปัญหาในเรื่องข่าวสารซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ซึ่งเรามาทำหน้าที่เป็นกรรมการ โดยวิธีนี้จะช่วยลดความขัดแย้งที่คู่ขัดแย้งต่างคนต่างมองลงไปได้”
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องการกรีดเลือดถือว่า เป็นความรุนแรงไหม หัวหน้าโครงการสันติอาสาสักขีพยาน กล่าวว่า การกรีดเลือด เทเลือด หรือสาดเลือด ใส่สถานที่สำคัญนั้น เรามองว่ามันคือจิตวิทยา ซึ่งเห็นว่ามันความเชื่อ คือทางผู้ชุมนุมก็จะมีความเชื่ออย่างหนึ่ง โดยไม่อยากจะเรียกว่าไสยศาสตร์ แต่เรียกว่าความศักดิ์สิทธิ์จะดีกว่า ซึ่งในขณะที่ทางรัฐบาลก็ใช้ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์จัดการเข้าหา การวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมจะออกไปในรูปแบบสองนัยยะ คือพวกหนึ่ง ก็จะวิจารณ์ในเชิงเรื่องทางจิตวิญญาณ อีกด้านหนึ่งก็จะพูดในเรื่องวิทยาศาสตร์ จำเป็นที่ต้องเชิญนักวิชาการมานั่งคุยกันเหมือนกัน
อย่างไรก็ดี เธอ วิเคราะห์ว่าตอนนี้อุณหภูมิทางการเมืองตอนนี้เริ่มลดลงบ้างแล้ว
...
"ผู้ชุมนุมได้ปลดปล่อยพลังงานบางส่วนแล้ว เช่น การเจาะเลือด เดินทางไปดาวกระจายตามที่ต่าง เป็นต้น และที่ฝนตกลงมาวันนี้ ทำให้บรรยากาศเริ่มจะเย็นลง แต่ว่าอย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่ตนอยากจะฝากภาครัฐก็คือ ประเด็นเรื่องข้อเรียกร้องของคนชุมนุมยังไม่ได้รับการดูแลและใส่ใจเท่าที่ควร โดยขั้นตอนแล้วการเรียกร้องคือการใส่ใจ คำว่าใส่ใจก็คือการรับฟัง พินิจพิเคราะห์ กระบวนเหล่านี้ควรจะเริ่มต้น ให้ได้รู้ว่า สิ่งที่ผู้ชุมนุมเรียกร้องนั้นได้รับความสนใจไม่ใช่เพิกเฉย แต่ส่วนจะดำเนินการหรือไม่ อย่างไรคืออีกเรื่องหนึ่ง อาจจะมีข้อสรุปมาอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าหากข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้รับความสนใจบ้าง ก็จะลดความรู้สึกที่รุนแรงลงได้" นางนารี แสดงความคิดเห็นถึงประเด็นทางออกของสงครามในครั้งนี้