นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายกรัฐมนตรี เปิดตัวสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชน แห่งประเทศไทย ชี้วิกฤตการเมืองไทยมาจากสื่อเทียม เผยอาศัยคอลัมน์หน้า3 วางแผนรับมือศัตรู...

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในการเป็นประธานในพิธีเปิดสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชน แห่งประเทศไทย ที่ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันนี้ทุกคนยอมรับว่าการสื่อสารมีความสำคัญสำหรับความสำเร็จของแต่ละ องค์กร และสำคัญในการพัฒนาความเจริญของประเทศตั้งแต่ 20 ปีที่ผ่านมาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อน เปลี่ยนแปลงและเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตค่านิยม วัฒนธรรมของสังคมสมัยใหม่ในโลกนี้ที่เพิ่มมากขึ้น ตนทำงานภาครัฐแลการเมืองมาเกือบ 20 ปี บทบาทสื่อมวลชนในยุคดิจิตอลนี้มีความสำคัญแทบจะสูงสุดในการพัฒนา หล่อหลอมบุคคลในการนำไปใช้ในทางที่เป็นคุณที่จะสร้างความก้าวหน้ามากมาย ขณะเดียวกันหากไม่ใช้ในทางสร้างสรรค์ก็มีอันตรายที่นำไปสู่ความเสียหายได้มากเช่นกัน ความสัมพันธ์ของสื่อมวลชน การเมือง รัฐผู้มีอำนาจมีการถกเถียงกันตลอดเวลา ตนเชื่อเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสาร ขณะเดียวกันอยากเห็นว่าการใช้สิทธินั้นเป็นไปโดยรับผิดชอบ และสร้างสรรค์ ปัญหาคือความพยายามในการเข้าไปกำกับดูแลการทำงานของสื่อมวลชนจะหาเส้นแบ่ง ที่เหมาะสมได้ยากว่าแค่ไหนเป็นการกำกับดูแลเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมหรือ เป็นการก้าวล่วงและจำกัดสิทธิ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า การทำงานของสมาคมและองค์กรที่เกี่ยวข้องถือว่ามีความท้าทายมาก ตนไม่แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน สื่อมวลชนจะยังดำรงความเป็นวิชาชีพได้หรือไม่ เพราะผู้ผลิตและผู้บริโภคสื่ออาจเป็นคนๆเดียวกันโดยปริยาย มีอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์และบล็อกนั้นก็สามารถเป็นสื่อได้ และมีอิทธิพลมาก ตรงนี้เป็นการตั้งคำถามในการควบคุมมาตรฐานและการรับผิดชอบ และใครจะบอกได้ว่าผู้บริโภคจะเลือกรับข่าวสารและเชื่อฝ่ายใด เพราะความเป็นมืออาชีพมาตรฐานไม่ได้เป็นตัวกำหนดเสมอไปแล้ว เช่น รายการที่ผลิตดีอาจได้รับความนิยมน้อยกว่ารายการบันเทิงที่ไม่มีประโยชน์มาก นัก เรื่องนี้มันอยู่ที่ผู้บริโภค วันนี้สื่อมวลชนมีความเป็นธุรกิจมากขึ้นปริมาณคือตัวกำหนดการนำเสนอในการตอบ สนองที่พึ่งพิงการโฆษณา เรื่องนี้มีความท้าทายมากในแง่วิชาชีพที่ต้องตื่นตัวว่าจะมีวิธีการคุ้มครอง ผู้รับข่าวสารการรักษามาตรฐานการเสนอข้อมูลข่าวสารด้วย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความขัดแย้งในสังคมไทยที่มีความขัดแย้งการเมืองเป็นตัวหลักในช่วงหลายปีนี้ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญ วิกฤตการเมืองของไทยส่วนหนึ่งเริ่มต้นมาจากการพยายามควบคุมปิดกั้นสื่อมวลชน สุดท้ายผู้ที่ไม่ยอมรับกับผู้ที่มีอำนาจก็โดนบีบจนหมดทางเลือกไปเรื่อยๆ และนำไปสู่การนำความขัดแย้งมาสู่ถนน จากนั้นก็มีการพัฒนาสื่อเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ให้ผู้ที่มีความเห็นตรง กันมีจุดรวมข่าวสารในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในเมื่อฝ่ายหนึ่งทำได้อีกฝ่ายก็ทำได้เช่นกัน วันนี้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของสื่อและเทคโนโลยี ทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นคือสงครามข่าวสาร ความพยายามการแก้ไขและสร้างสมานฉันท์ในเรื่องนี้ฝ่ายวิชาการบางฝ่ายเสนอกับ ตนว่าต้องเริ่มบัญญัติสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆด้วย เช่น การปลุกระดมความเกลียดชังแม้จะไม่นำไปสู่การกระทำผิดกฎหมายอย่างในปัจจุบัน ที่ต้องเริ่มควบคุม แต่มันยากเพราะหากกระทำแบบนั้นจะเกิดปัญหาว่าผู้ที่มีอำนาจอาจใช้กติกาใหม่ ในทางที่ผิดในการจำกัดสิทธิ ที่สุดแล้วปัญหาทั้งหลายหากจะแก้โดยกฎหมายนั้นคงไม่ได้เพราะเรื่องนี้มัน อยู่ที่วัฒนธรรมผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สังคมจะก้าวข้ามความขัดแย้งนี้ไปได้

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า สื่อมวลชนควรมีหน้าที่คือ1.มีหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารโดยเน้นถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำที่อาศัยบุคลากรที่มีความรู้เรื่องต่างๆ ตนสัมผัสกับสื่อมวลชนบ่อยครั้งและเห็นว่า ภารกิจของผู้สื่อข่าวในปัจจุบัน ตนนึกไม่ออกว่าจะมีเวลาเพิ่มพูนความรู้ต่างๆได้อย่างไรเพราะการแข่งขันวัน นี้รุนแรงมาก และวิธีการทำงานก็กดดันเพราะเน้นปริมาณและความรวดเร็วจนน่าเป็นห่วง การแก้ไขแนวทางนี้เพื่อให้การเสนอข่าวสารที่ต้องมีความรู้เพื่อไม่ให้เกิด ข้อถกเถียงที่ไม่มีความข้อเท็จจริง เพราะบางเรื่องที่มีเเต่ความเห็น โดยไม่มีข้อเท็จจริง และรายงานข่าวออกมาทำให้เกิดความสับสนและขัดแย้งโดยไม่จำเป็นขึ้นมา ความรู้พื้นฐานจึงมีความสำคัญมากเเละตนหวังว่าบทบาทของนักวิชาการด้านนี้ นั้นจะทำอย่างไรให้ผู้ที่ทำหน้าที่นี้มีความพร้อมและเชี่ยวชาญมากขึ้น เพราะในต่างประเทศนั้นผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารมวลชนมีน้ำหนักในการนำเสนอข้อ เท็จจริงสู่สังคม ส่วนวงการสื่อมวลชนไทยนั้นในเวลานี้คนเล่าข่าวกลายเป็นผู้ที่มีความรู้รอบ ด้าน หากเรียนรู้ด้านต่างๆเพิ่มก็จะทำใมห้เกิดความเข้าใจในข่าวงง่าย แต่มีประเด็นเรื่องการชี้นำ ด้วย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า 2.เทคนิคด้านสื่อสารนั้นมีผลกับการรับรู้และสร้างทัศนคติกับผู้รับสื่อ ภาษาถือว่ามีบทบาทมากที่มีส่วนกับการชี้นำ เช่น พาดหัวข่าวว่า น.ส.พ.ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวว่าตนผวาไม่เดินทางไปจ.เชียงใหม่อีกฉบับบอกว่าดับ ไฟไม่ไปจ.เชียงใหม่ ทำให้ผู้อ่านข่าวเดียวกันจะมีทัศนคติแตกต่างกันว่าการไม่ไปจ.เชียงใหม่ของตน นั้นมันคืออะไร และยอมรับว่าเรื่องเวลาความเร็วมันเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมสังคมด้วย อย่าแปลกใจว่าคนที่อ่านน.ส.พ.คือคนข่าวและมักจะฟังการพาดหัวข่าวเป็นหลักที่ เป็นข้อความสั้นและภาษาที่ใช้มีความสำคัญมากที่ทำให้เกิดความเข้าใจแบบนั้น ข้อเท็จจริงนั้นบทบาทของสื่อมวลชนหากแยกแยะได้ว่าจุดใดคือการนำเสนอข้อเท็จ จริงที่ควรใช้ภาษาที่เป็นกลางเพื่อให้รับทราบข้อมูลและจุดใดคือการเสนอความ เห็นตรงนี้เพื่อให้ผู้รับสารนำไปใช้ดุลพินิจพิจารณาเองมันจะช่วยได้มาก การสนอความเห็นนั้นจะใช้ทักษะทางภาษาในการโน้มน้าวผู้รับสารนั้นตนถือว่า เป็นศิลปะที่จะทำอย่างไรก็ได้ ตนไม่ค่อยเชื่อเรื่องความเป็นกลางในการแสดงความเห็นในเรื่องราวต่างๆเพราะ ทุกคนมีความคิดเป็นของตัวเองที่ต้องการให้ทุกฝ่ายยอมรับ คอลัมน์ต่างๆนั้นตนไม่ติดใจเลย เพราะเป็นพื้นที่แสดงความเห็นและวิเคราะห์ น.ส.พ.บางฉบับหน้า 3 เขียนคอลัมน์ 6 วันไม่เคยเขียนถึงตนในเรื่องดีในรอบกว่า 10 เดือนนี้แต่ไม่เป็นไรเพราะเป็นสิทธิของฝ่ายนั้น ตรงนี้ทำให้ตนก็รู้ว่าศัตรูของตนคิดอย่างไรอยู่ และตนวางแผนได้ง่ายขึ้น แต่พาดหัวข่าวและเนื้อข่าวนั้นตนขอให้ดำรงความเป็นกลางด้วยเข้าใจว่าหาก ไม่มีสีสันก็ยากที่จะดึงดูด แต่ไม่ควรใช้พื้นที่ตรงนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดสับสนและชี้นำจนเกินไป

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า 3.สื่อมวลชนนั้นทำหน้าที่สะท้อนหรือชี้นำสังคม เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้เสนอและผู้รับข่าวสารจะเชื่อมกันเป็นวงจรและลูกโซ่ หากเสนอสิ่งไม่ดีไม่งามออกมาและสื่อมวลชนอ้างว่าเป็นกระจกสะท้อนตรงนั้น แต่มันมีอิทธิพลสืบทอดสิ่งนั้นในสังคมด้วย ตนจึงมองว่าสื่อมวลชนมีบทบาทและความรับผิดชอบในการชี้นำสังคมด้วย ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น สามสิ่งข้างต้นที่ตนกล่าวไว้ไม่มีการระวังแล้ว มันเป็นเรื่องยากที่สังคมจะก้าวพ้นความขัดแย้ง บาง เรื่องในวิกฤตนั้นตนได้ยึดเป็นบทเรียน เช่น กรณีที่กระทรวงมหาดไทยที่บางฝ่ายถามตนว่าจริงๆแล้วตนอยู่ในรถหรือไม่ ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว จนทำให้ตนสับสนว่าตนอยู่ในรถจริงหรือไม่และทำให้ตนโดนโจมตีว่าเป็นคนลวงโลก ทั้งๆที่มีความพยายามจะฆ่าตน หรือแม้แต่คลิปเสียงของตนเป็นต้น โดยเรื่องนี้เป็นประเด็นและความขัดแย้งในเวลาที่นานมาก และเป็นเรื่องแปลกเพราะพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ไม่ยาก แต่วันนี้ตำราการต่อสู้ทางเมืองนั้นระบุว่าให้พิมพ์ซ้ำจนเกิดความเชื่อและ เป็นอันตรายมาก อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ใหญ่สุดที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนนั้น วันนี้สื่อมวลชนมีทั้งสื่ออาชีพและสื่อเทียม ผู้รับข่าวสารมีทางเลือกและมีพฤติกรรมไม่เหมือนในอดีต น่าคิดว่ายุคหนึ่งนั้นประชาชนในสังคมรับชุดข่าวสารที่ใกล้เคียงกันที่เป็น จุดเริ่มต้นของการสมานฉันท์ หากประชาชนในสังคมมีสื่อกันคนละชุดแม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่การนำเสนอตรงข้ามโดยสิ้นเชิง คำถามคือประชาชนที่รับสื่อคนละชุดนั้นจะสื่อสารกันรู้เรื่องหรือไม่ และจะสมานฉันท์กันได้อย่างไร ดังนั้นอย่างน้อยต้องมีจุดร่วมในการรับข้อมูลพื้นฐานที่ทุกฝ่ายยอมรับเพื่อ ลดความขัดแย้งในทางสังคม.

...